Friday, June 29, 2007

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล


พระราชประวัติร.8
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับ ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็น ประธาน พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการ ศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจเพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคตณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศ ครั้งที่ ๒โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐิและพระบรมอัฐิสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางส่วนดังนี้“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว ความทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข็งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริงๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป...”
วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ พระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวังวันที่ 28-29 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมข้าวไทยกับทีมท่าพระจันทร์วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ – วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลในวันขึ้นปีใหม่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ทหารบกฉายพระบรมฉายาลักษณ์วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินวัดเบญจมบพิตรวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามสหประชาชาติ พร้อมด้วย ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ณ ท้องสนามหลวง และถนนพระราชดำเนินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันเทนนิส ณ สโมสรศิษย์เก่าเทพศิรินทร์วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังสวนไกลกังวลวันที่ 8 มีนามคม พ.ศ. 2489 เสด็จนิวัตกลับพระนคร ทรงเสด็จนมัสการพระปฐมเจดีย์ และเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ทำการรัฐบาลและได้เสด็จสู่บัลลังก์ศาล จ.นครปฐมวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2489 เสด็จทอดพระเนตรเรือดำน้ำและเรือปืนศรีอยุธยาต่อมาไม่ทราบวันที่แน่นอน ทรงเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานอุทิศถวายสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาดา ณ วัดราชาธิวาสเสด็จพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัววันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังโบราณ จ. พระนครศรีอยุธยาวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยาวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวันที่ระลึกมหาจักรี ทรงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตนวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถานเสาวภาวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 24 89 ลอร์ด ดินเสิร์น เจ้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองทัพอากาศวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จประพาสเยี่ยมประชาชน ณ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานีวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายร้อยโททหารมหาดเล็กแด่สมเด็จพระราชอนุชาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำนินเยี่ยมประชาชน จ.สมุทรสาครวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.ฉะเชิงเทรา และ เสร็จประทับบัลลังก์ ณ ศาล จ.ฉะเชิงเทราวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมร.พัน1 ร.อ.วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันเป็นสถานศึกษาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมอู่ทหารเรือ และทรงขับเรือยามฝั่งวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสร็จประพาสสำเพ็งวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ณ สถานีเกษตรกลางบางเขน และได้ทรงหว่านเมล็ดธัญญาหารลงในแปลงงานสาธิตด้วย (เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสร็จสวรรคต)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.7)
"เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2468 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็น ประโยชน์ต่อ ประเทศชาตินานับประการ อาทิ โปรดเกล้าฯ อุปถัมภ์บำรุงกิจการหอสมุดจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร และสร้างสะพานปฐมบรม ราชานุสรณ์พระนคร (สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ) เพื่อเชื่อมฝั่งพระนคร และธนบุร ี และทรงส่งเสริมการศึกษาของ ชาติหลายประการ คือ ให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีเร่งรัดการประกาศ พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญา บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทรงครองราชย์: พระราชทานรัฐธรรมนูญ: "เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 คณะบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยพระราชดำริที่ทรงต้องการ เปลี่ยนแปลง การปกครองไปสู่ระบอบประชาธิอปไตยอยู่แล้วกอปรกับไม่ต้องการ ให้คนไทย ประหัตประหาร กันเองจึงทรงยอมรับเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญพระองค์แรก และพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวร ฉบับแรกของไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ทรงสละราชสมบัติและเสด็จสวรรคต: "เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ หลังจากทรงครองราชย์เป็นเวลา 9 ปี 3 เดือน 4 วัน ขณะประทับอยู่ที่บ้าน โนลแครนลี ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องด้วยความคิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองบางประการ หลังจากนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484 ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นการส่วนพระองค์อย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีการใด ๆ ที่สุสานโกลเดอร์ส กรีน (Golders Green)พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: "พิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ภายในบริเวณ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร โดยดำริของท่านอดีตประธานรัฐสภา (พลอากาาศเอกหะริน หงสกุล) เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 พร้อมกับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็น พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาขนทั่วไเข้าชมเป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2523
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสนธิสัญญาใหม่ๆ กับประเทศเยอรมนี และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่า “สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ.๒๔๖๙” ทรงวางรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์สมบัตินั้น เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศไทยได้รับความกระทบกระเทือนจากสิ่งนั้นด้วย แต่ไม่ว่าจะประสบปัญหาวิกฤตอย่างไร พระองค์ก็ทรงใช้วิจารณญาณแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ด้วยพระปรีชาสามารถอันดีตลอดมาทรงมีพระราชประสงค์ที่แน่วแน่ที่จะทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนในรัชกาลของพระองค์ มีการจัดตั้งสภากรรมการขององคมนตรี อันประกอบด้วยกรรมการ ๔๐ คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓ ปี ทำหน้าที่ในการประชุมพิจารณากฎหมายและปัญหาอื่นๆ ตามแต่จะทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ให้สภากรรมการองคมนตรีเป็นสภาทดลองและฝึกหัดเพื่อปลูกฝั่งวิธีการของระบบรัฐสภาต่อไปส่วนราษฎรระดับท้องถิ่นนั้นพระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจการสุขาภิบาล ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงกิจการให้เป็นรูปแบบการบริหารงานส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาล โดยทรงแต่งตั้งกรรมการจัดการประชาภิบาลคอยสำรวจดูงานสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร แต่พระราชบัญญัติเทศบาลที่ร่างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ มีขั้นตอนการผ่านพิจารณาจากเสนาบดีสภา สภากรรมการองคมนตรี จึงยังมิได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติเทศบาลดังกล่าวด้านประเพณีและวัฒนธรรมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างค่านิยมให้มีภรรยาเพียงคนเดียวซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมไทยแต่โบราณ ที่ชายไทยมักนิยมมีภรรยาหลายคนโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการฝังค่านิยมใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง โดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียวโดยไม่มีสนมนางใดๆทั้งสิ้นการทำนุบำรุงบ้านเมืองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างสะพายปฐมบรมราชานุสรณ์ขึ้น ด้วยทรงระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ซึ่งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมา สะพานนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี พร้อมกับทรงชักชวนประชาชนชาวไทยร่วมกันสร้างพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่บริเวณเชิงสะพานแห่งนี้ด้วย โดยพระองค์เสด็จไปพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 และทรงโปรดให้มีมหรสพสมโภชเป็นการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครที่มีอายุครบ 150 ปีด้วย และพระราชทานสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์”เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชฐานเพื่อเสด็จประทับ ด้วยทรงโปรดการประพาสชายทะเลเป็นอย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อสร้างเสร็จ ทรงพระราชทานว่า “สวนไกลกังวล” พระราชฐานแห่งนี้ประกอบไปด้วยพระตำหนักต่างๆมากมาย เช่น พระตำหนักต่างๆ มากมาย เช่น พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักน้อย พระตำหนักปลุกเกษม พระตำหนักเอมปรีดี และศาลาเริง เป็นต้นด้านดนตรีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยเดิมไว้ 3 เพลง1. เพลงราตรีประดับดาว (เถา)2. เพลงเขมรละออองค์ (เถา)3. เพลงคลื่นกระทบฝั่ง๓ชั้นด้านการปกครองพระองค์ทรงโปรดเกล้าไห้ท่านผู้รู้ทำการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ ครั้งตอนพระองค์เสร็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล “คณะราษฎ์” ได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง โดยเข้าควบคุมพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ และข้าราชการตำแหน่งสำคัญๆไว้เป็นตัวประกัน แล้วมีหนังสือไปกราบทูลเชิญเสร็จนิวัติกลับพระนคร เป็นมหากษัตริย์ภายใต้ธรรมนูญการปกครองที่คณะราษฎ์ได้ทำขึ้น พระองค์ทรงละพระบรมราชานุภาพยอมรับการเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และหลังจากที่เกิดกบฏวรเดช พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติด้านประเพณีและวัฒนธรรมพระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มไนการให้ชายไทยมีภรรยาเพียงคนเดียว พ.ศ. ๒๔๗๓ ทรงริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส หย่า และ รับรองบุตร

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระนาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเต็ม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามย่อ - พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษย์บรมนราธิราช จุฬาลงกรณ นาถราชวโรรส มหาสมมติขัตติยพิสุทธิ์ บรมมกุฎสุริยสันตติวงศ์ อดิศัยพงศ์วโรภโตสุชาติคุณสังกาศวิมลรัตน กฤฆชนมสวัสดิ ขัตติยราชกุมาร พระราชสมภพ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันเสาร์ ๒๓ ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช ๒๔๕๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น - พระองค์ สวรรคต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ รวมพระชนมพรรษา ๔๖ พรรษา วัดประจำรัชกาล ไม่มี ทรงมีพระบรมราชโองการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล เหตุการณ์สำคัญ ทรงเสด็จไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ขณะนั้นพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา เป็นระยะเวลา ๙ ปี พ.ศ.๒๔๕๓ ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย) ยกฐานะโรงเรียนมหาดเล็ก เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ตั้งกองเสือป่า พ.ศ.๒๔๕๔ ตั้งกองลูกเสือ มีการปฏิวัติ ร.ศ.๑๓๐ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองและต้องการลอบปลงพระชนม์ ตรงกับ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ พ.ศ.๒๔๕๕ จัดระเบียบข้าราชการกระทรวงยุติธรรมใหม่ แยกฝ่ายธุรการและฝ่ายตุลาการออกจากกัน ตั้งสถานเสาวภา ตั้งวชิรพยาบาล จัดให้มีงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งแรก พ.ศ.๒๔๕๖ ตราพระราชบัญญัติ คลังออมสิน จัดตั้งกรมสหกรณ์ เปิดกิจการวิทยุโทรเลข เปิดการไฟฟ้าหลวง ประกาศใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชในราชการ ตราพระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ.๒๔๕๗ ตั้งกองบินขึ้นในกองทัพบก เริ่มสร้างสนามบินดอนเมือง เปิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งโรงเรียนพยาบาลของสภากาชาดไทย ตั้งเนติบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๕๙ เลิกหวย ก.ข. ทดลองจัดตั้งสหกรณ์เป็นแห่งแรก ตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๖๐ ประกาศสงครามกับเยอรมัน ออสเตรีย ฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ อยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร เปลี่ยนธงชาติ จากธงช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ ตั้งกรมมหาวิทยาลัย เลิกการพนันบ่อนเบี้ย เปิดสถานีหัวลำโพง เปลี่ยนแปลงการนับเวลาให้สอดคล้องกับสากล แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร กำหนดคำนำหน้านามสตรี พ.ศ.๒๔๖๑ ตั้งดุสิตธานี ทดลองการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ตราธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนคราภิบาล ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ ฉบับแรก ตั้งกรมสาธารณสุข ส่งทหารไปร่วมรบในยุโรป รถไฟหลวงสายใต้ เปิดเดินได้ถึงปาดังเบซาร์ พ.ศ.๒๔๖๒ วางระเบียบการเรียกเก็บเงินรัชชูปการ พ.ศ.๒๔๖๓ แก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับสหรัฐอเมริกาสำเร็จเป็นประเทศแรก เปิดการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ทางอากาศระหว่าง กรุงเทพ-นครราชสีมา สตรีในพระราชสำนัก เริ่มนุ่งซิ่น ไว้ผมยาว พ.ศ.๒๔๖๔ ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา ฉบับแรก กำหนดคำนำหน้านาม เด็ก เป็นเด็กชาย เด็กหญิง รถไฟหลวงสายเหนือ เปิดเดินได้ถึงเชียงใหม่ สภากาชาดไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกสันนิบาตสภากาชาด พ.ศ.๒๔๖๕ ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ชั่วคราว เปิดสถานเสาวภา เริ่มสร้างสะพานพระรามหก พ.ศ.๒๔๖๖ ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง พาณิชย์ ครั้งแรก ตั้งสถานีอนามัย เปิดสายการบิน นครราชสีมา-ร้อยเอ็ด-อุดร-หนองคาย แก้ไขสนธิสัญญาใหม่กับญี่ปุ่นสำเร็จเป็นประเทศที่ ๒ พ.ศ.๒๔๖๗ ส่งคณะฑูตพิเศษไปเจรจาแก้ไขสนธิสัญญากับนานาชาติ ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันติวงศ์ พ.ศ.๒๔๖๘ เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๘

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระนาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเต็ม สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ วรุตมพงษบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรม มหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนามย่อ - พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร พระราชสมภพ วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ เป็นพระราชบุตรองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับ พุทธศักราช ๒๔๑๑ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค์ สวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา วัดประจำรัชกาล วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เหตุการณ์สำคัญ เสียดินแดนให้ฝรั่งเศส ครั้งที่ ๑ เสียเขตแดนเขมรส่วนนอก เนื้อที่ประมาณ ๑๒๓,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก ๖ เกาะ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ ครั้งที่ ๒ เสียอาณาจักรล้านช้าง (หรือหัวเมืองลาว) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ ๓๒๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน ๓ นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานฑูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ ๒ ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย ๓ ข้อ ให้ตอบใน ๔๘ ชั่วโมง เนื้อหา คือ ๑.ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ ๒.ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย๓.ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ ๒๕ กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ ๒ ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม ไทยเสียเนื้อที่เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ คือประมาณ ๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด ไว้ต่ออีก นานถึง ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๔๗) ปีพ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึงประจันต์คีรีเขต (เกาะกษ) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปีพ.ศ. ๒๔๔๗ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ ๖๖,๔๕๕ ตารางกิโลเมตร และไทยเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขตเมืองหลวงพระบาง ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐ พ.ศ.๒๔๑๒ เริ่มสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พ.ศ.๒๔๑๔ เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาเป็นครั้งแรก ต้นปี ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย เสด็จประพาส อินเดีย ปลายปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ต่อปีพ.ศ. ๒๔๑๕ (ปีวอก) พ.ศ.๒๔๑๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เริ่มปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่ เริ่มใช้เสื้อราชประแตน พ.ศ.๒๔๑๖ ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ทรงผนวช โปรดเกล้าฯ ให้เลิกประเพณีหมอบคลาน เวลาเข้าเฝ้า โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ พ.ศ.๒๔๑๗ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือ รัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๑๗ ปีจอ ออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาส ลูกไท กำเนิดโรงเรียนสตรีวังหลัง ใช้เงินอัฐกระดาษ แทนเหรียญทองแดง ตั้งพิพิธภัณฑสถาน พ.ศ.๒๔๑๘ สงครามปราบฮ่อ ครั้งแรก เริ่มการโทรเลขครั้งแรกระหว่างกรุงเทพ-สมุทรปราการ พ.ศ.๒๔๒๔ สมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี พ.ศ.๒๔๒๖ ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มเปิดบริการไปรษณีย์ครั้งแรกในพระนคร ตั้งกรมโทรเลข สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๒๗ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วๆ ไป ตามวัดต่างๆ เริ่มแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม พ.ศ.๒๔๒๙ โปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงประกาศตั้งตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารขึ้น และทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมารเป็นพระองค์แรก สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๓ ไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสหภาพไปรษณีย์สากล พ.ศ.๒๔๓๐ ตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร (กระทรวงกลาโหม) ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตั้งกระทรวงธรรมการ สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๔ พ.ศ.๒๔๓๑ ทรงเริ่มการทดลองจัดการปกครองส่วนกลางแผนใหม่ เริ่มดำเนินการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชในราชการ ตั้งกรมพยาบาล เปิดโรงพยาบาลศิริราช ตราพระราชบัญญัติ เลิกวิธีพิจารณาโทษตามแบบจารีตนครบาล เสียดินแดน แคว้นสิบสองจุไทยให้ฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๓๒ เริ่มใช้วันทางสุริยคติในราชการ พ.ศ.๒๔๓๔ ตั้งกระทรวงยุติธรรม ตั้งกรมรถไฟ และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา พ.ศ.๒๔๓๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๕ ตั้งศาลโปริสภา ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรป รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๓๖ ให้เอกชนเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ ฉลองพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ครั้งแรก ตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๓๗ ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร เริ่มจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ตั้งโรงไฟฟ้า เริ่มกิจการรถราง พ.ศ.๒๔๓๙ โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงพิเศษไปจัดการศาลตามหัวเมือง จัดทำงบประมาณแผ่นดินครั้งแรก ตั้งโรงเรียนฝึกหัดวิชาแพทย์ และผดุงครรภ์ พ.ศ.๒๔๔๐ เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ปีระกา ตราข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย เริ่มการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนในยุโรป ปีละ ๒ ทุน พ.ศ.๒๔๔๑ ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นกรมเดียวกัน กำเนิดเหรียญ "สตางค์" รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๔๒ เริ่มจัดตั้งกองทหารตามหัวเมือง เริ่มสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย ทำสนธิสัญญากำหนดสิทธิจดทะเบียนคนในบังคับอังกฤษ พ.ศ.๒๔๔๔ ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา หล่อพระพุทธชินราชจำลอง บริษัทสยามไฟฟ้า ได้รับสัมปทานจำหน่ายไฟฟ้า เริ่มจุดโคมไฟตามถนนหลวง พ.ศ.๒๔๔๕ ตั้งกรมธนบัตร เริ่มใช้ธนบัตรครั้งแรก ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ.๑๒๑ ตั้งสามัคยาจารย์สมาคม ตั้งโอสถศาลา เปิดการเดินรถไฟหลวงสายใต้ ระหว่างกรุงเทพ-เพชรบุรี พ.ศ.๒๔๔๗ เสด็จประพาสต้นครั้งแรก ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๔๘ ตราพระราชบัญญัติทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ ประกาศให้ลูกทาสเป็นไททั้งหมด ด้วยพระราชบัญญัติลักษณะทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ให้เป็นวันที่ทาสหมดสิ้นจากราชอาณาจักรไทย ตั้งหอสมุดสำหรับพระนคร ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ฉบับแรก ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับเดนมาร์ก และอิตาลี ทดลองจัดสุขาภิบาลที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ.๒๔๔๙ เสด็จประพาสต้นครั้งหลัง เปิดโรงเรียนนายเรือ เสียมณฑลบูรพา (เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ) ให้ฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๕๐ เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ปีมะแม เสียดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวครั้งแรก เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา พ.ศ.๒๔๕๑ จัดการสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วไป ประกาใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เลิกใช้เงินพดด้วง ตราพระราชบัญญัติทองคำ ร.ศ.๑๒๗ ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแบบสากล สร้างพระบรมรูปทรงม้า เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ๔๐ ปี วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก จ้างช่างที่กรุงปรารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ทำ หล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์นำมา ติดกับทองบรอนซ์เหมือนกันหนาประมาณ ๒๕ เซ็นติเมตร เป็นที่ม้ายืน โดยส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อน อันเป็นแท่นรอง สูงประมาณ ๖ เมตร กว้าง ๒ เมตรครึ่ง ยาว ๕ เมตร พ.ศ.๒๔๕๒ เลิกใช้เงินเฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ โสฬส เริ่มกิจการประปา เสียดินแดน ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปลิส ให้อังกฤษ พ.ศ.๒๔๕๓ มีการแสดงกสิกรรมและพาณิชยกรรม ครั้งแรก เสด็จสวรรคต เมื่อ ๒๔ ตุลาคม

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระราชประวัติ(ร.4)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิม "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และเป็นพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ในเวลานั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหลานเธอมาตั้งแต่ประสูติจนสิ้นรัชกาลที่ 1 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้น ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชโอรส คนทั้งหลายเรียกกันว่า ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ ทูลกระหม่อมใหญ่ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่หรือเจ้าฟ้าใหญ่ เรียกกันอย่างนี้สืบมาจนเสวยราชย์ สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2355 ตรงกับปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1174 พระชนมายุได้ 9 พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ซึ่งทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" พ.ศ. 2359 พระชนมายุได้ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เต็ม ตามพระอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอ ชั้นเจ้าฟ้า คือ ตั้งเขาไกรลาสและที่สรงสนาน พ.ศ. 2360 ตรงกับปีฉลู ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์พ.ศ. 2367 ตรงกับปีวอก ฉศก จุลศักราช 1186 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระฉายาว่า "วชิรญาณมหาเถระ" พอทรงผนวชได้ 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตและไม่ได้ดำรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชทานแก่เจ้านายพระองค์ใดให้เป็นรัชทายาท พระราชวงศ์กับเสนาบดี จึงต้องประชุมปรึกษากันตามธรรมเนียมโบราณว่า ควรเชิญเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเสวยราชย์ ครอบครองบ้านเมือง ในเวลานั้นว่าตามนิตินัยสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมควรได้รับราชสมบัติเพราะเป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่ประสูติจากพระอัครมเหสี โดยทั่วไปถือกันว่าทรงเป็นรัชทายาท จากกฎมณเฑียรบาลที่ได้เคยตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ปี 2001 จำแนกลำดับชั้นของเจ้านายเป็น 5 ชั้น โดยกำหนดให้พระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินที่ประสูติจาก "อัครมเหสี" มีฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" และจัดว่าเป็นอันดับสูงสุดในพระบรมวงศานุวงศ์ มีฐานะเป็นตำแหน่งรัชทายาท แม้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฏทรงเป็นรัชทายาทที่ถูกต้องตามหลักของกฏมณเฑียรบาลที่ตราไว้ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา แต่การสืบราชสันตติวงศ์นี้ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้แน่นอน เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการชั้นสูง จะเลือกพระราชาองค์ใหม่ โดยทั่วไปจะเลือกสมเด็จพระราชโอรสองค์แรกที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำดังนี้เสมอไป การสืบราชสมบัติของไทยนี้ ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอนถึงคุณสมบัติของผู้เป็นรัชทายาท ในลายพระหัตถ์ฉบับหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า"รัชทายาทนั้นเมืองไทยดูเป็นเข้าใจน้อยเต็มที แม้เป็นในกฎมณเฑียรบาลก็มิได้กล่าวแย้มพรายไว้ที่ไหนเลย คงมีแต่หลักนิยมอยู่แน่นอนแต่เพียงว่า ผู้สืบราชสมบัติจะต้องเป็นเจ้าเท่านั้นจึงเกิดการชิงราชสมบัติขึ้นเนือง ๆ ใครมีอำนาจวาสนาอยู่ในเวลานั้นก็ได้ราชสมบัติ ตกเป็นว่าใครดีก็ได้กัน การที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระมหาอุปราชนั้น เพื่อทรงอุดหนุนให้มีกำลังได้สืบราชสมบัติก็มี ตั้งโดยเหตุอื่นบังคับก็มีบ้าง เพราะฉะนั้นจะถือว่ามหาอุปราชเป็นรัชทายาทนั้นไม่ถนัด"ตามข้อความข้างบนนี้ เจ้านายทุกพระองค์ก็มีสิทธิที่จะได้เป็นกษัตริย์ทั้งสิ้น ถ้าหากทรงมีคุณสมบัติและความสามารถ และที่สำคัญคือมีกำลังเหนือกว่าเจ้านายองค์อื่นๆ ในเวลานั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ พระโอรสองค์หัวปีของรัชกาลที่ 2 ที่ถือประสูติจากเจ้าจอมมารดาเรียม เจริญพระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง 17 ปี ทรงเปี่ยมด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความรู้ ประสบการณ์และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงบังคับบัญชาราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ 2 และทรงสนิทสนมกับพระบรมวงศานุวงศ์และกลุ่มขุนนาง อำนาจและบารมีส่วนพระองค์ที่มีอยู่ในราชสำนัก ทำให้ผู้คนยำเกรงนับถือเป็นอันมาก ที่ประชุมราชวงศ์และเสนาบดี เห็นว่าควรถวายราชสมบัติแด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ว่าทรงปรารถนาราชสมบัติหรือจะทรงผนวชต่อไปสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯทรงทราบดีว่าพระองค์มีสิทธิในราชสมบัติ แต่ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง ตรัสปรึกษาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ซึ่งเป็นพระเจ้าน้าพระองค์น้อย ทูลแนะนำว่าควรจะคิดเอาราชสมบัติตามที่มีสิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย ไปทูลปรึกษากรมหมื่นนุชิตชิโนรส พระปิตุลาและกรมหมื่นเดชอดิศร พระเชษฐาที่ทรงนับถือมาก ทั้งสองตรัสว่าไม่ใช่เวลาควรจะปรารถนา อย่าหวงราชสมบัติดีกว่า และพระองค์มิได้อยู่ในสภาวะที่สามารถเสด็จขึ้นครองราชย์เพราะไม่มีกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางที่จะสนับสนุนพระองค์อย่างเพียงพอ จึงตรัสตอบว่ามีพระประสงค์จะทรงผนวชต่อไป ทำให้สิ้นความลำบากในการที่จะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การตัดสินพระทัยที่จะทรงผนวชต่อไป เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการตัดสินใจครั้งนี้คือ การตัดสินใจทางการเมืองในการเลือกที่จะผนวชเพื่อหลบ " ราชภัย" เมื่อจะต้องทรงเพศเป็นสมณะต่อไปไม่มีกำหนด ทรงพระราชดำริว่าฐานะของพระองค์ไม่ควรจะเกี่ยวข้อง กับการเมือง จึงทรงตั้งพระหฤทัยจำนงเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ ในระยะแรกทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัด ราชาธิวาส) ต่อมาเสด็จไปประทับที่วัดมหาธาตุ ทรงศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) เพื่อเรียนทางด้านคันถธุระทรงรอบรู้ในภาษามคธ สามารถอ่านพระไตรปิฎกโดยลำพังพระองค์เอง จนทราบเนื้อความ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงเห็นว่าพระสงฆ์ไทยประพฤติผิดไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เมื่อได้ทรงทราบข่าวว่ามีพระเถรมอญรูปหนึ่ง ชื่อ ซาย มาอยู่ที่วัดบวรมงคลได้เป็นพระสุเมธมุนี ชำนาญพระวินัยปิฎก พระองค์จึงเสด็จไปศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย พ.ศ. 2372 พระองค์เสด็จไปประทับที่วัดราชาธิวาส ทรงตรวจสอบพระวินัยที่มีอยู่กับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท ต่อมาทรงตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย แก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยให้สมบูรณ์ ทั้งพระธรรมและพระวินัย ทรงพระนิพนธ์แบบทำวัตรเช้าเย็นเป็นภาษาบาลีและวางระเบียบทำวัตร ทรงแสดงพระธรรมเทศนามุ่งผลให้คนทั้งหลายรู้หลักของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามได้จริง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปพระพุทธศาสนา หลังจากที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณ ในการแสดงพระธรรมเป็นที่เลื่องลือแพร่หลาย มีพระภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์ บรรดาคฤหัสถ์เลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้น การสอนตามแบบธรรมยุติที่เน้นความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้กระแสสังคมที่ชาชินต่อความประพฤต ิที่หย่อนยานขอพระสงฆ์ในขณะนั้น ได้หันมาสนใจและเลื่อมใสในแนวทางปฏิบัต ิของพระสงฆ์นิกายธรรมยุติขึ้นมาก ทำให้พระองค์เป็นที่รู้จักและจดจำสำหรับเหล่าขุนนางและประชาชนได้อย่างไม่ลืมเลือน ซึ่งเรื่องนี้แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงมีพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงกุศโลบายทางการเมืองในครั้งนั้นของพระบรมราชชนกของพระองค์ว่า "…ทูลกระหม่อมทรงตั้งพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายเป็นการต่อสู้อย่างยิ่งมิใช่เล่น ..." อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงได้รับการเพ็ดทูลจากพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิดเสมอว่า การกระทำของวชิรญาณภิกขุอาจเข้าข่ายการซ่องสุมผู้คนและเป็นภัย พระองค์ทรงพระราชดำริเห็นชอบ ตามคำปรึกษาของพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา(ทัต บุนนาค) โดยโปรดให้ทูลเชิญวชิรญาณภิกขุ เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ เพื่อระงับความสงสัยต่างๆ ให้หมดไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ณ วัดราชาธิวาส ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2379 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษา และทรงผนวชได้ 12 พรรษา พระองค์ทรงจัดระเบียบการคณะสงฆ์ การปกครองวัด การอบรมฆราวาสที่เข้าวัด ระเบียบสำคัญทั้งหลายดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติกันสืบมาถึงปัจจุบัน ทรงปรับปรุงการศึกษา พระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง ปรากฏว่าพระสงฆ์ที่วัดบวรนิเวศวิหารสอบได้เปรียญประโยคสูง ๆ เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ มีตำแหน่งในคณะมหาเถระ ผู้สอบปริยัติธรรมในสนามหลวง ต่อมาได้ทรงมอบการสอบพระปริยัติธรรม เป็นสิทธิ์ขาดแก่พระองค์ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในทางวัตรปฏิบัติ และความรู้ของพระสงฆ์คณะธรรมยุต ไม่โปรดอยู่อย่างเดียว คือการห่มผ้าแหวกอย่างพระมอญ จนใกล้จะสวรรคตจึงได้มีรับสั่งในเรื่องนี้ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงยอมแก้ไขตามพระราชประสงค์ จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนทางด้านศาสนาของสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เป็นอย่างดี และมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ใฝ่พระหฤทัยศึกษาพระศาสนานั้นเป็นความดี อันสมควรจะทรงอุดหนุน จะได้เป็นกำลังช่วยทำนุบำรุงทางฝ่ายพุทธจักร และเป็นเกียรติแก่พระราชวงศ์ และสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็ทรงกล่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...ได้กระทำแล้วซึ่งความสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายแม้ทั้งปวงโดยชอบเทียว เปนผู้เปนไปกับด้วยความเคารพ กระทำราชกิจทั้งหลายให้เปนไปทั่วแล้วโดยชอบเทียว เปนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณทั้งหลาย มีพระศรัทธาและพระญาณ เปนต้น เปนผู้เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนาให้กระทำแล้วซึ่งวิหารทั้งหลายเปนอันมาก ประณีตดีแล้ว เปนที่รื่นรมย์ใจเปนผู้มีพระคุณอันบุคคลพึงสรรเสริญ ด้วยพระคุณตามเหตุที่ได้เปนแล้ว" ระหว่างที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวช เป็นเวลาที่มหาอำนาจตะวันตกเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงตระหนักถึงความจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการนำทางไปสู่การศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆ ต่อไป ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกโดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทรงติดต่อกับชาวต่างประเทศเพื่อจะได้ทรงทราบเรื่องราวของต่างประเทศมากขึ้น ทรงศึกษาหนังสือข่าวที่ฝรั่งพิมพ์ในเมืองจีน และสิงคโปร์ ปีนังทรงให้เหตุผลในการศึกษาภาษาฝรั่ง ดังอ้างถึงในแนวพระราชดำริเก้ารัชกาล ว่า "... แต่แผ่นดินต่อมา พวกฯ ข้าฯ ยังไม่ได้เปนใหญ่ในราชการแผ่นดิน แต่เห็นว่าท่านผู้ครองแผ่นดินครั้งนั้น คิดการเป็น โบราณ ๆ ป่า ๆ นัก พูดเจรจากันไม่เข้าใจ กลัวว่า ทำไป ๆ กลัวจะล้มคว่ำ ล้มหงายลง แลเห็นว่าอายุตัวยังหนุ่มอยู่ จะอยู่ไปได้นาน จึงคิดอ่านร่ำเรียนหนังสือและภาสาอังกฤษรู้มา แต่ก่อนยังไม่ได้ว่าราชการแผ่นดิน เพราะไว้ใจว่าภาสาที่รู้จะเป็นที่พึ่งคุ้มแต่ตัวเองได้อย่างหนึ่ง ไม่รู้ว่าอย่างไรต่ออย่างไร จะอยู่ที่นี่ฤาจะนำไปข้างไหน ภาสากว้างดีกว่าภาสาแคบ..."การศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางทางวิทยาการและความเป็นไปของโลกภายนอก ทำให้พระองค์ทรงมีความคิดเห็นก้าวหน้า และทรงเล็งเห็นความจำเป็นสองประการ คือ 1. วิทยาการความเจริญตามแบบประเทศตะวันตกเป็นสิ่งที่ควรสนใจ มีประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศในอนาคต ชาวไทยจะต้องศึกษาวิทยาการใหม่ ๆ เหล่านี้ 2. สถานการณ์ของประเทศใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับคนต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเปลี่ยนวิเทโศบายของประเทศ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประเทศและเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ผลดีจากการที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชนานถึง 27 ปี เมื่อทรงอยู่ในฐานะของพระสงฆ์ทรงได้รับประโยชน์ต่างจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งทรงใช้ชีวิตจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพระราชวัง พระองค์เสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ทรงเห็นสภาพบ้านเมือง รู้จักความเป็นอยู่ของชาวเมือง รับรู้ความทุกข์ ความสุขของราษฎร การเสด็จออกบิณฑบาต การแสดงพระธรรมเทศนาเยี่ยงพระสงฆ์ทั่วไป เปิดโอกาสให้พบปะกับราษฎรทุกชนชั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์อย่างดีสำหรับการปกครองประเทศในเวลาต่อมา ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาล พระบรมราชโองการสุดท้ายของพระองค์เกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติความว่า ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาล พระบรมราชโองการสุดท้ายของพระองค์เกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติความว่า" ทรงพระราชดำรัส ยอมอนุญาตให้เจ้าพระยาพระคลังซึ่งว่าที่สมุหกลาโหม พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา พระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายกกับขุนนางผู้น้อยทั้งปวง จงมีความสโมสรสามัคคีปรึกษาพร้อมกัน เมื่อเห็นว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิ ปรีชารอบรู้ราชานุวัตร เป็นศาสนูปถัมภกยกพระบวรพุทธศาสนาและปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดีประนีประนอมพร้อมใจกันยกพระบรมวงศ์องค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ถวัลยราช สืบสันตติวงศ์ ดำรงประเพณีต่อไปเถิด " เสนาบดีไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ กราบทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงศึกษาโหราศาสตร์ ทรงเชื่อตำราพยากรณ์ ตรัสว่า ถ้าจะถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ขอให้ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย เพราะสมเด็จพระอนุชาดวงชะตาดีวิเศษถึงฐานะที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ความที่กล่าวมานี้เป็นมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระมหาอุปราชให้ทรงศักดิ์พิเศษเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว " การเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น นอกจากที่พระองค์ทรงมีสิทธิธรรมของการเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ดำรงพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า และทรงเจริญวัยวุฒิ ถึง 47 พรรษา ยังมีเหตุผลอื่นประกอบอีกที่ทำให้ทรงได้รับการยินยอม และการสนับสนุนจากเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ ตลอดระยะเวลาที่ทรงผนวช ทรงสร้างสมบารมีในฐานะผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแตกฉาน และเคร่งครัด ในวัตรปฏิบัติ ทรงมีคุณธรรมของความเป็น "ธรรมราชา" ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเป็นผู้ปกครองที่ดี ทรงมีพระเกียรติคุณแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชน ทั้งปวง ทรงสนพระทัยศึกษาสถานการณ์ทางการเมืองของโลกภายนอกตลอดเวลา ทรงรอบรู้ในภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตกไม่น้อยกว่าเจ้านาย และขุนนางที่จัดว่าเป็น "กลุ่มก้าวหน้า" ทรงคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก ทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาคนไทยที่มีความคิดเห็นก้าวหน้าทันสมัย ในด้านพระราชอัธยาศัย ของสมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงนิยมวิธีการประนีประนอมในการแก้ปัญหา มีน้ำพระทัยเมตตา ทรงรักความยุติธรรม มิได้ทรงมีจิตคิดพยาบาทมาดร้าย แม้แต่กับผู้ที่ตั้งตัวเป็นศัตรู ทรงหลีกเลี่ยงที่จะมีข้อขัดแย้งรุนแรงกับฝ่ายใด และทรงพร้อมที่จะเป็นมิตรกับชนทุกชั้นทุกชาติสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงสามารถผสมผสานลักษณะที่ขัดแย้งกันของผู้ปกครองที่ยึดมั่นในคุณธรรมดั้งเดิมตามแบบประเพณีตะวันออก และผู้ที่นิยมความคิดก้าวหน้าแบบตะวันตกได้อย่างกลมกลืน จนเป็นที่ยอมรับว่าพระองค์ทรงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศในระยะนั้น คงจะเป็นด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จึงอัญเชิญให้ พระองค์ลาผนวชขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ครั้นถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งประกอบด้วย เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก (ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล 2534 : 128) จึงเชิญเสด็จสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ จากวัดบวรนิเวศวิหาร แห่เสด็จโดยกระบวนเรือมาขึ้นที่ท่าตำหนักแพ (ซึ่งขนานนามใหม่ในรัชกาลที่ 4 ว่า ท่าราชวรดิษฐ์) รับเสด็จทรงพระราชยานแห่เข้าพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระมหามณเฑียร ถวายน้ำสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเชษฐาธิราช จากนั้นเสด็จประทับที่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายและเสนาบดีเข้าเฝ้ากราบทูลเชิญเสด็จผ่านพิภพ จึงทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2394 เวลา 1 นาฬิกา นับเวลาทรงผนวชอยู่ 27 พรรษา เมื่อพระองค์ทรงลาผนวชแล้วได้ประทับว่าราชการอยู่ ณ พลับพลา ระหว่างโรงแสงดั่นจนถึงฤกษ์ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งประกอบขึ้นในวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ณ พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย แล้วเสด็จออกเลียบพระนครทางสถลมารคและชลมารค เมื่อวันที่ 20 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 มีพระนามจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัฏว่า " พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อุกฤษฐวิบูล บูรพาดูลกฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษฏิ์ ธัญญลักษณะวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุ มาลยมหาบุรุษรัตน์ ศึกษาพิพัฒสรรพโกศล สุวิสุทธวิมลศุภศีลสมาจาร เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณวิบูลสันดาน ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศลวิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณคุณสารสยามาธิโลกดิลก มหาบริวารนายก อนันตมหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร มหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณะมหาบรมราชา ภิเษกาภิสิตสรรพทศทิศวิชัตชัย สกล มไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหาราชาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวสัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปไมยบุญญการ สกลไพศาลมหารัษฎา ธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิก มหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหิน ทรายุธยาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดเกล้าให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระอนุชา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2394 การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน ที่สอง"เป็นที่พึงพอใจและชื่นชมยินดีอย่างมากของพสกนิกรในแผ่นดิน และชาวต่างประเทศซึ่งได้ส่งข่าวไปยังสิงค์โปร์ว่าการเปลี่ยนรัชกาล ในวันที่ 2 เมษายน เป็นไปด้วยความสงบ เจ้านาย ขุนนาง ประชาชนไทยพอใจในพระมหากษัตริย์ พระองค์ใหม่ หนังสือพิมพ์ "สแตรทส์ ไทม์" (Straits Times) ที่สิงค์โปร์ลงข่าว "... เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความหวังอันยิ่งใหญ่แก่ ประชาชนชาวสยามและเป็นที่น่าสนใจ แต่ประชาชาติภายนอก..." เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัครมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัครมเหสี 1. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี เป็นพระราชธิดาในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ มีพระนามเดิมหม่อมเจ้าหญิงโสมนัส ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม 6 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1196 ตรงกับ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2377 ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2394 นับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรก ทรงดำรงตำแหน่งได้เพียง 9 เดือน ก็สิ้นพระชนม์ 2. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ทรงเป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สอง มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำเพย ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1196 ตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมมตยาภิเษกเป็นพระราชเทวี ทรงพระนามว่า "พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์" และ "สมเด็จพระนางเจ้ารำเพย ภมราภิรมย์" โดยลำดับ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2395 ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงได้รับการสถาปนาพระนามเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ในปัจจุบันขานพระนามว่า "สมเด็จพระเทพ ศิรินทรา บรมราชินี"สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ นับเป็นพระราชินีที่มีพระชนมายุน้อยพระองค์หนึ่ง เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุเพียง 18 พรรษา ทรงมีพระราชโอรส พระราชธิดา ดังนี้ 1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ ณ วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ประสูติ ณ วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2398 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ 3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ ประสูติ ณ วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ 4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ประสูติ ณ วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการสถาปนาเป็นจอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังจากประสูติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชฯ เป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภิรมย์ทรงประชวร พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ได้กล่าวถึงสมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภิรมย์สิ้นพระชนม์ไว้ตอนหนึ่งว่า"ฝ่ายสมเด็จพระนางประชวรพระยอดเม็ดเล็ก ทรงพระกาสะเป็นโลหิตติดระคนเสมหะออกมา ทรงพระประชวรอยู่หลายเดือน ครั้นมาถึง ณ วันจันทร์เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ (วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2404) เวลาเช้า 5 โมงเศษสิ้นพระชนม์ สิริพระชนม์ได้ 28 พรรษา ได้เชิญพระศพเข้าสถิตในพระโกศทองคำ แล้วเชิญพระศพแห่ออกประตูพรหมไปประดิษฐานไว้ในหอธรรมสังเวช"ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในปัจจุบันขานพระนามว่า สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 1. เจ้าจอมมารดาน้อย เป็นพระธิดาของพระอินทรอภัย รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนจะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส 2. พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส 2. เจ้าจอมมารดาแพ เป็นพระธิดาพระสำราญหฤทัย และท้าวทรงกันดาน มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา 2. พระองค์เจ้าหญิงพักตร์พิมลพรรณ 3. พระองค์เจ้าชายเกษมสันต์โสภาคย์ 4. พระองค์เจ้าชายมนุษยนาคมานพ 5. พระองค์เจ้าหญิงบัญจบเบญจมา 3. เจ้าจอมมารดาพึ่ง (หรือผึ้ง) เป็นพระธิดาพระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายทักษิณาวัฏ 2. พระองค์เจ้าชายคัคณางคยุคล 3. พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภช 4. เจ้าจอมมารดาจันทร์ เป็นพระธิดาพระยาพิพิธสุนทรการ (สุข) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา นราธิราชบุตรี 2. พระองค์เจ้าหญิงมัณยาภาธร 3. พระองค์เจ้าชายสุขสวัสดิ์ 4. พระองค์เจ้าชายเกษมศรีศุภโยค 5. เจ้าจอมมารดาเที่ยง มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา 2. พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ 3. พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ 4. พระองค์เจ้าชายกมลาสเลอสรรค์ 5. พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา 6. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 พระชันษาได้ 8 วัน 7. พระองค์เจ้าชายไชยานุชิต 8. พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง 9. พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช 10. พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ 6. เจ้าจอมมารดาตลับ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ 4 พระชันษาได้ 8 วัน 2. พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ 3. พระองค์เจ้าชายกาพย์กนกรัตน์ 7. เจ้าจอมมารดาเอี่ยม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าศรีพัฒนา 8. เจ้าจอมมารดาเกศ (เกษ) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประภัศร 9. เจ้าจอมมารดาสำลี เป็นพระธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ(ทัด) และหม่อมคล้าย (ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชาย (แดง) 2. พระองค์เจ้าหญิง (เขียว) 3. พระองค์เจ้าหญิงบุษบงเบิกบาน 4. พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี 5. พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภา 10. เจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร 11. เจ้าจอมมารดาบัว เป็นธิดาเจ้าพระยานครน้อยคืนเมือง มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ 2. พระองค์เจ้าชายศรีสิทธิธงไชย 3. พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา 4. พระองค์เจ้าชายวัฒนานุวงศ์ 5. พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ 12. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมไปยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์และหม่อมกิ๋ม รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงหม่อมเจ้าพรรณรายเป็นเจ้าจอม (ได้รับการสถาปนาพระเกียรติยศ เป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระเจ้าลูกเธอ คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้ว 2. พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ 13. เจ้าจอมมารดามาลัย (มาไลย) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 2. พระองค์เจ้าหญิงเสมอสมัยหรรษา 14. เจ้าจอมมารดาสังวาล เป็นธิดานายศัลลิไชย (ทองคำ) และท่านน้อย ถวายตัวทำราชการได้รับพระราชทานเป็นเจ้าจอมมารดาชั้นสูง ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายทองกองก้อนใหญ่ 2. พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ 3. พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี 4. พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร 15. เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) เป็นธิดาท้าวสุจริต ธำรง (นาค) และหลวงอาสาสำแดง (แตง) ได้เป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศีรพัชรินทร์มาตา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายอุณากรรณอนันตนรไชย 2. พระองค์เจ้าชายเทวัญอุไทยวงศ์ 3. พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ 4. พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา 5. พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรี 6. พระองค์เจ้าชายสวัสดิโสภณ 16. เจ้าจอมมารดาเอม เป็นธิดาหลวงปรานีประชาชน (แมลงทับ) ยกรบัตรกรุงเก่าและท่านเอี่ยมได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงอนงค์นพคุณ 17. เจ้าจอมมารดาหรุ่น เป็นธิดาพระยาอภัยพิพิธ (กระต่าย) และคุณหญิงแจ่ม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงอรุณวดี 18. เจ้าจอมมารดาแก้ว มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงวาณีรัตนกัญญา 19. เจ้าจอมมารดาโหมด เป็นธิดาพระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล) ได้ถวายตัวเป็นพระสนมโท มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงมณฑานพรัตน์ 2. พระองค์เจ้าชายจันทรทัตจุฑาธาร 20. เจ้าจอมมารดาหุ่น (ท้าวทรงกันดาล) เป็นหลานเจ้าจอมเถ้าแก่ ได้เป็นท้าวทรงกันดานในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายสวัสดิประวัติ 21. เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นพระธิดาเจ้าคลี่ (พระโอรสพระเจ้าอนุสุทธราช) และเจ้านางท่อนแก้ว (พระธิดาพระมหาอุปราชติสสะ) ถวายตัวเป็นพระสนม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา 2. พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารี 22. เจ้าจอมมารดาเขียน เป็นธิดาท่านอันและท่านอิ่ม สิริวันต์ เป็นพระญาติของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร 23. เจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นธิดาพระยาอัพภันตริภามาตย์ (ดิศ) และท่านคล้าย ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาพระสนมเอก มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร 24. เจ้าจอมมารดาเพ็ง เป็นธิดาเจ้ากรมเกาเหลาจีน มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงนงคราญอุดมดี 25. เจ้าจอมมารดาเหม (ท้าวสมศักดิ) เป็นธิดาพระอัคนีสร (พิณ) และขรัวยายแย้ม ได้เป็นท้าวสุภัติการภัคดี และเป็นท้าวอินสรสุริยา ได้เป็นท้าวสมศักดิในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายศรีเสาวภางค์ 26. เจ้าจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์) เป็นธิดานายสมบุญ มหาดเล็กหลวงและนางถ้วย ถวายตัวรับราชการต่อมาภายหลังได้เป็นท้าววรจันทร์ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายโสณบัณฑิต 27. เจ้าจอมมารดาห่วง เป็นธิดาขุนเทพฯ และท่านเกษา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงบุษบันบัวผัน 2. พระองค์เจ้าชายไชยันตมงคล 3. พระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ 28. เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ เป็นธิดาหม่อมเจ้านิ่ม ปาลกวงศ์ และหม่อมฟัก มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประสานศรีใส 2. พระองค์เจ้าหญิงประไพศรีสอาด 29. เจ้าจอมมารดาสุ่น (ท้าววนิดาวิจารินี) เป็นธิดาพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น) ถวายตัวรับราชการต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้เป็นท้าววนิดาวิจารินี มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประพาฬรัศมี 30. เจ้าจอมมารดาหว้า เป็นธิดาปลัดโรงทานอิ่ม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาคย์พรรณ 31. เจ้าจอมมารดาเชย มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในวันที่ประสูติ 32. เจ้าจอมมารดาพุ่ม เป็นธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงพุทธประดิษฐา 33. เจ้าจอมมารดาอิ่ม(ท้าวศรีสัจจา)มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ 34. เจ้าจอมทับฑิม 35. เจ้าจอมเล็ก 36. เจ้าจอมอิ่ม 37. เจ้าจอมทับทิม 38. เจ้าจอมรุน 39. เจ้าจอมหนูสุด 40. เจ้าจอมวัน 41. เจ้าจอมหนูชี 42. เจ้าจอมพร้อม 43. เจ้าจอมบุนนาค
พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก ที่ 1 พระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส ประสูติในรัชกาลที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำปีมะเมีย ตรงกับ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2365 ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2396 ได้ทรงกำกับกรมล้อมพระราชวัง และเมื่อกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรสิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 พระชันษา 46 ปี เป็นต้นสกุลนพวงษ์ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาน้อย ที่ 2 พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส ประสูติในรัชกาลที่ 2 เมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ได้ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น13 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2405 พระชันษา 38 ปี เป็นต้นสกุลสุประดิษฐ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อย ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว ที่ 3 พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 15 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2394 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 พระชันษา 36 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 4 พระองค์เจ้าชายทักษิณาวัฏ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 9 ค่ำ ปีชวดตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2396 พระชันษาได้ปี 1 ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 5 สมเด็จเจ้าฟ้าชายโสมนัส ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 7 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีเป็นพระมารดา ที่ 6 พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา นราธิราชบุตรี ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 พระชันษา 55 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 7 พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2446 ในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงรักษากุญแจพระบรมมหาราชวังชั้นใน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ปีมะแม พ.ศ. 2474 พระชันษา 79 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 8 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 5 ค่ำพระชันษาได้ 8 วัน ที่ 1 ใน เจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 9 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร (พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2404 เลื่อนเป็นกรมขุนพินิจประชานาถ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2410 ได้ทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 ได้เสด็จประพาสประเทศอินเดียเมื่อปีวอก พ.ศ. 2415 ประพาสยุโรปเมื่อปีระกา พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่ง เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง เสด็จดำรงราชสมบัติอยู่ 42 ปี รัชกาลยั่งยืนยิ่งกว่าบรรดาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม อันปรากฏในพระราชพงศาวดารแต่ก่อนมาทุกพระองค์ เสด็จ สวรรคตเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชนพรรษา 58 พรรษา ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 10 พระองค์เจ้าหญิงศรีพัฒนา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 12 แรม 15 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2396 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีระกา พ.ศ. 2416 พระชันษา 21 ปี ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม ที่ 11 พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม 6 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 พระชันษา 3 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 12 พระองค์เจ้าหญิงประภัศร ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ปีขาล พ.ศ. 2469 พระชันษา 73 ปี ในเจ้าจอมมารดาเกศ ที่ 13 พระองค์เจ้าหญิงพักตร์พิมลพรรณ ประสูติเมื่อวันพุธเดือน 12 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 5 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 พระชันษา 52 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 14 พระองค์เจ้าหญิงมัณยาภาธร ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 3 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันจันทร์ เดือน 11 แรม 3 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2428 พระชันษา 32 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 15 พระองค์เจ้าชาย (แดง) ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันเสาร์เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 พระชันษา 3 เดือน ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาสำลี ซึ่งทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ใน รัชกาลที่ 5 ที่16 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 12 ค่ำ ปีกุน พ.ศ. 2406 พระชันษา 9 ปี รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2427 ที่ 2 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 17 พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 6 แรม 7 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2418 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อ ร.ศ. 118 ตรงกับปีกุน พ.ศ. 2442 ได้เป็นราชทูตประจำ ณ กรุงลอนดอนและอเมริกา เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล และกระทรวงโยธาธิการ ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ มหิศวรราชรวิวงศ์ สิทธิประสงค์กฤษดาธิการ สุทธสันดานสีตลหฤทัย มไหศวริยราชนิติธาดา สุปรีชาสรรพกิจโกศล วิมลสุจริตจริยานุวัตร พุทธาทิรัตนสรณารักษ์ อุดมศักดิ์บพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสมุหมนตรี เสนาบดีกระทรวง มุรธาธร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 71 ปี เป็นต้นสกุลกฤดากร ในเจ้าจอมมารดากลิ่น ที่ 18 พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 8 บูรพาสาฒ ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 พระชันษา 2 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 19 พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้นค่ำ 1 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ปีฉลู พ.ศ. 2456 พระชันษา 59 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 20 พระองค์เจ้าชายคัคณางคยุคล ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิชิตปรีชากร เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 ได้เป็นอธิบดีศาลรับสั่งชำระความฎีกา แล้วเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลอีสานและเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปีระกา พ.ศ. 2452 พระชันษา 55 ปี เป็นต้นสกุลคัคณางค์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 21 พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้ว ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2425 พระชันษา 28 ปี ทรงสถาปนาเป็นกรมขุนขัตติยกัลยา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 และทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าเมื่อปีกุน พ.ศ. 2430 ที่ 1 ในหม่อมเจ้าพรรณราย ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ 5 ที่ 22 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 15 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 ประสูติเพียงวันเดียวสิ้นพระชนม์ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดามาไลย ที่ 23 พระองค์เจ้าชายสุขสวัสดิ์ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ค่ำ ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เป็นนายพลตรีราชองครักษ์ตำแหน่งปลัดทัพบก ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นนายพลโทราชองครักษ์ ผู้บัญชาการกองพล แล้วเลื่อนเป็นจเรพาหนะทหารบก สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 6 เมื่อวันที่ 16 เมษายน ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 71 ปี เป็นต้นสกุลสุขสวัสดิ์ ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 24 พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีระกา พ.ศ. 2440 พระชันษา 42 ปี เป็นต้นสกุลทวีวงศ์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 25 พระองค์เจ้าชายทองกองก้อนใหญ่ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 5 ขึ้นค่ำ 1 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เป็นนายพลตรี บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวัง ได้เป็นแม่ทัพปราบฮ่อทางแดนมณฑลอุดร และเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอุดร เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง กระทรวงกลาโหม เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2442 เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2467 พระชันษา 69 ปี เป็นต้นสกุลทองใหญ่ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 26 พระองค์เจ้าชายเกษมสันต์โสภาคย์ ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นกรรมการศาลฎีกา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 4 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2467 พระชันษา 69 ปี เป็นต้นสกุลเกษมสันต์ ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 27 พระองค์เจ้าชายกมลาสเลอสรรค์ ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 12 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 ได้ทรงกำกับช่างทองหลวง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ปีมะแม พ.ศ. 2474 เป็นต้นสกุลกมลาสน์ ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 28 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี ศรีสมมติเทวราชรวิวงศ์ วโรภัยพงศ์พิสุทธมกุฎราชวรางกูร มไหสูรยารหราชกุมาร ประสูติเมื่อวันอังคารเดือนยี่ แรม 3 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรพรรดิพงศ์ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2418 เลื่อนเป็นเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ ดำรงขัตติยศักดิอัครวรยศ รัตนสมมติบุริสาชาไนย สีตลหฤทัยธรรมสุจริต อเนกราชกิจสิทธิวิจารณ์มโหฬารคุณสมบัติ พุทธาทิรัตน สรณาคมอุดมเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 ได้ทรงบัญชาการกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2443 พระชันษา 44 ปี เป็นต้นสกุลจักรพันธุ์ ที่ 3 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 29 พระองค์เจ้าชายอุณากรรณอนันตนรไชย ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 13 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2399 เป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีจอตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2416 พระชันษา 18 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ในรัชกาลที่ 5 และเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัช รินทรมาตา ในรัชกาลที่ 6 ที่ 30 พระองค์เจ้าชายเกษมศรีศุภโยคประสูติ เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2439 ทรงกำกับกรมช่างมุก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 3 มกราคม ปีเถาะ พ.ศ. 2458 พระชันษา 59 ปี เป็นต้นสกุลเกษมศรี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 31 พระองค์เจ้าหญิง (เขียว) ประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 10 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 3 ค่ำ ประสูติเพียงวันเดียวสิ้นพระชนม์ ที่ 2 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 32 พระองค์เจ้าหญิงเสมอสมัยหรรษา ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2416 พระชันษา 17 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดา มาไลย ที่ 33 พระองค์เจ้าชายศรีสิทธิธงไชย ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสิริธัชสังกาศ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 เลื่อนเป็นกรมขุนสิริธัชสังกาศ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ได้เป็นเสนาบดี กระทรวงพระคลัง เป็นอธิบดีศาลฎีกา เป็นราชเลขานุการฝ่ายกฎหมาย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชันษา 54 ปี เป็นต้นสกุลศรีธวัช ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 34 พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2431 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 เป็นนายพันเอกราชองครักษ์ ทรงบังคับการ กรมช่างมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 เมษายน ปีมะแม พ.ศ. 2462 พระชันษา 63 ปี เป็นต้นสกุลทองแถม ที่ 2 ใน เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 35 พระองค์เจ้าหญิงอนงค์นพคุณ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้ายขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 พระชันษา 26 ปี ในเจ้าจอมมารดาเอม ที่ 36 พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2461 พระชันษา 62 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 37 พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภชประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน เป็นเสนาบดีกระทรวงวังถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 เป็นสมุหมนตรีเสนาบดีที่ปรึกษา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 3 เมษายน ปีจอ พ.ศ. 2465 พระชันษา 66 ปี เป็น ต้นสกุลชุมพล ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 38 พระองค์เจ้าหญิงอรุณวดี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปีระกา พ.ศ. 2476 พระชันษา 76 ปี ในเจ้าจอมมารดาหรุ่น ที่ 39 พระองค์เจ้าหญิงวาณีรัตนกัญญา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 78 ปี ในเจ้าจอมมารดาแก้ว ที่ 40 พระองค์เจ้ามณฑานพรัตน์ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 8 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2404 พระชันษา 4 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ที่ 41 พระองค์เจ้าชายกาพย์กนกรัตน์ประสูติ เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 ในรัชกาลที่ 5 เป็นนายพันตรีราชองครักษ์ ทรงบังคับการกรมทหารมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์เดือน 6 แรม 12 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2422 พระชันษา 22 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 42 พระองค์เจ้าชายเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 7 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เป็นราชเลขานุการ แล้วเป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ได้เป็นราชทูตพิเศษเสด็จไป ยุโรป ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี ศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกศาตรวิบูลย์ เกียรติจำรูญไพรัชการ สุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยคุณานุสร สุนทรธรรมบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสมุหมนตรี แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกนิติปรีชา มหาสุมันตยานุวัตรวิบูลย์ ไพรัชราชกิจจาดุลย์สุนทรปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานาปกรณ์ เกียรติกำจรจิรกาล บริบูรณ์คุณสารสมบัติ สุจริตสมาจารวัตรมัทวเมตตา ชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา กัลยาณธรรมิกนาถบพิตร เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2459 เป็นมหาอำมาตย์นายก คงในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นสภานายกแห่งสภาการคลังเมื่อปีจอ พ.ศ. 2465 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปีกุน พ.ศ. 2466 พระชันษา 66 ปี เป็นต้นสกุลเทวกุล ที่ 2 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 43 พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีมะแมตรงกับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2449 พระชันษา 47 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 44 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธเดือนอ้ายขึ้น 13 ค่ำ พระชันษาได้ 8 วัน ที่ 6 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 45 สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามกุฎพงศวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชกุมาร ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เลื่อนเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อรรคอุดมชาติ บรมนราธิราชโสทรานุชาธิบดี สุจริตจารีราชการัณย์ มหันตมหาอุสาหะพิริยพหลดลประสิทธิ์ อเนกพิธคุณากร สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารัธยาศรัย ศรีรัตนตรัย สรณธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 เป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ เสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงกลาโหม ได้เป็นราชทูตพิเศษ เสด็จประเทศญี่ปุ่นครั้งหนึ่ง ยุโรปครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อัครอุดมชาติ ปรมินทรมหาราชโสทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรมหาวิชราวุธราชบิตุลา มหันตมหาอุสาหะ พิริยพหลดลประสิทธิ์ สุจริตจารีราชการัณย์ สุรพลขันธคณาภรณ์ สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารัธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพพิลาส ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นจอมพลทหารบก จอมพลเรือ ราชองครักษ์ และเป็นจเรทหารบก ทหารเรือทั่วไป ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชบิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 ทิวงคตในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ปีมะโรง พ.ศ. 2471 เป็นต้นสกุลภาณุพันธุ์ ที่ 4 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 46 พระองค์เจ้าหญิงบุษบงเบิกบาน ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2419 พระชันษา 18 ปี ที่ 3 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 47 พระองค์เจ้าชายมนุษยนาคมานพประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 5 แรม 7 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2403 ในรัชกาลที่ 5 ทรงผนวชแล้ว ทรงแปลพระปริยัติธรรมเป็นเปรียญ 5 ประโยค ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์ธรรมวรยุต ศรีวิสุทธิคณนุนายก สาสนดิลกธรรมานุวาท บริสัษยนาถบพิตร ทรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เสมอสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกา แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวงฯพระนามตอนต้นอย่างเดิม เปลี่ยนสร้อยท้ายพระนามว่าบริสัษยนาถสมณุดมบรมบพิตร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2449 ถึงรัชกาลที่ 6 ทรง รับมหาสมณุตมาภิเษกเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังสีกัลยาณวากย์ มนุษยนาคอเนญชาริยวงศ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ ประนับดา มหามกุฎกษัตรราชวรางกูร จุฬาลงกรณปรมินทร์ สูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์ ศุภสีลมหาสารวิมลมงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฏกาทิโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมา ภิเษกาภิษิต วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลก โลกุต์มมหาบัณฑิต สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน มโหฬารเมตตาภิธยาศัย พุทธาทิรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิปัตย์พุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนาถบพิตร ทรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระมหาสมณ เป็นประธานสงฆบริษัททั่วพระราชอาณาเขต เมื่อปีจอ พ.ศ. 2453 ต่อมา ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เมื่อปีระกา พ.ศ. 2464 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปีระกา พ.ศ. 2464 พระชันษา 62 ปี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 48 พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2403 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีชวด พ.ศ. 2407 พระชันษา 5 ปี ที่ 3 ใน เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 49 พระองค์เจ้าชายสวัสดิประวัติ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นเสนาบดีตำแหน่งราชเลขานุการและเป็นอธิบดีกรมพระคลังข้างที่ ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระสมมตอมรพันธุ์บรมธรรมิกราชวงศ์วิสุทธิ์ วชิราวุธราชปฤจฉา นุวัตน์ รัตนบันฑิตยชาติ สุขุมราชมันตนาธิบดี เมตตาสีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนคุณาลงกรณ์ ธรรมาทรบพิตร เป็นสมุหมนตรี เป็นเสนาบดีที่ปรึกษา เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 6 เมื่อวันที่ 21 เมษายน ปีเถาะ พ.ศ. 2458 พระชันษา 5 ปี เป็นต้นสกุลสวัสดิกุล ในเจ้าจอมมารดา หุ่น (เป็นท้าวทรงกันดาล ในรัชกาลที่ 5) ที่ 50 พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2423 พระชันษา 21 ปี ที่ 3 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 51 พระองค์เจ้าชายจันทรทัตจุฑาธาร ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม 13 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา เมื่อปีวอก พ.ศ. 2439 เป็นอธิบดีกรมพยาบาล ถึงรัชกาลที่ 6 เป็นอำมาตย์ตรีในกระทรวงยุติธรรม สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ปีวอก พ.ศ. 2475 พระชันษา 72 ปี เป็นต้นสกุลจันทรทัต ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ที่ 52 พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้นค่ำ 1 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นพระนางเจ้าพระราชเทวี ต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ปีเถาะ พ.ศ. 2470 พระชันษา 66 ปี ที่ 4 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 53 พระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา ประสูติเมื่อวันเสาร์เดือน 9 ขึ้น 11 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 65 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาดวงคำ ที่ 54 พระองค์เจ้าชายไชยานุชิต ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 9 แรม 6 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพงศาดิศรมหิป เมื่อปีจอ พ.ศ. 2441 ได้เป็นอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 28 มกราคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 74 ปี เป็นต้นสกุลชยางกูร ที่ 7 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 55 พระองค์เจ้าหญิงบัญจบเบญจมาประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 12 ขึ้น 3 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2435 พระชันษา 31 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 56 พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร ประสูติเมื่อวันพุธเดือน 12 แรม 3 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2432 ได้เป็นรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์ มกุฎวงศนฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิอดุลย์พหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนตรัยคุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2464 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ปีมะแม พ.ศ. 2474 พระชันษา 70 ปี เป็นต้นสกุลวรวรรณ ในเจ้าจอมมารดาเขียน ที่ 57 พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เป็นอธิบดีกรมการศึกษาธิการ ปีขาล พ.ศ. 2433 เป็นราชทูตพิเศษเสด็จไปยุโรปครั้งหนึ่ง เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2435 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2442 ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระดำรงราชานุภาพ อิศริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุศร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาวิเศษ นรินทราธิเบศร์บรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2458 เป็นกรรมการตรวจชำระกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และเป็นกรรมการสภาการคลัง เมื่อปีจอ พ.ศ. 2465 เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอกเมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 เป็นนายกราชบัณฑิตยสภา เมื่อปีขาล พ.ศ. 2469 แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการมโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชวรานุศิษฏ์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรนิพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัฒน์ปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. 2486 พระชันษา 81 ปี เป็นต้นสกุลดิศกุล ในเจ้าจอม มารดาชุ่ม ที่ 58 พระองค์เจ้าหญิงนงคราญอุดมดี ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรมค่ำ 1 ปีจอ ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ในเจ้าจอมมารดาเพ็ง สิ้นพระชนม์วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ที่ 59 พระองค์เจ้าชายศรีเสาวภางค์ ประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 8 แรม 7 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 เป็นราชเลขานุการ อธิบดีกรมอักษรพิมพการ และอธิบดีกรมพยาบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2432 พระชันษา 28 ปี เป็นต้นสกุลโสภางค์ ในเจ้าจอมมารดาเหม (เป็นท้าวสุภัติการภักดี แล้วเป็นท้าวอินทร สุริยา แล้วเลื่อนเป็นท้าวสมศักดิ ในรัชกาลที่ 5) ที่ 60 พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี คือสมเด็จพระมาตุจฉาในรัชกาลที่ 6 เสด็จดำรงตำแหน่งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463 ถึง รัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 รัชกาลที่ 8 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ปีจอ พ.ศ. 2477 เสด็จสวรรคต ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. 2498 พระชนมายุ 93 พรรษา ที่ 4 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 61 พระองค์เจ้าชายโสณบัณฑิต ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นนายพันเอกราชองครักษ์ ได้เป็นที่ปรึกษาประจำสถานทูตในประเทศอังกฤษและอเมริกา ต่อมาเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลภาคพายัพ เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงวัง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2456 พระชันษา 50 ปี เป็นต้นสกุลโสณกุล ในเจ้าจอมมารดาวาด (เป็นท้าววรจันทร์ ในรัชกาลที่ 5) ที่ 62 พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ ปีระกา พ.ศ. 2428 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุน เมื่อปีกุน พ.ศ. 2430 เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลัง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2436 เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2437 เป็นเสนาบดี กระทรวงวัง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ทรงเพิ่มพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และเลื่อนเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร ปรเมนทรราชบิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิต วิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นนายพลเอก เมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 เป็นกรรมการสภาการคลัง ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 เป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ 11 มกราคม ปีระกา พ.ศ. 2476 ตลอดรัชกาลที่ 7 จนทรงสละราชสมบัติถึงรัชกาลที่ 8 เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิสยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุร จิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสิตลัธยาสัย พุทธาทิไตร รัตนสรณานุวัตร์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ปีกุน พ.ศ. 2490 พระชันษา 84 ปี เป็นต้นสกุลจิตรพงศ์ ที่ 2 ในพระองค์เจ้าพรรณราย ที่ 63 พระองค์เจ้าชายวัฒนานุวงศ์ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ เป็นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส แล้วเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มณฑลปราจีนบุรี ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 5 เมษายน ปีกุน พ.ศ. 2466 พระชันษา 61 ปี เป็นต้นสกุลวัฒนวงศ์ ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 64 พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 7 แรม 7 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีวอก พ.ศ. 2475 พระชันษา 70 ปี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 65 พระองค์เจ้าหญิงบุษบันบัวผัน ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปีเถาะ พ.ศ. 2482 พระชันษา 76 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาห่วง ที่ 66 พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรีประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณเวลาเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปีระกา พ.ศ. 2440 ถึงรัชกาลที่ 6 เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ปีมะแม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 57 พรรษา ที่ 5 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 67 พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 พระชันษา 66 ปี ที่ 8 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 68 พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภาประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 เป็นอธิบดีทรงบัญชาการรักษาภายในพระราชวัง ถึงรัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีเถาะ พ.ศ. 2470 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ปีจอ พ.ศ. 2501 พระชันษา 94 ปี ที่ 5 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 69 พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ แรม 3 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2407 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2409 พระชันษา 3 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 70 พระองค์เจ้าหญิงประสานศรีใสประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2407 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปีมะแม พ.ศ. 2450 พระชันษา 44 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ ที่ 71 พระองค์เจ้าหญิงประพาฬรัศมี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 2 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระชันษา 37 ปี ในเจ้าจอมมารดาสุ่น (ซึ่งเป็นท้าววนิดา วิจารินี ในรัชกาลที่ 5) ที่ 72 พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 9 วัน ที่ 9 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 73 พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาคย์พรรณ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 ขึ้นค่ำ 1 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ปีมะเมีย พ.ศ. 2437 พระชันษา 31 ปี ในเจ้าจอมมารดาหว้า ที่ 74 พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารีประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ปีขาล พ.ศ. 2505 พระชันษา 97 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาดวงคำ ที่ 75 พระองค์เจ้าชายสวัสดิโสภณ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2441 เป็นนายพลตรี เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และได้เป็นราชทูตพิเศษเสด็จยุโรป ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นอธิบดีศาลฎีกา เลื่อนเป็นกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สยามิศรราชมาตุลาธิบดี ศรีพัชรินทรโสทรานุราชย์ มานวธรรมศาสดรวิธาน นิรุกติปรติภานพิทยโกศล โศภนมิตรสุจริตอาร์ชวาศัย ศรีรัตนตรัยสรณาภิรัต ชเนตภูมิปะภัทปียมาน มนุญสุนทรธรรมบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 ถึงรัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระฯ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 ที่เมืองปีนัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 70 ปี เป็นต้นสกุล สวัสดิวัฒน์ ที่ 6 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 76 พระองค์เจ้าชายไชยันตมงคล ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 14 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2408 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 เป็นนายพันเอก ราชองครักษ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 15 เมษายน ปีมะแม พ.ศ. 2450 พระชันษา 44 ปี เป็นต้นสกุลไชยันต์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาห่วง ที่ 77 พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 6 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2409 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปีขาล พ.ศ. 2493 พระชันษา 84 ปี ที่ 10 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 78 พระองค์เจ้าหญิงประไพศรีสอาด ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 แรม 6 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชันษา 44 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาแสง ที่ 79 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 13 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ ในเจ้าจอมมารดาเชย ที่ 80 พระองค์เจ้าหญิงพุทธประดิษฐา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 4 แรม 2 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2413 พระชันษา 4 ปี ในเจ้าจอมมารดาพุ่ม ที่ 81 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน 10 ขึ้นค่ำ 1 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติเจ้าจอมมารดาอิ่ม (เป็นท้าวโสภานิเวศน์ แล้วเลื่อนเป็น ท้าวศรีสัจจาในรัชกาลที่ 5) ที่ 82 พระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ ประสูติในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธเดือน 10 แรม 12 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2417 พระชันษา 7 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาห่วง รวมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอ ในรัชกาลที่ 4 ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก มีพระโอรส 2 พระองค์ ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว มีพระราชโอรสอีก 37 พระองค์ พระราชธิดาอีก 43 พระองค์ รวมทั้งสิ้นเป็น 82 พระองค์

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.3


พระราชประวัติสังเขป(ร.3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับเจ้าจอมมารดาเรียม ต่อมาได้รับการเฉลิมพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสุราลัย สมเด็จพระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๓๐ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ขณะเมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระราชมารดายังดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเรียม ดำรงพระอิสริยฐานันดรศักดิ์ของพระองค์จึงเป็น "หม่อมเจ้าทับ" พุทธศักราช ๒๓๔๔ สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกเป็น สมเด็จพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์จึงได้เลื่อนพระอิสริยฐานันดรศักดิ์เป็น "พระองค์เจ้าทับ" เมื่อพระชนมพรรษาครบปีที่จะทรงผนวช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช โปรดให้ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเสด็จไปประทับจำพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม บางกอกใหญ่ พุทธศักราช ๒๓๕๖ พระชนมพรรษา ๒๖ พรรษา ได้รับการสถาปนาขึ้นทรงกรม พระนามพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงไว้วางพระราชหฤทัย โปรดให้กำกับราชการหลายกรม ได้แก่ กรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา ซึ่งในสมัยนั้นเป็นราชการที่สำคัญมาก นอกจากนั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการต่างพระเนตรพระกรรณด้วย พระองค์ทรงรับราชการสนองเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความจงรักภักดี มีความรักชาติบ้านเมืองสูง และทรงพระเมตตาต่อไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างยิ่ง ในยามที่แผ่นดินขาดแคลน ทรงนำเงินส่วนพระองค์ที่ได้จากการค้าสำเภากับนานาประเทศขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เป็นมูลเหตุให้ทรงได้รับการตรัสล้อ เรียกว่า "เจ้าสัว" น้ำพระราชหฤทัยฝักใฝ่การบุญ ทรงตั้งโรงทานเลี้ยงดูเกื้อกูลประชาชนที่ขัดสน บริเวณหน้าวังท่าพระ อันเป็นที่ประทับขณะนั้น พุทธศักราช ๒๓๖๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตโดยมิได้ตรัสมอบการสืบราชสันตติวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการได้ประชุมปรึกษา และมีสมานฉันท์ให้เชิญพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระนามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ ตลอดรัชสมัยได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันทรงคุณประโยชน์แก่ชาติอเนกอนันต์ทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจการค้า การต่างประเทศ การพระศาสนา วรรณกรรมและศิลปกรรม สิ่งสำคัญที่แสดงถึงความรักประชาชนคือ โปรดให้ปราบฝิ่นที่มีแพร่หลายในรัชกาลอย่างเด็ดขาด ทรงดำรงสิริราชสมบัติเป็นเวลา ๒๗ ปี เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันตก เมื่อวันพุธที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๔ สิริรวมพระชนมพรรษา ๖๓ พรรษา ๒ วัน ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดารวม ๕๑ พระองค์ สายราชตระกูลที่สืบทอดมา ได้แก่ ศิริวงศ์ โกเมน คเนจร งอนรถ ลดาวัลย์ ชุมสาย ปิยากร อุไรพงศ์ อรรณพ ลำยอง สุบรรณ สิงหรา ชมพูนุท ในเรื่องการพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสบริสุทธิ์สูงยิ่ง ได้สถาปนาวัด บูรณปฏิสังขรณ์วัดที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างพระพุทธปฏิมากร ประดิษฐ์วิชาการในพระอาราม สร้างพระคัมภีร์ และที่สำคัญคือ ทำนุบำรุงกุลบุตรให้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนา ผู้ที่บรรพชาอุปสมบท ทรงส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียน มีพระราชดำรัสยกย่องพระภิกษุที่ศึกษาพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา สะท้อนน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นบำรุงให้รุ่งเรืองไว้ในแผ่นดินดังนี้ “เจ้าประคุณพระราชาคณะทั้งปวง จะไม่ร้อนรนพระทัย แสวงหาพระสงฆ์สามเณรที่รู้พระไตรปิฎกนั้นไม่ชอบ ด้วยพระพุทธศาสนาเป็นแก้วอันหาได้ยากในโลก พระสงฆ์ที่รู้พระไตรปิฎก ก็เป็นแก้วอันหาได้ยากในโลกเหมือนกัน ให้เจ้าประคุณพระราชาคณะทั้งปวงคิดถึงพระพุทธศาสนาให้จงหนัก เป็นพระพุทธศาสนาให้จงมาก” พระราชดำรัสก่อนเสด็จสวรรคต แม้ปัจจุบันพุทธศักราช ๒๕๔๗ กาลเวลาจะล่วงแล้วถึง ๑๕๓ ปี พระราชดำรัสนั้นทำให้คนไทยซาบซึ้งในคำเตือนที่คงความถูกต้อง ด้วยชาวไทยในยุคปัจจุบันได้รับพิษภัยจากฝรั่ง โดยเฉพาะเป็นยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ชาวไทยระทมทุกข์จำนวนมากประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ การถูกรุกรานทางวัฒนธรรมที่ทำให้ชาวไทยสูญเสียเอกลักษณ์ของชาติไปหลายประการ ที่ว่า "การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดไว้ ควรจะเรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว”.
พระราชกรณียกิจที่สำคัญโดยสังเขป (ร.3)
ในด้านการเศรษฐกิจ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงได้จัดส่งสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศจีน ทำให้ประเทศไทยมีรายได้จากการค้าขายกับต่างประเทศสูงมาก เงินตราในท้องพระคลังที่พระองค์ทรงค้าขายได้ซึ่งเรียกขานว่า เงินถุงแดง ได้นำมาใช้เป็นค่าปฎิกรรมสงครมในปี รศ.112 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการถูกยึดครองแผ่นดินจากชาติยุโรป และด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงถูกขนานพระนามว่า "เจ้าสัว" นอกจากนี้พระองค์ยังทรงริเริ่มระบบการเก็บภาษีแบบเจ้าภาษีนายอากรคือมีตัวแทนเก็บภาษีทำให้สามารถเก็บภาษีเข้าสู่ท้องพระคลังเป็นจำนวนมาก ในด้านการปกครอง ใน พ.ศ.2362 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่กองสร้างเมืองสมุทรปราการให้มีป้อมปราการต่างๆ เพื่อป้องกันภัยทางทะเลทางฝั่งตะวันออก 4 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ และป้อมกายสิทธิ์ และส่วนเกาะหน้าเมืองด้านตะวันตกอีก 2 ป้อม คือ ป้อมผีเสื้อสมุทร และป้อมนาคราช และในรัชกาลของพระองค์บ้านเมืองยังคงต้องประสบปัญหากับการรุกรานจากญวนอยู่ รวมทั้งกับการล่าอาณานิคมของชาติยุโรปอีกด้วย ในด้านการศาสนาและการศึกษา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่ 19 วัด ทรงปฏิสังขรณ์วัดเก่า 17 วัด ทรงบูรณะพระอารามร่วมกับเจ้านาย และข้าราชบริพานอีก 33 วัด และอื่นๆ อีกมากมายส่วนการศึกษาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้เด็กตามโรงทานมีโอกาสศึกษา โปรดให้จารึกตำรา และวิทยาการต่างๆ ลงบนแผ่นหินประดับในวัดสำคัญหลายวัดเช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามได้ขื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ในรัชสมัยนี้มีตำราเรียนเกิดขึ้น 3 เล่ม คือ โคลงจิดามณี ประถม ก กา และปฐมมาลา อีกทั้งยังมีการพิมพ์หนังสือด้วยแท่นพิมพ์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย พระราชสดุดี จากการที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ยพระราชกรณียกิจด้านต่างๆ อันแสดงถึงพระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาที่ทรงเห็นการณ์ไกลยังความมั่นคง เจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศไทยอย่างยากที่จะพรรณาได้ ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ทรงกำกับงานราชการอย่างใกล้ชิด มีการตรากฎหมายที่สำคัญเช่น พระราชกำหนดโจรห้าเส้นสำหรับใช้ในการปราบโจรผู้ร้าย ทรงโปรดตั้งกลองวินิจฉัยนารีไว้ให้ราษฎร์ร้องทุกข์ ประกาศเลิกสูบฝิ่น เป็นต้น ดังนั้นคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2540 แล้ว ลงมติเห็นชอบในหลักการให้ถวายพระราชสมัญญามหาราชแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเหตุที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระมหาเจษฎาบดินทร์" ซึ่งมีความหมายว่า พระมหาราชเจ้าผู้มีพระทัยตั้งมั่นในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ และคณะรัฐมนตรีรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2540

สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ร.2


พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2310 ณ ตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสาคร ในขณะนั้นพระราชบิดายังดำรงพระยศหลวงยกกระบัตร เมืองราชบุรี ต่อมาพระราชบิดาได้เข้ารับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสิน แห่งกรุงธนบุรี จึงได้ย้ายครอบครัวมาอยู่บริเวณด้านใต้ของวัดระฆังโฆษิตาราม บ้านเดิมที่อัมพวาจึงว่างลง เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยขึ้นครองราชย์แล้วนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานที่ดินบริเวณบ้านเดิมนั้น สร้างเป็นวัดชื่อ วัดอัมพวันเจติยารามเมื่อพระบิดาย้ายเข้ามารับราชการ ทรงได้เข้ารับการศึกษาจากวัดระฆังโฆษิตาราม โดยฝากตัวเป็นศิษย์กับพระวันรัต (ทองอยู่) เมื่อครั้งพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้โดยเสด็จพระราชบิดาไปราชการสงครามด้วย เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระราชบิดาได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงได้รับการสถาปนาพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร เมื่อพระชนมายุครบ 22 พรรษา ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง และเสด็จไปจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ทรงจำพรรษาอยู่นาน 3 เดือน จึงลาผนวชต่อมาทรงได้รับสถาปนาเลื่อนพระยศเป็น กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2349 หลังจากนั้นอีกเพียง 2 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา จึงได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี พระนามว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดีศรีสุนทรบรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ ธรณิณทราธิราช วัฒนากาศวราชวงศ์ สมุทัยโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราบดินทร์หริหรินทราธาดาธิบดีสรีสุวิบูลย์คุณอกนิฐฤทธิราเมศวรหันต์ บรมธรามิกราชาธิเบศร์ โลกเชษฐวิสุทธิรัตนมกุฏ ประเทศคตามหาพุทธยางกูรบรมบพิตร หรือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัครมเหสีพระนามว่า สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี พระนามเดิมว่า บุญรอด พระธิดาในพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรี-สุดารักษ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระราชโอรสและพระธิดารวม 73 พระองค์ โดยประสูติในพระมเหสี 3 พระองค์ และประสูติในเจ้าจอมมารดาเรียม พระสนมเอก 3 พระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงครองราชสมบัติอยู่นาน 15 ปี ก็ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ มิได้รู้สึกพระองค์ จึงไม่ได้พระราชทานราชสมบัติให้แก่ผู้ใด ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้อยู่นาน 3 วัน ก็เสด็จสวรรคต

พระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(ร.2)
การทำนุบำรุงประเทศระยะแรกของการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่ายังคงรุกรานประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองและป้อมปราการต่างๆขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันข้าศึกที่จะยกมาทางทะเลที่เมืองสมุทรปราการ และที่เมืองปากลัด โดยทรงมีพระบัญชาให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นที่ปากลัด (ปัจจุบัน คือ อ.พระประแดง สมุทรปราการ) พร้อมป้อมปิศาจผีสิง ป้องราหูและป้อมศัตรูพินาศ แล้วโปรดเกล้าฯให้อพยพครอบครัวชาวมอญจากปทุมธานีมาที่นครเขื่อนขันธ์ นอกจากนี้ยังให้กรมหมื่นมหาเจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธิ์ ขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพย์ไปคุมงานสร้างป้อมเพชรหึงส์เพิ่มเติม ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์ การสร้างป้อมปราการและเมืองต่างๆขึ้นมากมาย ด้วยการที่จะป้องกันไม่ให้ข้าศึกเข้าโจมตีพระนครได้โดยง่าย ถือว่าทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกลด้านการป้องกันประเทศในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีไทยหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่เมื่อพระองค์เสวยราชย์ได้ 2 เดือน ในขณะนั้นพระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าได้แต่งตั้งแม่ทัพพม่า 2 นาย คือ แม่ทัพเรืออะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีไทยทางหัวเมืองชายทะเลทางตะวันตก และสามารถตีได้เมืองตะกั่วทุ่งและตะกั่วป่า และได้ล้อมเมืองถลางไว้ก่อนที่ทัพไทยจะยกลงไปช่วย และในที่สุดก็สามารถตีทัพพม่าแตกพ่ายไปส่วนทางด้านทัพบก พระเจ้าปดุงได้แต่งตั้งแม่ทัพสุเรียงสาระกะยอ ยกกำลังมาทางบก เพื่อเข้าตีหัวเมืองทางด้านทิศใต้ของไทย และสามารถตีได้เมืองมะลิวัน ระนองและกระบี่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ส่งกองทัพลงไป และปะทะกับกองทัพพม่า ซึ่งทัพพม่าแตกถอยหนีกลับไปต่อมา พ.ศ. 2363 พระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่าเสด็จสวรรคต พระเจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าปดุง ก็คิดจะยกทัพมาตีไทยอีก โดยสมคบคิดกับพระยาไทรบุรีซึ่งเปลี่ยนใจไปเขากับฝ่ายพม่า แต่เมื่อทราบว่าไทยจัดกำลังไปรับข้าศึกอย่างแข็งขันตามช่องทางที่พม่าจะยกเข้ามา พม่าเกิดกลัวว่าจะรบแพ้ จึงยุติทัพ จนอีก 3 ปีต่อมา พระเจ้าจักกายแมงได้ไปชักชวยพระเจ้าเวียด-นามมินมาง กษัตริย์ญวนให้มาช่วยตีไทย แต่ฝ่ายญวนไม่ร่วมด้วย พอดีกับพม่าติดสงครามกับอังกฤษจึงหมดโอกาสยกมาตีไทยอีกด้านการบำรุงศาสนาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนสถาน ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดชัยพฤกษ์มาลา วัดโมฬีโลก วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่สระบุรี ที่สร้างค้างได้ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม โดยสร้างพระอุโบสถ พระปรางค์ รวมทั้งพระวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาลความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงดำเนินการนโยบายกับต่างประเทศแบบผ่อนสั้นผ่อนยาว เป็นมิตรไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ทำให้ในรัชสมัยของพระองค์ปราศจากสงคราม ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้อย่างสุขสงบ และในรัชสมัยนี้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของไทยในสมัยนั้นมีความมั่นคงและเจริญขึ้นเป็นอย่างดีในปี พ.ศ.2352 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต พระเจ้าเยียลอง พระเจ้าแผ่นดินญวน ได้ส่งทูตเข้ามาถวายบังคมพระบรมศพ พร้อมกับมีพระราชสาสน์มาขอเมืองพุทไธมาศคืน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่าไทยมิได้ส่งทหารไปดูแลเลย จึงตกลงคืนให้ ทำให้สัมพันธภาพกับญวนเป็นไปได้ด้วยดีสมเด็จพระอุทัยราชาเจ้าเขมร ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงให้การอุปถัมภ์นั้น เกิดผูกใจเจ็บกับไทยตั้งแต่เรื่องถูกติเตียนเรื่องที่อุกอาจเข้าเฝ้าโดยพลการ จึงมีความคิดที่จะกระด้างกระเดื่องต่อประเทศไทย โดยเริ่มจากไม่เข้าพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกด้วยตนเอง และเมื่อคราวกรุงเทพฯมีศึกกับพม่าก็ไม่ยอมยกทัพมาช่วยเหลือ และสมเด็จพระอุทัยราชาก็หันไปพึ่งอำนาจจากญวนแทน โดยแม้จะยังส่งเครื่องราชบรรณาการมายังไทย แต่อำนาจของไทยในเขมรก็เสื่อมถอยลงตามลำดับเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้แสดงความจงรักภักดีต่อไทยตลอดรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้วยดี โดยช่วยเป็นหูเป็นตาดูแลหัวเมืองของไทยในแถบนั้นจนสิ้นรัชกาลที่ 2เพื่อให้การติดต่อค้าขายกับประเทศจีนเป็นไปได้โดยสะดวก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงแต่งตั้งทูตอัญเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ไปเจริยพระราช-ไมตรีกับพระเจ้าเจี่ยเข่ง พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์เช็ง ณ กรุงปักกิ่ง ต่อมาพระเจ้าเจี่ยเข่งสิ้นพระชนม์ ก็ทรงโปรดเกล้าฯให้ส่งทูตไทยไปเคารพพระบรมศพ และเจริญพระราชไมตรี ต่อพระเจ้าตากวาง ผู้ซึ่งได้สืบราชสมบัติแทน โปรตุเกสกับไทยได้เคยมีการติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อบ้านเมืองเกิดสงครามกับพม่า โปรตุเกสก็พากันย้ายออกไปค้าขายที่เมืองอื่นๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2363 พระเจ้าแผ่นดินโปรตุเกสได้ส่งทูตเข้ามาขอทำสัญญาพระราชไมตรี เพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขายด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพในด้านศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้วิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์ นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม เนื่องด้วยภาพที่ทรงแกะสลักนั้น ทั้งสัตว์ต่างๆ เช่น เสือ หมี ช้าง นกและพืชพรรณไม้ดูเหมือนจะสามารถเคลื่อนไหวได้จริงๆ ได้ทรงแกะสลักศีรษะหุ่นด้วยไม้สัก 1 คู่ เรียกว่า พระยารักน้อยและพระยารักใหญ่ ในปัจจุบันงานศิลปะ 2 ชิ้นนี้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ ได้ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์พระประธานวัดอรุณราชวรารามด้วยพระองค์เองอีกด้วย ด้านดนตรี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ด้านดนตรีทั้งในการสร้างเครื่องดนตรีและในการเล่น พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในการสีซอสามสาย ได้พระราชทานนามซอคู่พระหัตถ์ว่า ซอสายฟ้าฟาด และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลง บุหลันลอยเลื่อน หรือเรียกว่า เพลงพระสุบินนิมิต ซึ่งเป็นที่ไพเราะและได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน ด้านวรรณคดี อาจกล่าวได้ว่า ยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอก ได้ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่ม เป็นต้นว่า รามเกียรติ์ ตอน ลักสีดา จนถึงวานรถวายพล ตอนพิเภกสวามิภักดิ์ ตอนนางสีดาลุยไฟ ได้ทรงปรับปรุงจากบทความเดิมให้มีความไพเราะเหมาะกับการแสดงโขน และได้ทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางลอย ตอนศึกอินทรชิตหักคอช้างเอราวัณ เป็นต้น บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วพบนางพิม ตอนขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้างส่วนพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนานั้น ทรงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ ด้วยเป็นเนื้อเรื่องที่ดีทั้งเนื้อความและทำนองกลอนส่วนบทละครนอก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมาด้วยกัน 5 เรื่อง ได้แก่ 1. ไชยเชษฐ์ 2. สังข์ทอง 3. มณีพิชัย 4. ไกรทอง 5. คาวีนอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่อง กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ เห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็น บทเห่นี้เข้าใจกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ในเรื่องการทำอาหารองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องด้วยทรงสร้างสรรค์วรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติไว้เป็นจำนวนมาก และรวมถึงทรงปกครองบ้านเมืองให้ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุขอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารและเนื่องด้วยในรัชกาลนี้มีช้างเผือกมาสู่พระบารมีถึง 3 เชือก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงมีพระราชดำริให้แก้ไขธงชาติไทยจากที่เคยใช้ธงแดงมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ให้ทำเป็นรูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรติดในธงพื้นแดง ซึ่งใช้เป็นธงชาติไทยสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 6