Friday, June 29, 2007

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชประวัติ(ร.4)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิม "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และเป็นพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ในเวลานั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหลานเธอมาตั้งแต่ประสูติจนสิ้นรัชกาลที่ 1 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้น ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชโอรส คนทั้งหลายเรียกกันว่า ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ ทูลกระหม่อมใหญ่ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่หรือเจ้าฟ้าใหญ่ เรียกกันอย่างนี้สืบมาจนเสวยราชย์ สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2355 ตรงกับปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1174 พระชนมายุได้ 9 พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ซึ่งทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" พ.ศ. 2359 พระชนมายุได้ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เต็ม ตามพระอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอ ชั้นเจ้าฟ้า คือ ตั้งเขาไกรลาสและที่สรงสนาน พ.ศ. 2360 ตรงกับปีฉลู ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์พ.ศ. 2367 ตรงกับปีวอก ฉศก จุลศักราช 1186 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระฉายาว่า "วชิรญาณมหาเถระ" พอทรงผนวชได้ 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตและไม่ได้ดำรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชทานแก่เจ้านายพระองค์ใดให้เป็นรัชทายาท พระราชวงศ์กับเสนาบดี จึงต้องประชุมปรึกษากันตามธรรมเนียมโบราณว่า ควรเชิญเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเสวยราชย์ ครอบครองบ้านเมือง ในเวลานั้นว่าตามนิตินัยสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมควรได้รับราชสมบัติเพราะเป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่ประสูติจากพระอัครมเหสี โดยทั่วไปถือกันว่าทรงเป็นรัชทายาท จากกฎมณเฑียรบาลที่ได้เคยตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ปี 2001 จำแนกลำดับชั้นของเจ้านายเป็น 5 ชั้น โดยกำหนดให้พระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินที่ประสูติจาก "อัครมเหสี" มีฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" และจัดว่าเป็นอันดับสูงสุดในพระบรมวงศานุวงศ์ มีฐานะเป็นตำแหน่งรัชทายาท แม้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฏทรงเป็นรัชทายาทที่ถูกต้องตามหลักของกฏมณเฑียรบาลที่ตราไว้ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา แต่การสืบราชสันตติวงศ์นี้ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้แน่นอน เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการชั้นสูง จะเลือกพระราชาองค์ใหม่ โดยทั่วไปจะเลือกสมเด็จพระราชโอรสองค์แรกที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำดังนี้เสมอไป การสืบราชสมบัติของไทยนี้ ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอนถึงคุณสมบัติของผู้เป็นรัชทายาท ในลายพระหัตถ์ฉบับหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า"รัชทายาทนั้นเมืองไทยดูเป็นเข้าใจน้อยเต็มที แม้เป็นในกฎมณเฑียรบาลก็มิได้กล่าวแย้มพรายไว้ที่ไหนเลย คงมีแต่หลักนิยมอยู่แน่นอนแต่เพียงว่า ผู้สืบราชสมบัติจะต้องเป็นเจ้าเท่านั้นจึงเกิดการชิงราชสมบัติขึ้นเนือง ๆ ใครมีอำนาจวาสนาอยู่ในเวลานั้นก็ได้ราชสมบัติ ตกเป็นว่าใครดีก็ได้กัน การที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระมหาอุปราชนั้น เพื่อทรงอุดหนุนให้มีกำลังได้สืบราชสมบัติก็มี ตั้งโดยเหตุอื่นบังคับก็มีบ้าง เพราะฉะนั้นจะถือว่ามหาอุปราชเป็นรัชทายาทนั้นไม่ถนัด"ตามข้อความข้างบนนี้ เจ้านายทุกพระองค์ก็มีสิทธิที่จะได้เป็นกษัตริย์ทั้งสิ้น ถ้าหากทรงมีคุณสมบัติและความสามารถ และที่สำคัญคือมีกำลังเหนือกว่าเจ้านายองค์อื่นๆ ในเวลานั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ พระโอรสองค์หัวปีของรัชกาลที่ 2 ที่ถือประสูติจากเจ้าจอมมารดาเรียม เจริญพระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง 17 ปี ทรงเปี่ยมด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความรู้ ประสบการณ์และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงบังคับบัญชาราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ 2 และทรงสนิทสนมกับพระบรมวงศานุวงศ์และกลุ่มขุนนาง อำนาจและบารมีส่วนพระองค์ที่มีอยู่ในราชสำนัก ทำให้ผู้คนยำเกรงนับถือเป็นอันมาก ที่ประชุมราชวงศ์และเสนาบดี เห็นว่าควรถวายราชสมบัติแด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ว่าทรงปรารถนาราชสมบัติหรือจะทรงผนวชต่อไปสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯทรงทราบดีว่าพระองค์มีสิทธิในราชสมบัติ แต่ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง ตรัสปรึกษาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ซึ่งเป็นพระเจ้าน้าพระองค์น้อย ทูลแนะนำว่าควรจะคิดเอาราชสมบัติตามที่มีสิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย ไปทูลปรึกษากรมหมื่นนุชิตชิโนรส พระปิตุลาและกรมหมื่นเดชอดิศร พระเชษฐาที่ทรงนับถือมาก ทั้งสองตรัสว่าไม่ใช่เวลาควรจะปรารถนา อย่าหวงราชสมบัติดีกว่า และพระองค์มิได้อยู่ในสภาวะที่สามารถเสด็จขึ้นครองราชย์เพราะไม่มีกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางที่จะสนับสนุนพระองค์อย่างเพียงพอ จึงตรัสตอบว่ามีพระประสงค์จะทรงผนวชต่อไป ทำให้สิ้นความลำบากในการที่จะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การตัดสินพระทัยที่จะทรงผนวชต่อไป เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการตัดสินใจครั้งนี้คือ การตัดสินใจทางการเมืองในการเลือกที่จะผนวชเพื่อหลบ " ราชภัย" เมื่อจะต้องทรงเพศเป็นสมณะต่อไปไม่มีกำหนด ทรงพระราชดำริว่าฐานะของพระองค์ไม่ควรจะเกี่ยวข้อง กับการเมือง จึงทรงตั้งพระหฤทัยจำนงเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ ในระยะแรกทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัด ราชาธิวาส) ต่อมาเสด็จไปประทับที่วัดมหาธาตุ ทรงศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) เพื่อเรียนทางด้านคันถธุระทรงรอบรู้ในภาษามคธ สามารถอ่านพระไตรปิฎกโดยลำพังพระองค์เอง จนทราบเนื้อความ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงเห็นว่าพระสงฆ์ไทยประพฤติผิดไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เมื่อได้ทรงทราบข่าวว่ามีพระเถรมอญรูปหนึ่ง ชื่อ ซาย มาอยู่ที่วัดบวรมงคลได้เป็นพระสุเมธมุนี ชำนาญพระวินัยปิฎก พระองค์จึงเสด็จไปศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย พ.ศ. 2372 พระองค์เสด็จไปประทับที่วัดราชาธิวาส ทรงตรวจสอบพระวินัยที่มีอยู่กับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท ต่อมาทรงตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย แก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยให้สมบูรณ์ ทั้งพระธรรมและพระวินัย ทรงพระนิพนธ์แบบทำวัตรเช้าเย็นเป็นภาษาบาลีและวางระเบียบทำวัตร ทรงแสดงพระธรรมเทศนามุ่งผลให้คนทั้งหลายรู้หลักของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามได้จริง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปพระพุทธศาสนา หลังจากที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณ ในการแสดงพระธรรมเป็นที่เลื่องลือแพร่หลาย มีพระภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์ บรรดาคฤหัสถ์เลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้น การสอนตามแบบธรรมยุติที่เน้นความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้กระแสสังคมที่ชาชินต่อความประพฤต ิที่หย่อนยานขอพระสงฆ์ในขณะนั้น ได้หันมาสนใจและเลื่อมใสในแนวทางปฏิบัต ิของพระสงฆ์นิกายธรรมยุติขึ้นมาก ทำให้พระองค์เป็นที่รู้จักและจดจำสำหรับเหล่าขุนนางและประชาชนได้อย่างไม่ลืมเลือน ซึ่งเรื่องนี้แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงมีพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงกุศโลบายทางการเมืองในครั้งนั้นของพระบรมราชชนกของพระองค์ว่า "…ทูลกระหม่อมทรงตั้งพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายเป็นการต่อสู้อย่างยิ่งมิใช่เล่น ..." อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงได้รับการเพ็ดทูลจากพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิดเสมอว่า การกระทำของวชิรญาณภิกขุอาจเข้าข่ายการซ่องสุมผู้คนและเป็นภัย พระองค์ทรงพระราชดำริเห็นชอบ ตามคำปรึกษาของพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา(ทัต บุนนาค) โดยโปรดให้ทูลเชิญวชิรญาณภิกขุ เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ เพื่อระงับความสงสัยต่างๆ ให้หมดไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ณ วัดราชาธิวาส ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2379 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษา และทรงผนวชได้ 12 พรรษา พระองค์ทรงจัดระเบียบการคณะสงฆ์ การปกครองวัด การอบรมฆราวาสที่เข้าวัด ระเบียบสำคัญทั้งหลายดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติกันสืบมาถึงปัจจุบัน ทรงปรับปรุงการศึกษา พระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง ปรากฏว่าพระสงฆ์ที่วัดบวรนิเวศวิหารสอบได้เปรียญประโยคสูง ๆ เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ มีตำแหน่งในคณะมหาเถระ ผู้สอบปริยัติธรรมในสนามหลวง ต่อมาได้ทรงมอบการสอบพระปริยัติธรรม เป็นสิทธิ์ขาดแก่พระองค์ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในทางวัตรปฏิบัติ และความรู้ของพระสงฆ์คณะธรรมยุต ไม่โปรดอยู่อย่างเดียว คือการห่มผ้าแหวกอย่างพระมอญ จนใกล้จะสวรรคตจึงได้มีรับสั่งในเรื่องนี้ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงยอมแก้ไขตามพระราชประสงค์ จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนทางด้านศาสนาของสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เป็นอย่างดี และมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ใฝ่พระหฤทัยศึกษาพระศาสนานั้นเป็นความดี อันสมควรจะทรงอุดหนุน จะได้เป็นกำลังช่วยทำนุบำรุงทางฝ่ายพุทธจักร และเป็นเกียรติแก่พระราชวงศ์ และสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็ทรงกล่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...ได้กระทำแล้วซึ่งความสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายแม้ทั้งปวงโดยชอบเทียว เปนผู้เปนไปกับด้วยความเคารพ กระทำราชกิจทั้งหลายให้เปนไปทั่วแล้วโดยชอบเทียว เปนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณทั้งหลาย มีพระศรัทธาและพระญาณ เปนต้น เปนผู้เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนาให้กระทำแล้วซึ่งวิหารทั้งหลายเปนอันมาก ประณีตดีแล้ว เปนที่รื่นรมย์ใจเปนผู้มีพระคุณอันบุคคลพึงสรรเสริญ ด้วยพระคุณตามเหตุที่ได้เปนแล้ว" ระหว่างที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวช เป็นเวลาที่มหาอำนาจตะวันตกเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงตระหนักถึงความจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการนำทางไปสู่การศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆ ต่อไป ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกโดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทรงติดต่อกับชาวต่างประเทศเพื่อจะได้ทรงทราบเรื่องราวของต่างประเทศมากขึ้น ทรงศึกษาหนังสือข่าวที่ฝรั่งพิมพ์ในเมืองจีน และสิงคโปร์ ปีนังทรงให้เหตุผลในการศึกษาภาษาฝรั่ง ดังอ้างถึงในแนวพระราชดำริเก้ารัชกาล ว่า "... แต่แผ่นดินต่อมา พวกฯ ข้าฯ ยังไม่ได้เปนใหญ่ในราชการแผ่นดิน แต่เห็นว่าท่านผู้ครองแผ่นดินครั้งนั้น คิดการเป็น โบราณ ๆ ป่า ๆ นัก พูดเจรจากันไม่เข้าใจ กลัวว่า ทำไป ๆ กลัวจะล้มคว่ำ ล้มหงายลง แลเห็นว่าอายุตัวยังหนุ่มอยู่ จะอยู่ไปได้นาน จึงคิดอ่านร่ำเรียนหนังสือและภาสาอังกฤษรู้มา แต่ก่อนยังไม่ได้ว่าราชการแผ่นดิน เพราะไว้ใจว่าภาสาที่รู้จะเป็นที่พึ่งคุ้มแต่ตัวเองได้อย่างหนึ่ง ไม่รู้ว่าอย่างไรต่ออย่างไร จะอยู่ที่นี่ฤาจะนำไปข้างไหน ภาสากว้างดีกว่าภาสาแคบ..."การศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางทางวิทยาการและความเป็นไปของโลกภายนอก ทำให้พระองค์ทรงมีความคิดเห็นก้าวหน้า และทรงเล็งเห็นความจำเป็นสองประการ คือ 1. วิทยาการความเจริญตามแบบประเทศตะวันตกเป็นสิ่งที่ควรสนใจ มีประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศในอนาคต ชาวไทยจะต้องศึกษาวิทยาการใหม่ ๆ เหล่านี้ 2. สถานการณ์ของประเทศใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับคนต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเปลี่ยนวิเทโศบายของประเทศ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประเทศและเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ผลดีจากการที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชนานถึง 27 ปี เมื่อทรงอยู่ในฐานะของพระสงฆ์ทรงได้รับประโยชน์ต่างจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งทรงใช้ชีวิตจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพระราชวัง พระองค์เสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ทรงเห็นสภาพบ้านเมือง รู้จักความเป็นอยู่ของชาวเมือง รับรู้ความทุกข์ ความสุขของราษฎร การเสด็จออกบิณฑบาต การแสดงพระธรรมเทศนาเยี่ยงพระสงฆ์ทั่วไป เปิดโอกาสให้พบปะกับราษฎรทุกชนชั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์อย่างดีสำหรับการปกครองประเทศในเวลาต่อมา ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาล พระบรมราชโองการสุดท้ายของพระองค์เกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติความว่า ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาล พระบรมราชโองการสุดท้ายของพระองค์เกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติความว่า" ทรงพระราชดำรัส ยอมอนุญาตให้เจ้าพระยาพระคลังซึ่งว่าที่สมุหกลาโหม พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา พระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายกกับขุนนางผู้น้อยทั้งปวง จงมีความสโมสรสามัคคีปรึกษาพร้อมกัน เมื่อเห็นว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิ ปรีชารอบรู้ราชานุวัตร เป็นศาสนูปถัมภกยกพระบวรพุทธศาสนาและปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดีประนีประนอมพร้อมใจกันยกพระบรมวงศ์องค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ถวัลยราช สืบสันตติวงศ์ ดำรงประเพณีต่อไปเถิด " เสนาบดีไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ กราบทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงศึกษาโหราศาสตร์ ทรงเชื่อตำราพยากรณ์ ตรัสว่า ถ้าจะถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ขอให้ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย เพราะสมเด็จพระอนุชาดวงชะตาดีวิเศษถึงฐานะที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ความที่กล่าวมานี้เป็นมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระมหาอุปราชให้ทรงศักดิ์พิเศษเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว " การเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น นอกจากที่พระองค์ทรงมีสิทธิธรรมของการเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ดำรงพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า และทรงเจริญวัยวุฒิ ถึง 47 พรรษา ยังมีเหตุผลอื่นประกอบอีกที่ทำให้ทรงได้รับการยินยอม และการสนับสนุนจากเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ ตลอดระยะเวลาที่ทรงผนวช ทรงสร้างสมบารมีในฐานะผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแตกฉาน และเคร่งครัด ในวัตรปฏิบัติ ทรงมีคุณธรรมของความเป็น "ธรรมราชา" ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเป็นผู้ปกครองที่ดี ทรงมีพระเกียรติคุณแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชน ทั้งปวง ทรงสนพระทัยศึกษาสถานการณ์ทางการเมืองของโลกภายนอกตลอดเวลา ทรงรอบรู้ในภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตกไม่น้อยกว่าเจ้านาย และขุนนางที่จัดว่าเป็น "กลุ่มก้าวหน้า" ทรงคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก ทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาคนไทยที่มีความคิดเห็นก้าวหน้าทันสมัย ในด้านพระราชอัธยาศัย ของสมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงนิยมวิธีการประนีประนอมในการแก้ปัญหา มีน้ำพระทัยเมตตา ทรงรักความยุติธรรม มิได้ทรงมีจิตคิดพยาบาทมาดร้าย แม้แต่กับผู้ที่ตั้งตัวเป็นศัตรู ทรงหลีกเลี่ยงที่จะมีข้อขัดแย้งรุนแรงกับฝ่ายใด และทรงพร้อมที่จะเป็นมิตรกับชนทุกชั้นทุกชาติสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงสามารถผสมผสานลักษณะที่ขัดแย้งกันของผู้ปกครองที่ยึดมั่นในคุณธรรมดั้งเดิมตามแบบประเพณีตะวันออก และผู้ที่นิยมความคิดก้าวหน้าแบบตะวันตกได้อย่างกลมกลืน จนเป็นที่ยอมรับว่าพระองค์ทรงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศในระยะนั้น คงจะเป็นด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จึงอัญเชิญให้ พระองค์ลาผนวชขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ครั้นถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งประกอบด้วย เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก (ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล 2534 : 128) จึงเชิญเสด็จสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ จากวัดบวรนิเวศวิหาร แห่เสด็จโดยกระบวนเรือมาขึ้นที่ท่าตำหนักแพ (ซึ่งขนานนามใหม่ในรัชกาลที่ 4 ว่า ท่าราชวรดิษฐ์) รับเสด็จทรงพระราชยานแห่เข้าพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระมหามณเฑียร ถวายน้ำสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเชษฐาธิราช จากนั้นเสด็จประทับที่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายและเสนาบดีเข้าเฝ้ากราบทูลเชิญเสด็จผ่านพิภพ จึงทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2394 เวลา 1 นาฬิกา นับเวลาทรงผนวชอยู่ 27 พรรษา เมื่อพระองค์ทรงลาผนวชแล้วได้ประทับว่าราชการอยู่ ณ พลับพลา ระหว่างโรงแสงดั่นจนถึงฤกษ์ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งประกอบขึ้นในวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ณ พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย แล้วเสด็จออกเลียบพระนครทางสถลมารคและชลมารค เมื่อวันที่ 20 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 มีพระนามจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัฏว่า " พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อุกฤษฐวิบูล บูรพาดูลกฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษฏิ์ ธัญญลักษณะวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุ มาลยมหาบุรุษรัตน์ ศึกษาพิพัฒสรรพโกศล สุวิสุทธวิมลศุภศีลสมาจาร เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณวิบูลสันดาน ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศลวิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณคุณสารสยามาธิโลกดิลก มหาบริวารนายก อนันตมหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร มหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณะมหาบรมราชา ภิเษกาภิสิตสรรพทศทิศวิชัตชัย สกล มไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหาราชาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวสัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปไมยบุญญการ สกลไพศาลมหารัษฎา ธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิก มหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหิน ทรายุธยาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดเกล้าให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระอนุชา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2394 การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน ที่สอง"เป็นที่พึงพอใจและชื่นชมยินดีอย่างมากของพสกนิกรในแผ่นดิน และชาวต่างประเทศซึ่งได้ส่งข่าวไปยังสิงค์โปร์ว่าการเปลี่ยนรัชกาล ในวันที่ 2 เมษายน เป็นไปด้วยความสงบ เจ้านาย ขุนนาง ประชาชนไทยพอใจในพระมหากษัตริย์ พระองค์ใหม่ หนังสือพิมพ์ "สแตรทส์ ไทม์" (Straits Times) ที่สิงค์โปร์ลงข่าว "... เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความหวังอันยิ่งใหญ่แก่ ประชาชนชาวสยามและเป็นที่น่าสนใจ แต่ประชาชาติภายนอก..." เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัครมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัครมเหสี 1. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี เป็นพระราชธิดาในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ มีพระนามเดิมหม่อมเจ้าหญิงโสมนัส ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม 6 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1196 ตรงกับ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2377 ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2394 นับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรก ทรงดำรงตำแหน่งได้เพียง 9 เดือน ก็สิ้นพระชนม์ 2. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ทรงเป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สอง มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำเพย ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1196 ตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมมตยาภิเษกเป็นพระราชเทวี ทรงพระนามว่า "พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์" และ "สมเด็จพระนางเจ้ารำเพย ภมราภิรมย์" โดยลำดับ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2395 ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงได้รับการสถาปนาพระนามเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ในปัจจุบันขานพระนามว่า "สมเด็จพระเทพ ศิรินทรา บรมราชินี"สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ นับเป็นพระราชินีที่มีพระชนมายุน้อยพระองค์หนึ่ง เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุเพียง 18 พรรษา ทรงมีพระราชโอรส พระราชธิดา ดังนี้ 1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ ณ วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ประสูติ ณ วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2398 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ 3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ ประสูติ ณ วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ 4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ประสูติ ณ วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการสถาปนาเป็นจอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังจากประสูติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชฯ เป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภิรมย์ทรงประชวร พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ได้กล่าวถึงสมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภิรมย์สิ้นพระชนม์ไว้ตอนหนึ่งว่า"ฝ่ายสมเด็จพระนางประชวรพระยอดเม็ดเล็ก ทรงพระกาสะเป็นโลหิตติดระคนเสมหะออกมา ทรงพระประชวรอยู่หลายเดือน ครั้นมาถึง ณ วันจันทร์เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ (วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2404) เวลาเช้า 5 โมงเศษสิ้นพระชนม์ สิริพระชนม์ได้ 28 พรรษา ได้เชิญพระศพเข้าสถิตในพระโกศทองคำ แล้วเชิญพระศพแห่ออกประตูพรหมไปประดิษฐานไว้ในหอธรรมสังเวช"ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในปัจจุบันขานพระนามว่า สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 1. เจ้าจอมมารดาน้อย เป็นพระธิดาของพระอินทรอภัย รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนจะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส 2. พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส 2. เจ้าจอมมารดาแพ เป็นพระธิดาพระสำราญหฤทัย และท้าวทรงกันดาน มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา 2. พระองค์เจ้าหญิงพักตร์พิมลพรรณ 3. พระองค์เจ้าชายเกษมสันต์โสภาคย์ 4. พระองค์เจ้าชายมนุษยนาคมานพ 5. พระองค์เจ้าหญิงบัญจบเบญจมา 3. เจ้าจอมมารดาพึ่ง (หรือผึ้ง) เป็นพระธิดาพระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายทักษิณาวัฏ 2. พระองค์เจ้าชายคัคณางคยุคล 3. พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภช 4. เจ้าจอมมารดาจันทร์ เป็นพระธิดาพระยาพิพิธสุนทรการ (สุข) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา นราธิราชบุตรี 2. พระองค์เจ้าหญิงมัณยาภาธร 3. พระองค์เจ้าชายสุขสวัสดิ์ 4. พระองค์เจ้าชายเกษมศรีศุภโยค 5. เจ้าจอมมารดาเที่ยง มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา 2. พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ 3. พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ 4. พระองค์เจ้าชายกมลาสเลอสรรค์ 5. พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา 6. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 พระชันษาได้ 8 วัน 7. พระองค์เจ้าชายไชยานุชิต 8. พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง 9. พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช 10. พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ 6. เจ้าจอมมารดาตลับ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ 4 พระชันษาได้ 8 วัน 2. พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ 3. พระองค์เจ้าชายกาพย์กนกรัตน์ 7. เจ้าจอมมารดาเอี่ยม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าศรีพัฒนา 8. เจ้าจอมมารดาเกศ (เกษ) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประภัศร 9. เจ้าจอมมารดาสำลี เป็นพระธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ(ทัด) และหม่อมคล้าย (ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชาย (แดง) 2. พระองค์เจ้าหญิง (เขียว) 3. พระองค์เจ้าหญิงบุษบงเบิกบาน 4. พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี 5. พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภา 10. เจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร 11. เจ้าจอมมารดาบัว เป็นธิดาเจ้าพระยานครน้อยคืนเมือง มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ 2. พระองค์เจ้าชายศรีสิทธิธงไชย 3. พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา 4. พระองค์เจ้าชายวัฒนานุวงศ์ 5. พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ 12. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมไปยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์และหม่อมกิ๋ม รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงหม่อมเจ้าพรรณรายเป็นเจ้าจอม (ได้รับการสถาปนาพระเกียรติยศ เป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระเจ้าลูกเธอ คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้ว 2. พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ 13. เจ้าจอมมารดามาลัย (มาไลย) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 2. พระองค์เจ้าหญิงเสมอสมัยหรรษา 14. เจ้าจอมมารดาสังวาล เป็นธิดานายศัลลิไชย (ทองคำ) และท่านน้อย ถวายตัวทำราชการได้รับพระราชทานเป็นเจ้าจอมมารดาชั้นสูง ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายทองกองก้อนใหญ่ 2. พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ 3. พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี 4. พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร 15. เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) เป็นธิดาท้าวสุจริต ธำรง (นาค) และหลวงอาสาสำแดง (แตง) ได้เป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศีรพัชรินทร์มาตา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายอุณากรรณอนันตนรไชย 2. พระองค์เจ้าชายเทวัญอุไทยวงศ์ 3. พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ 4. พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา 5. พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรี 6. พระองค์เจ้าชายสวัสดิโสภณ 16. เจ้าจอมมารดาเอม เป็นธิดาหลวงปรานีประชาชน (แมลงทับ) ยกรบัตรกรุงเก่าและท่านเอี่ยมได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงอนงค์นพคุณ 17. เจ้าจอมมารดาหรุ่น เป็นธิดาพระยาอภัยพิพิธ (กระต่าย) และคุณหญิงแจ่ม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงอรุณวดี 18. เจ้าจอมมารดาแก้ว มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงวาณีรัตนกัญญา 19. เจ้าจอมมารดาโหมด เป็นธิดาพระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล) ได้ถวายตัวเป็นพระสนมโท มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงมณฑานพรัตน์ 2. พระองค์เจ้าชายจันทรทัตจุฑาธาร 20. เจ้าจอมมารดาหุ่น (ท้าวทรงกันดาล) เป็นหลานเจ้าจอมเถ้าแก่ ได้เป็นท้าวทรงกันดานในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายสวัสดิประวัติ 21. เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นพระธิดาเจ้าคลี่ (พระโอรสพระเจ้าอนุสุทธราช) และเจ้านางท่อนแก้ว (พระธิดาพระมหาอุปราชติสสะ) ถวายตัวเป็นพระสนม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา 2. พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารี 22. เจ้าจอมมารดาเขียน เป็นธิดาท่านอันและท่านอิ่ม สิริวันต์ เป็นพระญาติของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร 23. เจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นธิดาพระยาอัพภันตริภามาตย์ (ดิศ) และท่านคล้าย ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาพระสนมเอก มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร 24. เจ้าจอมมารดาเพ็ง เป็นธิดาเจ้ากรมเกาเหลาจีน มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงนงคราญอุดมดี 25. เจ้าจอมมารดาเหม (ท้าวสมศักดิ) เป็นธิดาพระอัคนีสร (พิณ) และขรัวยายแย้ม ได้เป็นท้าวสุภัติการภัคดี และเป็นท้าวอินสรสุริยา ได้เป็นท้าวสมศักดิในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายศรีเสาวภางค์ 26. เจ้าจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์) เป็นธิดานายสมบุญ มหาดเล็กหลวงและนางถ้วย ถวายตัวรับราชการต่อมาภายหลังได้เป็นท้าววรจันทร์ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายโสณบัณฑิต 27. เจ้าจอมมารดาห่วง เป็นธิดาขุนเทพฯ และท่านเกษา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงบุษบันบัวผัน 2. พระองค์เจ้าชายไชยันตมงคล 3. พระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ 28. เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ เป็นธิดาหม่อมเจ้านิ่ม ปาลกวงศ์ และหม่อมฟัก มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประสานศรีใส 2. พระองค์เจ้าหญิงประไพศรีสอาด 29. เจ้าจอมมารดาสุ่น (ท้าววนิดาวิจารินี) เป็นธิดาพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น) ถวายตัวรับราชการต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้เป็นท้าววนิดาวิจารินี มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประพาฬรัศมี 30. เจ้าจอมมารดาหว้า เป็นธิดาปลัดโรงทานอิ่ม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาคย์พรรณ 31. เจ้าจอมมารดาเชย มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในวันที่ประสูติ 32. เจ้าจอมมารดาพุ่ม เป็นธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงพุทธประดิษฐา 33. เจ้าจอมมารดาอิ่ม(ท้าวศรีสัจจา)มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ 34. เจ้าจอมทับฑิม 35. เจ้าจอมเล็ก 36. เจ้าจอมอิ่ม 37. เจ้าจอมทับทิม 38. เจ้าจอมรุน 39. เจ้าจอมหนูสุด 40. เจ้าจอมวัน 41. เจ้าจอมหนูชี 42. เจ้าจอมพร้อม 43. เจ้าจอมบุนนาค
พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก ที่ 1 พระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส ประสูติในรัชกาลที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำปีมะเมีย ตรงกับ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2365 ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2396 ได้ทรงกำกับกรมล้อมพระราชวัง และเมื่อกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรสิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 พระชันษา 46 ปี เป็นต้นสกุลนพวงษ์ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาน้อย ที่ 2 พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส ประสูติในรัชกาลที่ 2 เมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ได้ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น13 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2405 พระชันษา 38 ปี เป็นต้นสกุลสุประดิษฐ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อย ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว ที่ 3 พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 15 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2394 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 พระชันษา 36 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 4 พระองค์เจ้าชายทักษิณาวัฏ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 9 ค่ำ ปีชวดตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2396 พระชันษาได้ปี 1 ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 5 สมเด็จเจ้าฟ้าชายโสมนัส ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 7 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีเป็นพระมารดา ที่ 6 พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา นราธิราชบุตรี ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 พระชันษา 55 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 7 พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2446 ในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงรักษากุญแจพระบรมมหาราชวังชั้นใน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ปีมะแม พ.ศ. 2474 พระชันษา 79 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 8 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 5 ค่ำพระชันษาได้ 8 วัน ที่ 1 ใน เจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 9 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร (พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2404 เลื่อนเป็นกรมขุนพินิจประชานาถ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2410 ได้ทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 ได้เสด็จประพาสประเทศอินเดียเมื่อปีวอก พ.ศ. 2415 ประพาสยุโรปเมื่อปีระกา พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่ง เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง เสด็จดำรงราชสมบัติอยู่ 42 ปี รัชกาลยั่งยืนยิ่งกว่าบรรดาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม อันปรากฏในพระราชพงศาวดารแต่ก่อนมาทุกพระองค์ เสด็จ สวรรคตเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชนพรรษา 58 พรรษา ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 10 พระองค์เจ้าหญิงศรีพัฒนา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 12 แรม 15 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2396 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีระกา พ.ศ. 2416 พระชันษา 21 ปี ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม ที่ 11 พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม 6 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 พระชันษา 3 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 12 พระองค์เจ้าหญิงประภัศร ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ปีขาล พ.ศ. 2469 พระชันษา 73 ปี ในเจ้าจอมมารดาเกศ ที่ 13 พระองค์เจ้าหญิงพักตร์พิมลพรรณ ประสูติเมื่อวันพุธเดือน 12 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 5 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 พระชันษา 52 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 14 พระองค์เจ้าหญิงมัณยาภาธร ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 3 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันจันทร์ เดือน 11 แรม 3 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2428 พระชันษา 32 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 15 พระองค์เจ้าชาย (แดง) ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันเสาร์เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 พระชันษา 3 เดือน ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาสำลี ซึ่งทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ใน รัชกาลที่ 5 ที่16 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 12 ค่ำ ปีกุน พ.ศ. 2406 พระชันษา 9 ปี รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2427 ที่ 2 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 17 พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 6 แรม 7 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2418 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อ ร.ศ. 118 ตรงกับปีกุน พ.ศ. 2442 ได้เป็นราชทูตประจำ ณ กรุงลอนดอนและอเมริกา เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล และกระทรวงโยธาธิการ ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ มหิศวรราชรวิวงศ์ สิทธิประสงค์กฤษดาธิการ สุทธสันดานสีตลหฤทัย มไหศวริยราชนิติธาดา สุปรีชาสรรพกิจโกศล วิมลสุจริตจริยานุวัตร พุทธาทิรัตนสรณารักษ์ อุดมศักดิ์บพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสมุหมนตรี เสนาบดีกระทรวง มุรธาธร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 71 ปี เป็นต้นสกุลกฤดากร ในเจ้าจอมมารดากลิ่น ที่ 18 พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 8 บูรพาสาฒ ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 พระชันษา 2 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 19 พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้นค่ำ 1 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ปีฉลู พ.ศ. 2456 พระชันษา 59 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 20 พระองค์เจ้าชายคัคณางคยุคล ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิชิตปรีชากร เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 ได้เป็นอธิบดีศาลรับสั่งชำระความฎีกา แล้วเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลอีสานและเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปีระกา พ.ศ. 2452 พระชันษา 55 ปี เป็นต้นสกุลคัคณางค์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 21 พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้ว ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2425 พระชันษา 28 ปี ทรงสถาปนาเป็นกรมขุนขัตติยกัลยา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 และทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าเมื่อปีกุน พ.ศ. 2430 ที่ 1 ในหม่อมเจ้าพรรณราย ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ 5 ที่ 22 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 15 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 ประสูติเพียงวันเดียวสิ้นพระชนม์ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดามาไลย ที่ 23 พระองค์เจ้าชายสุขสวัสดิ์ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ค่ำ ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เป็นนายพลตรีราชองครักษ์ตำแหน่งปลัดทัพบก ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นนายพลโทราชองครักษ์ ผู้บัญชาการกองพล แล้วเลื่อนเป็นจเรพาหนะทหารบก สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 6 เมื่อวันที่ 16 เมษายน ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 71 ปี เป็นต้นสกุลสุขสวัสดิ์ ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 24 พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีระกา พ.ศ. 2440 พระชันษา 42 ปี เป็นต้นสกุลทวีวงศ์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 25 พระองค์เจ้าชายทองกองก้อนใหญ่ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 5 ขึ้นค่ำ 1 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เป็นนายพลตรี บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวัง ได้เป็นแม่ทัพปราบฮ่อทางแดนมณฑลอุดร และเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอุดร เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง กระทรวงกลาโหม เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2442 เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2467 พระชันษา 69 ปี เป็นต้นสกุลทองใหญ่ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 26 พระองค์เจ้าชายเกษมสันต์โสภาคย์ ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นกรรมการศาลฎีกา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 4 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2467 พระชันษา 69 ปี เป็นต้นสกุลเกษมสันต์ ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 27 พระองค์เจ้าชายกมลาสเลอสรรค์ ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 12 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 ได้ทรงกำกับช่างทองหลวง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ปีมะแม พ.ศ. 2474 เป็นต้นสกุลกมลาสน์ ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 28 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี ศรีสมมติเทวราชรวิวงศ์ วโรภัยพงศ์พิสุทธมกุฎราชวรางกูร มไหสูรยารหราชกุมาร ประสูติเมื่อวันอังคารเดือนยี่ แรม 3 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรพรรดิพงศ์ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2418 เลื่อนเป็นเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ ดำรงขัตติยศักดิอัครวรยศ รัตนสมมติบุริสาชาไนย สีตลหฤทัยธรรมสุจริต อเนกราชกิจสิทธิวิจารณ์มโหฬารคุณสมบัติ พุทธาทิรัตน สรณาคมอุดมเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 ได้ทรงบัญชาการกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2443 พระชันษา 44 ปี เป็นต้นสกุลจักรพันธุ์ ที่ 3 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 29 พระองค์เจ้าชายอุณากรรณอนันตนรไชย ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 13 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2399 เป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีจอตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2416 พระชันษา 18 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ในรัชกาลที่ 5 และเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัช รินทรมาตา ในรัชกาลที่ 6 ที่ 30 พระองค์เจ้าชายเกษมศรีศุภโยคประสูติ เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2439 ทรงกำกับกรมช่างมุก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 3 มกราคม ปีเถาะ พ.ศ. 2458 พระชันษา 59 ปี เป็นต้นสกุลเกษมศรี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 31 พระองค์เจ้าหญิง (เขียว) ประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 10 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 3 ค่ำ ประสูติเพียงวันเดียวสิ้นพระชนม์ ที่ 2 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 32 พระองค์เจ้าหญิงเสมอสมัยหรรษา ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2416 พระชันษา 17 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดา มาไลย ที่ 33 พระองค์เจ้าชายศรีสิทธิธงไชย ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสิริธัชสังกาศ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 เลื่อนเป็นกรมขุนสิริธัชสังกาศ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ได้เป็นเสนาบดี กระทรวงพระคลัง เป็นอธิบดีศาลฎีกา เป็นราชเลขานุการฝ่ายกฎหมาย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชันษา 54 ปี เป็นต้นสกุลศรีธวัช ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 34 พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2431 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 เป็นนายพันเอกราชองครักษ์ ทรงบังคับการ กรมช่างมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 เมษายน ปีมะแม พ.ศ. 2462 พระชันษา 63 ปี เป็นต้นสกุลทองแถม ที่ 2 ใน เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 35 พระองค์เจ้าหญิงอนงค์นพคุณ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้ายขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 พระชันษา 26 ปี ในเจ้าจอมมารดาเอม ที่ 36 พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2461 พระชันษา 62 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 37 พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภชประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน เป็นเสนาบดีกระทรวงวังถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 เป็นสมุหมนตรีเสนาบดีที่ปรึกษา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 3 เมษายน ปีจอ พ.ศ. 2465 พระชันษา 66 ปี เป็น ต้นสกุลชุมพล ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 38 พระองค์เจ้าหญิงอรุณวดี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปีระกา พ.ศ. 2476 พระชันษา 76 ปี ในเจ้าจอมมารดาหรุ่น ที่ 39 พระองค์เจ้าหญิงวาณีรัตนกัญญา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 78 ปี ในเจ้าจอมมารดาแก้ว ที่ 40 พระองค์เจ้ามณฑานพรัตน์ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 8 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2404 พระชันษา 4 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ที่ 41 พระองค์เจ้าชายกาพย์กนกรัตน์ประสูติ เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 ในรัชกาลที่ 5 เป็นนายพันตรีราชองครักษ์ ทรงบังคับการกรมทหารมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์เดือน 6 แรม 12 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2422 พระชันษา 22 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 42 พระองค์เจ้าชายเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 7 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เป็นราชเลขานุการ แล้วเป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ได้เป็นราชทูตพิเศษเสด็จไป ยุโรป ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี ศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกศาตรวิบูลย์ เกียรติจำรูญไพรัชการ สุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยคุณานุสร สุนทรธรรมบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสมุหมนตรี แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกนิติปรีชา มหาสุมันตยานุวัตรวิบูลย์ ไพรัชราชกิจจาดุลย์สุนทรปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานาปกรณ์ เกียรติกำจรจิรกาล บริบูรณ์คุณสารสมบัติ สุจริตสมาจารวัตรมัทวเมตตา ชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา กัลยาณธรรมิกนาถบพิตร เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2459 เป็นมหาอำมาตย์นายก คงในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นสภานายกแห่งสภาการคลังเมื่อปีจอ พ.ศ. 2465 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปีกุน พ.ศ. 2466 พระชันษา 66 ปี เป็นต้นสกุลเทวกุล ที่ 2 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 43 พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีมะแมตรงกับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2449 พระชันษา 47 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 44 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธเดือนอ้ายขึ้น 13 ค่ำ พระชันษาได้ 8 วัน ที่ 6 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 45 สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามกุฎพงศวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชกุมาร ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เลื่อนเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อรรคอุดมชาติ บรมนราธิราชโสทรานุชาธิบดี สุจริตจารีราชการัณย์ มหันตมหาอุสาหะพิริยพหลดลประสิทธิ์ อเนกพิธคุณากร สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารัธยาศรัย ศรีรัตนตรัย สรณธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 เป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ เสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงกลาโหม ได้เป็นราชทูตพิเศษ เสด็จประเทศญี่ปุ่นครั้งหนึ่ง ยุโรปครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อัครอุดมชาติ ปรมินทรมหาราชโสทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรมหาวิชราวุธราชบิตุลา มหันตมหาอุสาหะ พิริยพหลดลประสิทธิ์ สุจริตจารีราชการัณย์ สุรพลขันธคณาภรณ์ สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารัธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพพิลาส ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นจอมพลทหารบก จอมพลเรือ ราชองครักษ์ และเป็นจเรทหารบก ทหารเรือทั่วไป ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชบิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 ทิวงคตในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ปีมะโรง พ.ศ. 2471 เป็นต้นสกุลภาณุพันธุ์ ที่ 4 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 46 พระองค์เจ้าหญิงบุษบงเบิกบาน ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2419 พระชันษา 18 ปี ที่ 3 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 47 พระองค์เจ้าชายมนุษยนาคมานพประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 5 แรม 7 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2403 ในรัชกาลที่ 5 ทรงผนวชแล้ว ทรงแปลพระปริยัติธรรมเป็นเปรียญ 5 ประโยค ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์ธรรมวรยุต ศรีวิสุทธิคณนุนายก สาสนดิลกธรรมานุวาท บริสัษยนาถบพิตร ทรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เสมอสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกา แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวงฯพระนามตอนต้นอย่างเดิม เปลี่ยนสร้อยท้ายพระนามว่าบริสัษยนาถสมณุดมบรมบพิตร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2449 ถึงรัชกาลที่ 6 ทรง รับมหาสมณุตมาภิเษกเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังสีกัลยาณวากย์ มนุษยนาคอเนญชาริยวงศ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ ประนับดา มหามกุฎกษัตรราชวรางกูร จุฬาลงกรณปรมินทร์ สูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์ ศุภสีลมหาสารวิมลมงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฏกาทิโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมา ภิเษกาภิษิต วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลก โลกุต์มมหาบัณฑิต สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน มโหฬารเมตตาภิธยาศัย พุทธาทิรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิปัตย์พุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนาถบพิตร ทรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระมหาสมณ เป็นประธานสงฆบริษัททั่วพระราชอาณาเขต เมื่อปีจอ พ.ศ. 2453 ต่อมา ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เมื่อปีระกา พ.ศ. 2464 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปีระกา พ.ศ. 2464 พระชันษา 62 ปี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 48 พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2403 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีชวด พ.ศ. 2407 พระชันษา 5 ปี ที่ 3 ใน เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 49 พระองค์เจ้าชายสวัสดิประวัติ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นเสนาบดีตำแหน่งราชเลขานุการและเป็นอธิบดีกรมพระคลังข้างที่ ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระสมมตอมรพันธุ์บรมธรรมิกราชวงศ์วิสุทธิ์ วชิราวุธราชปฤจฉา นุวัตน์ รัตนบันฑิตยชาติ สุขุมราชมันตนาธิบดี เมตตาสีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนคุณาลงกรณ์ ธรรมาทรบพิตร เป็นสมุหมนตรี เป็นเสนาบดีที่ปรึกษา เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 6 เมื่อวันที่ 21 เมษายน ปีเถาะ พ.ศ. 2458 พระชันษา 5 ปี เป็นต้นสกุลสวัสดิกุล ในเจ้าจอมมารดา หุ่น (เป็นท้าวทรงกันดาล ในรัชกาลที่ 5) ที่ 50 พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2423 พระชันษา 21 ปี ที่ 3 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 51 พระองค์เจ้าชายจันทรทัตจุฑาธาร ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม 13 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา เมื่อปีวอก พ.ศ. 2439 เป็นอธิบดีกรมพยาบาล ถึงรัชกาลที่ 6 เป็นอำมาตย์ตรีในกระทรวงยุติธรรม สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ปีวอก พ.ศ. 2475 พระชันษา 72 ปี เป็นต้นสกุลจันทรทัต ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ที่ 52 พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้นค่ำ 1 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นพระนางเจ้าพระราชเทวี ต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ปีเถาะ พ.ศ. 2470 พระชันษา 66 ปี ที่ 4 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 53 พระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา ประสูติเมื่อวันเสาร์เดือน 9 ขึ้น 11 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 65 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาดวงคำ ที่ 54 พระองค์เจ้าชายไชยานุชิต ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 9 แรม 6 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพงศาดิศรมหิป เมื่อปีจอ พ.ศ. 2441 ได้เป็นอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 28 มกราคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 74 ปี เป็นต้นสกุลชยางกูร ที่ 7 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 55 พระองค์เจ้าหญิงบัญจบเบญจมาประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 12 ขึ้น 3 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2435 พระชันษา 31 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 56 พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร ประสูติเมื่อวันพุธเดือน 12 แรม 3 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2432 ได้เป็นรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์ มกุฎวงศนฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิอดุลย์พหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนตรัยคุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2464 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ปีมะแม พ.ศ. 2474 พระชันษา 70 ปี เป็นต้นสกุลวรวรรณ ในเจ้าจอมมารดาเขียน ที่ 57 พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เป็นอธิบดีกรมการศึกษาธิการ ปีขาล พ.ศ. 2433 เป็นราชทูตพิเศษเสด็จไปยุโรปครั้งหนึ่ง เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2435 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2442 ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระดำรงราชานุภาพ อิศริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุศร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาวิเศษ นรินทราธิเบศร์บรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2458 เป็นกรรมการตรวจชำระกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และเป็นกรรมการสภาการคลัง เมื่อปีจอ พ.ศ. 2465 เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอกเมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 เป็นนายกราชบัณฑิตยสภา เมื่อปีขาล พ.ศ. 2469 แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการมโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชวรานุศิษฏ์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรนิพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัฒน์ปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. 2486 พระชันษา 81 ปี เป็นต้นสกุลดิศกุล ในเจ้าจอม มารดาชุ่ม ที่ 58 พระองค์เจ้าหญิงนงคราญอุดมดี ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรมค่ำ 1 ปีจอ ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ในเจ้าจอมมารดาเพ็ง สิ้นพระชนม์วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ที่ 59 พระองค์เจ้าชายศรีเสาวภางค์ ประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 8 แรม 7 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 เป็นราชเลขานุการ อธิบดีกรมอักษรพิมพการ และอธิบดีกรมพยาบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2432 พระชันษา 28 ปี เป็นต้นสกุลโสภางค์ ในเจ้าจอมมารดาเหม (เป็นท้าวสุภัติการภักดี แล้วเป็นท้าวอินทร สุริยา แล้วเลื่อนเป็นท้าวสมศักดิ ในรัชกาลที่ 5) ที่ 60 พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี คือสมเด็จพระมาตุจฉาในรัชกาลที่ 6 เสด็จดำรงตำแหน่งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463 ถึง รัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 รัชกาลที่ 8 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ปีจอ พ.ศ. 2477 เสด็จสวรรคต ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. 2498 พระชนมายุ 93 พรรษา ที่ 4 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 61 พระองค์เจ้าชายโสณบัณฑิต ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นนายพันเอกราชองครักษ์ ได้เป็นที่ปรึกษาประจำสถานทูตในประเทศอังกฤษและอเมริกา ต่อมาเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลภาคพายัพ เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงวัง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2456 พระชันษา 50 ปี เป็นต้นสกุลโสณกุล ในเจ้าจอมมารดาวาด (เป็นท้าววรจันทร์ ในรัชกาลที่ 5) ที่ 62 พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ ปีระกา พ.ศ. 2428 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุน เมื่อปีกุน พ.ศ. 2430 เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลัง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2436 เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2437 เป็นเสนาบดี กระทรวงวัง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ทรงเพิ่มพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และเลื่อนเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร ปรเมนทรราชบิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิต วิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นนายพลเอก เมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 เป็นกรรมการสภาการคลัง ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 เป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ 11 มกราคม ปีระกา พ.ศ. 2476 ตลอดรัชกาลที่ 7 จนทรงสละราชสมบัติถึงรัชกาลที่ 8 เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิสยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุร จิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสิตลัธยาสัย พุทธาทิไตร รัตนสรณานุวัตร์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ปีกุน พ.ศ. 2490 พระชันษา 84 ปี เป็นต้นสกุลจิตรพงศ์ ที่ 2 ในพระองค์เจ้าพรรณราย ที่ 63 พระองค์เจ้าชายวัฒนานุวงศ์ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ เป็นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส แล้วเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มณฑลปราจีนบุรี ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 5 เมษายน ปีกุน พ.ศ. 2466 พระชันษา 61 ปี เป็นต้นสกุลวัฒนวงศ์ ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 64 พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 7 แรม 7 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีวอก พ.ศ. 2475 พระชันษา 70 ปี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 65 พระองค์เจ้าหญิงบุษบันบัวผัน ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปีเถาะ พ.ศ. 2482 พระชันษา 76 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาห่วง ที่ 66 พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรีประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณเวลาเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปีระกา พ.ศ. 2440 ถึงรัชกาลที่ 6 เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ปีมะแม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 57 พรรษา ที่ 5 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 67 พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 พระชันษา 66 ปี ที่ 8 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 68 พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภาประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 เป็นอธิบดีทรงบัญชาการรักษาภายในพระราชวัง ถึงรัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีเถาะ พ.ศ. 2470 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ปีจอ พ.ศ. 2501 พระชันษา 94 ปี ที่ 5 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 69 พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ แรม 3 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2407 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2409 พระชันษา 3 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 70 พระองค์เจ้าหญิงประสานศรีใสประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2407 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปีมะแม พ.ศ. 2450 พระชันษา 44 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ ที่ 71 พระองค์เจ้าหญิงประพาฬรัศมี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 2 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระชันษา 37 ปี ในเจ้าจอมมารดาสุ่น (ซึ่งเป็นท้าววนิดา วิจารินี ในรัชกาลที่ 5) ที่ 72 พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 9 วัน ที่ 9 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 73 พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาคย์พรรณ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 ขึ้นค่ำ 1 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ปีมะเมีย พ.ศ. 2437 พระชันษา 31 ปี ในเจ้าจอมมารดาหว้า ที่ 74 พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารีประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ปีขาล พ.ศ. 2505 พระชันษา 97 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาดวงคำ ที่ 75 พระองค์เจ้าชายสวัสดิโสภณ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2441 เป็นนายพลตรี เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และได้เป็นราชทูตพิเศษเสด็จยุโรป ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นอธิบดีศาลฎีกา เลื่อนเป็นกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สยามิศรราชมาตุลาธิบดี ศรีพัชรินทรโสทรานุราชย์ มานวธรรมศาสดรวิธาน นิรุกติปรติภานพิทยโกศล โศภนมิตรสุจริตอาร์ชวาศัย ศรีรัตนตรัยสรณาภิรัต ชเนตภูมิปะภัทปียมาน มนุญสุนทรธรรมบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 ถึงรัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระฯ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 ที่เมืองปีนัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 70 ปี เป็นต้นสกุล สวัสดิวัฒน์ ที่ 6 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 76 พระองค์เจ้าชายไชยันตมงคล ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 14 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2408 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 เป็นนายพันเอก ราชองครักษ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 15 เมษายน ปีมะแม พ.ศ. 2450 พระชันษา 44 ปี เป็นต้นสกุลไชยันต์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาห่วง ที่ 77 พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 6 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2409 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปีขาล พ.ศ. 2493 พระชันษา 84 ปี ที่ 10 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 78 พระองค์เจ้าหญิงประไพศรีสอาด ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 แรม 6 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชันษา 44 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาแสง ที่ 79 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 13 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ ในเจ้าจอมมารดาเชย ที่ 80 พระองค์เจ้าหญิงพุทธประดิษฐา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 4 แรม 2 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2413 พระชันษา 4 ปี ในเจ้าจอมมารดาพุ่ม ที่ 81 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน 10 ขึ้นค่ำ 1 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติเจ้าจอมมารดาอิ่ม (เป็นท้าวโสภานิเวศน์ แล้วเลื่อนเป็น ท้าวศรีสัจจาในรัชกาลที่ 5) ที่ 82 พระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ ประสูติในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธเดือน 10 แรม 12 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2417 พระชันษา 7 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาห่วง รวมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอ ในรัชกาลที่ 4 ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก มีพระโอรส 2 พระองค์ ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว มีพระราชโอรสอีก 37 พระองค์ พระราชธิดาอีก 43 พระองค์ รวมทั้งสิ้นเป็น 82 พระองค์

No comments: