Friday, June 29, 2007

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.7)
"เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2468 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็น ประโยชน์ต่อ ประเทศชาตินานับประการ อาทิ โปรดเกล้าฯ อุปถัมภ์บำรุงกิจการหอสมุดจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร และสร้างสะพานปฐมบรม ราชานุสรณ์พระนคร (สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ) เพื่อเชื่อมฝั่งพระนคร และธนบุร ี และทรงส่งเสริมการศึกษาของ ชาติหลายประการ คือ ให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีเร่งรัดการประกาศ พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญา บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทรงครองราชย์: พระราชทานรัฐธรรมนูญ: "เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 คณะบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยพระราชดำริที่ทรงต้องการ เปลี่ยนแปลง การปกครองไปสู่ระบอบประชาธิอปไตยอยู่แล้วกอปรกับไม่ต้องการ ให้คนไทย ประหัตประหาร กันเองจึงทรงยอมรับเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญพระองค์แรก และพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวร ฉบับแรกของไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ทรงสละราชสมบัติและเสด็จสวรรคต: "เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ หลังจากทรงครองราชย์เป็นเวลา 9 ปี 3 เดือน 4 วัน ขณะประทับอยู่ที่บ้าน โนลแครนลี ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องด้วยความคิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองบางประการ หลังจากนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484 ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นการส่วนพระองค์อย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีการใด ๆ ที่สุสานโกลเดอร์ส กรีน (Golders Green)พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: "พิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ภายในบริเวณ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร โดยดำริของท่านอดีตประธานรัฐสภา (พลอากาาศเอกหะริน หงสกุล) เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 พร้อมกับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็น พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาขนทั่วไเข้าชมเป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2523
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสนธิสัญญาใหม่ๆ กับประเทศเยอรมนี และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่า “สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ.๒๔๖๙” ทรงวางรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์สมบัตินั้น เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศไทยได้รับความกระทบกระเทือนจากสิ่งนั้นด้วย แต่ไม่ว่าจะประสบปัญหาวิกฤตอย่างไร พระองค์ก็ทรงใช้วิจารณญาณแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ด้วยพระปรีชาสามารถอันดีตลอดมาทรงมีพระราชประสงค์ที่แน่วแน่ที่จะทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนในรัชกาลของพระองค์ มีการจัดตั้งสภากรรมการขององคมนตรี อันประกอบด้วยกรรมการ ๔๐ คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓ ปี ทำหน้าที่ในการประชุมพิจารณากฎหมายและปัญหาอื่นๆ ตามแต่จะทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ให้สภากรรมการองคมนตรีเป็นสภาทดลองและฝึกหัดเพื่อปลูกฝั่งวิธีการของระบบรัฐสภาต่อไปส่วนราษฎรระดับท้องถิ่นนั้นพระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจการสุขาภิบาล ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงกิจการให้เป็นรูปแบบการบริหารงานส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาล โดยทรงแต่งตั้งกรรมการจัดการประชาภิบาลคอยสำรวจดูงานสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร แต่พระราชบัญญัติเทศบาลที่ร่างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ มีขั้นตอนการผ่านพิจารณาจากเสนาบดีสภา สภากรรมการองคมนตรี จึงยังมิได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติเทศบาลดังกล่าวด้านประเพณีและวัฒนธรรมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างค่านิยมให้มีภรรยาเพียงคนเดียวซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมไทยแต่โบราณ ที่ชายไทยมักนิยมมีภรรยาหลายคนโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการฝังค่านิยมใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง โดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียวโดยไม่มีสนมนางใดๆทั้งสิ้นการทำนุบำรุงบ้านเมืองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างสะพายปฐมบรมราชานุสรณ์ขึ้น ด้วยทรงระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ซึ่งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมา สะพานนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี พร้อมกับทรงชักชวนประชาชนชาวไทยร่วมกันสร้างพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่บริเวณเชิงสะพานแห่งนี้ด้วย โดยพระองค์เสด็จไปพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 และทรงโปรดให้มีมหรสพสมโภชเป็นการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครที่มีอายุครบ 150 ปีด้วย และพระราชทานสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์”เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชฐานเพื่อเสด็จประทับ ด้วยทรงโปรดการประพาสชายทะเลเป็นอย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อสร้างเสร็จ ทรงพระราชทานว่า “สวนไกลกังวล” พระราชฐานแห่งนี้ประกอบไปด้วยพระตำหนักต่างๆมากมาย เช่น พระตำหนักต่างๆ มากมาย เช่น พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักน้อย พระตำหนักปลุกเกษม พระตำหนักเอมปรีดี และศาลาเริง เป็นต้นด้านดนตรีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยเดิมไว้ 3 เพลง1. เพลงราตรีประดับดาว (เถา)2. เพลงเขมรละออองค์ (เถา)3. เพลงคลื่นกระทบฝั่ง๓ชั้นด้านการปกครองพระองค์ทรงโปรดเกล้าไห้ท่านผู้รู้ทำการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ ครั้งตอนพระองค์เสร็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล “คณะราษฎ์” ได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง โดยเข้าควบคุมพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ และข้าราชการตำแหน่งสำคัญๆไว้เป็นตัวประกัน แล้วมีหนังสือไปกราบทูลเชิญเสร็จนิวัติกลับพระนคร เป็นมหากษัตริย์ภายใต้ธรรมนูญการปกครองที่คณะราษฎ์ได้ทำขึ้น พระองค์ทรงละพระบรมราชานุภาพยอมรับการเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และหลังจากที่เกิดกบฏวรเดช พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติด้านประเพณีและวัฒนธรรมพระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มไนการให้ชายไทยมีภรรยาเพียงคนเดียว พ.ศ. ๒๔๗๓ ทรงริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส หย่า และ รับรองบุตร

No comments: