Friday, June 29, 2007

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


พระราชประวัติร.8
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับ ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็น ประธาน พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการ ศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจเพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคตณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศ ครั้งที่ ๒โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐิและพระบรมอัฐิสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางส่วนดังนี้“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว ความทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข็งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริงๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป...”
วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ พระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวังวันที่ 28-29 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมข้าวไทยกับทีมท่าพระจันทร์วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ – วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลในวันขึ้นปีใหม่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ทหารบกฉายพระบรมฉายาลักษณ์วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินวัดเบญจมบพิตรวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามสหประชาชาติ พร้อมด้วย ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ณ ท้องสนามหลวง และถนนพระราชดำเนินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันเทนนิส ณ สโมสรศิษย์เก่าเทพศิรินทร์วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังสวนไกลกังวลวันที่ 8 มีนามคม พ.ศ. 2489 เสด็จนิวัตกลับพระนคร ทรงเสด็จนมัสการพระปฐมเจดีย์ และเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ทำการรัฐบาลและได้เสด็จสู่บัลลังก์ศาล จ.นครปฐมวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2489 เสด็จทอดพระเนตรเรือดำน้ำและเรือปืนศรีอยุธยาต่อมาไม่ทราบวันที่แน่นอน ทรงเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานอุทิศถวายสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาดา ณ วัดราชาธิวาสเสด็จพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัววันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังโบราณ จ. พระนครศรีอยุธยาวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยาวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวันที่ระลึกมหาจักรี ทรงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตนวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถานเสาวภาวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 24 89 ลอร์ด ดินเสิร์น เจ้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองทัพอากาศวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จประพาสเยี่ยมประชาชน ณ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานีวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายร้อยโททหารมหาดเล็กแด่สมเด็จพระราชอนุชาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำนินเยี่ยมประชาชน จ.สมุทรสาครวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.ฉะเชิงเทรา และ เสร็จประทับบัลลังก์ ณ ศาล จ.ฉะเชิงเทราวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมร.พัน1 ร.อ.วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันเป็นสถานศึกษาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมอู่ทหารเรือ และทรงขับเรือยามฝั่งวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสร็จประพาสสำเพ็งวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ณ สถานีเกษตรกลางบางเขน และได้ทรงหว่านเมล็ดธัญญาหารลงในแปลงงานสาธิตด้วย (เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสร็จสวรรคต)

No comments: