Friday, June 1, 2007

Auschwitz



วันที่ 27 มกราคม ปีที่ผ่านมา (2005) เป็นปีที่ครบรอบ 60 ปีแห่งการเกิดเหตุการณ์สยดสยองที่สุด ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อมนุษย์ถูกเพื่อนมนุษย์ด้วยกันใช้อํานาจที่เหนือกว่า จับมาสังหารหมู่ โดยมุ่งหวังจะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ให้สิ้นซาก ไม่ยอมให้หลงเหลือสืบเผ่าแพร่พันธุ์ต่อไปในโลก โดยมีความผิดเพียงประการเดียวคือ ไม่มีผิวสีขาว และนัยน์ตาสีฟ้าเหมือนตนที่ (คิดว่า) เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ชั้นยอดที่บริสุทธิ์ จึงไม่ยอมให้อาศัยร่วมประเทศร่วมทวีป หรือแม้แต่ร่วมโลกเดียวกันก็ยอมไม่ได้ จึงมีการกวาดล้างจับกุมส่งไปทําลายชีวิตทิ้ง อย่างเหี้ยมโหดไม่เว้นแม้แต่คนชราและเด็กๆ
เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นําเยอรมันซึ่งมีอํานาจสูงสุดในยุโรปขณะนั้น และมีความรู้สึกว่าชนเผ่ายิวที่มีอยู่มากมายในเยอรมันประเทศของตน จะมาผสมพันธุ์กับเลือด เยอรมัน ทําให้ชาวเยอรมันมีเลือดไม่บริสุทธิ์ เป็นการขัดขวางการสร้างมนุษย์พันธุ์ใหม่ ที่ฉลาด เข้มแข็งและมีความสามารถเหนือมนุษย์ด้วยกันอย่างนั้น ซึ่งต้องมีสายเลือดเยอรมันบริสุทธิ์ ต้องมีผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้า จึงสั่งจับยิวและยิปซีส่งไปยังค่ายกักกันเพื่อสังหารให้หมดสิ้น ค่ายกักกันที่ใหญ่ที่สุด และมีชื่อเสียงว่าสังหารโหดชาวยิวมากที่สุด อยู่ในโปแลนด์ ชื่อ "ค่ายเอาชวิตซ์" (Auschwitz)
ค่ายแห่งนี้รองรับชาวยิวที่ส่งไปรอการประหารถึง 1 ล้าน 6 แสนคน ในจํานวนนี้ถูกสังหารด้วย การรมแก๊สพิษและเผาในเตาเผาถึง 1 ล้านสองแสนคน องค์การสหประชาชาติ ได้จัดพิธีรําลึกถึง เหตุการณ์ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ ซึ่งครบรอบ 60 ปีในวันที่ 27 มกราคม ปี 2005 เราจึงขอนําเรื่องราวดังกล่าว มาเล่าสู่กันฟัง
เรื่องราวความเป็นมามีดังนี้
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ สั่งกวาดต้อนชนเผ่ายิวในประเทศ และในที่ต่างๆ ทั่วยุโรป จํานวน 22 ล้านคน ไปที่ค่ายกักกันเอาชวิตซ์ โดยขนไปทางรถยนต์ รถไฟ และเรือเดินสมุทร พาหนะทุกประเภทที่ขนชาวยิวไปยังค่ายแห่งนี้ จะต้องผ่านการตรวจค้นจากด่านแรก ของค่ายก่อน เรียกว่า ด่านแคนาดา ด่านนี้จะเก็บทรัพย์สินทุกอย่างของชนเผ่ายิว นับแต่กระเป๋า หีบห่อ สัมภาระ เครื่องทอง เครื่องเพชร เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่มีราคาทุกชิ้นจะถูกสั่ง ให้ถอดกองไว้ ไม่เว้นแม้แต่แขนเทียม ขาเทียม และรถเข็นเด็กอ่อน สิ่งของที่ยึดไว้นี้จะถูกส่ง กลับไปยังเยอรมัน เว้นแต่ทรัพย์สินที่มีค่าจะห่อส่งไปให้ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไป
เมื่อตรวจยึดทรัพย์สินเสร็จแล้ว ชนเผ่ายิวจะถูกสั่งให้เข้าแถวเป็นสองชุด พวกที่ค้นแล้วว่า จะต้องประหารทันที ถูกสั่งให้จัดแถวทางขวามือ ส่วนพวกที่ยังมีโอกาสรอดชีวิต ไปได้อีกระยะหนึ่ง จะถูกสั่งให้ตั้งแถวทางซ้ายแล้วเดินเข้าที่พัก
หากรู้ความจริงแล้ว พวกที่โชคดีได้อยู่แถวรอดชั่วคราว คงจะอยากขอไปอยู่แถวที่ตายทันทีดีกว่า เพราะการมีชีวิตรอดนั้น น่ากลัวกว่าและทุกข์ทรมานยิ่งกว่า การตายหลายเท่านัก
ชีวิตในค่ายกักกันนั้น ลําบากยากแค้น แสนสาหัส ต้องนอนในโรงทึบๆ ไม่มีที่ระบายอากาศและ ช่องแสง ต้องนอนบนเตียงสามชั้นที่ต่อกัน เป็นแถวยาวให้นอนสลับหัว สลับเท้ากัน เตียงแต่ละชั้นนั้นเตี้ยมาก เมื่อขึ้นเตียงต้องนอนเลย นั่งไม่ได้ เพราะช่วงห่างระหว่างเตียงเตี้ยมาก ที่ทารุณยิ่งกว่านั้น ก็คือการถ่ายทุกข์หนักเบาของเชลย โดยนาซีได้จัดโถส้วมไว้ในโรง ที่หลับนอนนั่นเอง แต่ไม่มีการจัดระบายของโสโครกเหล่านั้น เมื่อใช้นานไป อุจจาระและปัสสาวะก็จะล้นโถส้วมเจิ่งนองบนพื้นห้องส่งกลิ่นคละคลุ้งอบอวลอยู่ในนั้น
ในฤดูหนาว อุณหภูมิที่เอาชวิตซ์ลดลงเกือบถึงศูนย์องศา ชาวยิวยากจนที่สวมเสื้อผ้าไม่มีราคา ก็ไม่ลําบากนัก เพราะยังมีเสื้อผ้าติดตัวอยู่ ส่วนพวกรวยๆ สวมเสื้อผ้าราคาแพงจะถูกลอก คราบปอกเปลือกหมด ต้องทนนอนหนาวสั่นอยู่อย่างนั้นจนชินไปเอง
ถึงหน้าร้อนก็ทรมานอย่างหนักราวกับ อยู่ในเตาอบ เพราะโรงนอน 30 หลังที่เอาชวิตซ์นั้น เยอรมันไม่ยอมเจาะช่องหน้าต่าง ให้แม้แต่บานเดียวเพื่อป้องกัน การหลบหนี ซ้ำยังไม่อนุญาตให้อาบน้ำ โดยหลายๆ วันจะมีการพาไปอาบน้ำสักครั้ง ซึ่งวันที่ได้อาบน้ำจะเป็นวันที่ ผู้ถูกกักกันมีความสุขที่สุด ต่างพากันยิ้มแย้มแจ่มใส เยอรมัน จะแบ่งผู้ถูกกักกันที่ได้อาบน้ำเป็นสองชุด คือ ชุดแรกอาบน้ำจริงๆ
ส่วนชุดที่สอง "การอาบน้ำ" หมายถึงการเข้าสู่แดนประหาร ก่อนจะเข้าห้องอาบน้ำ (ในแบบที่สอง) ก็จะต้องเข้าห้องถอดเสื้อผ้าก่อน โดยต้องถอดเสื้อผ้าออกหมดทุกชิ้น ห้องอาบน้ำทำเหมือนกันทั้งสองชุด คือมีประตูหนาสองชั้น เจาะช่องมองกรุ กระจกไว้ด้วย เมื่อเข้าไปในห้องแล้วประตูจะถูกล็อกแน่นหนา จากนั้นแก๊สพิษจะถูกปล่อยเข้าไป การรมด้วยแก๊สพิษนั้นทรมานมาก เพราะจะทำให้หายใจไม่ออก กว่าจะสิ้นใจตายก็ต้องดิ้นทุรนทุรายอยู่นาน โดยผู้คุมจะคอยมองที่ช่องมองจนกว่าคนสุดท้ายจะนิ่งเงียบไป
เมื่อเห็นว่าตายสนิทแล้ว ผู้คุมจะเปิด ประตูเข้าเก็บทรัพย์สินมีค่า ที่เหลืออยู่ เช่น ฟันเลี่ยมทอง โกนผมแล้วตัดชิ้นส่วน ของร่างกายที่แพทย์ต้องการ เช่น แขนหรือขา ที่น่าสยดสยอง ที่สุดคือการแล่เนื้อผู้ถูกกักกัน ที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อนำมาประกอบอาหาร เลี้ยงผู้ต้องขังที่ยังไม่ถึงคิวประหาร
หลังจากนั้นก็นำศพซ้อนๆ กันบนรถเข็นเหล็กไปเผา แต่เมื่อไม่มีการตรวจร่างกายว่าสิ้นใจ ตายสนิทแล้วหรือไม่ ดังนั้น เมื่อนำเข้าเตาเผา จึงยังมีการดิ้นทุรนทุรายรอบสอง กันอยู่เป็นประจำ สำหรับของมีค่านั้น ถ้าเป็นทองคำ ผู้คุมต้องนำมาหลอมเป็นแท่งส่ง ให้เจ้านายชั้นสูง ส่วนผมนั้นต้องนำมาสระชำระล้างให้สะอาด ตากให้แห้ง ส่งไปยังโรงงานถักเสื้อกันหนาว ชิ้นส่วนแขนขาก็ส่งให้แพทย์สนามนำ ไปต่อให้ทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ส่วนกล้ามเนื้อศพนั้นจะถูกส่งไปยังโรงครัวเพื่อปรุงเป็นซุป และแฮมเบคอนเลี้ยงผู้ต้องขัง นานๆ ครั้งที่ผู้ถูกกักกันจะได้รับประทานซุป และแฮมกับเบคอน จึงต่างก็พากันเจริญอาหารกันทั้งค่าย ท่ามกลางอาการพะอืดพะอมของทหารควบคุมผู้รู้ความจริง

การประหารผู้ถูกกักกันนั้น บางครั้งก็ใช้แก๊สไม่ทัน เพราะต้องสังหารหมู่คราวละมากๆ เนื่องจากเกิดความจําเป็น ต้องการที่ว่างเพิ่มขึ้นเนื่องจากมียิวถูกจับกุมตัวมามาก จึงต้องประหารเพิ่มด้วย การจัดอาบน้ำกลางแจ้ง โดยไล่ต้อนเชลยไปถอดเสื้อผ้า เตรียมอาบน้ำในป่าหลังค่ายกักกัน แล้วก็สังหารเสียด้วยปืน จากนั้นก็นำศพมาเผาบนกองฟืน
จะว่าไป จะกล่าวหาว่าฮิตเลอร์จงใจ ตั้งค่ายกักกันไว้เพื่อ สังหารล้างเผ่าพันธุ์ยิวเผ่าเดียวก็ไม่ถูก เพราะวัตถุประสงค์ดั้งเดิม ในการเปิดค่ายกักกัน เอาชวิตซ์ไม่ได้มุ่งจับ ยิวไปฆ่าเพียงเผ่าเดียว นักโทษที่ถูกส่งมากักกัน รอประหารนี้ ยังมีพวกโรมาหรือเผ่ายิปซีเร่ร่อนอีกด้วย
เอาชวิตซ์ถูกสร้างขึ้นโดย กองทัพนาซี ที่ใกล้เมืองเอาชวิตซินในโปแลนด์ เมื่อปี 1940 ต่อมาได้มีการขยาย ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นหลายครั้ง จนมีแดนขังเพิ่มเป็น 3 แดน คือ เอาชวิตซ์ 1, อาชวิตซ์ 2 และเบอร์เคนนูร์, เอาชวิตซ์ 3 และโคโนวิตซ์ และมีค่ายกักกันย่อยในเครือเดียวกันอีก 40 แห่ง ระยะแรกๆ ใช้จำขังนักโทษชาวโปล
ต่อมาก็ใช้เป็นที่กักขังเชลยศึก โซเวียตและนักโทษสัญชาติอื่น รวมทั้งชาวเผ่ายิปซีจนถึงปี 1942 เอาชวิตซ์ก็ถูกใช้เป็นที่สังหารหมู่ นักโทษจำนวนมาก ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมุ่งสังหารชนเผ่ายิวในยุโรปเป็นหลัก ตามแนวนโยบายของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ที่จะล้างเผ่าพันธุ์ยิวให้สิ้นซาก ดังนั้น ชาวยิวทั้งหญิง คนแก่ และเด็ก จึงถูกจับเนรเทศมากักกันไว้ที่เอาชวิตซ์ โดยหลอกว่าจะพามาหางานทำบ้าง จะย้ายมาสร้างถิ่นฐานใหม่ ให้อยู่อย่างสะดวกสบายบ้าง
ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีเตรียมปกปิดหลักฐานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จึงมีการรื้อโรงรมแก๊สสังหารกับโรงเผาศพ และย้ายนักโทษที่ยังแข็งแรงกลับมายังดินแดนเยอรมัน
ต่อมาในวันที่ 27 มกราคม 1945 กองทัพแดงของสหภาพโซเวียต ได้บุกเข้ายึด เอาชวิตซ์จากเยอรมัน โดยที่กองทัพโซเวียต รุกรวดเร็วมาก ทำให้ไม่อาจทำลายอาคารและ หลักฐานได้หมด เอาชวิตซ์ จึงยังหลงเหลือเป็นหลักฐานประจาน ความโหดร้ายของนาซีอยู่ต่อมาจนทุกวันนี้
ปัจจุบันเอาชวิตซ์เป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ และมีนักท่องเที่ยวสนใจมากที่สุด แห่งหนึ่งของ โปแลนด์ ซึ่งพยายามรักษาสภาพ เอาชวิตซ์ให้ใกล้เคียง สภาพเดิมให้มากที่สุด
เมื่อถึง 27 มกราคม ปี 2005 นับได้ 60 ปีพอดี องค์การสหประชาชาติจึงได้จัดพิธี ไว้อาลัยผู้ที่เสียชีวิต จำนวนนับล้าน ที่ถูกสังหารที่ค่ายกักกันแห่งนี้เพื่อ เป็นการระลึกถึงวันครบรอบ 60 ปีแห่งการยึดเอาชวิตซ์ และปลดปล่อยเชลยชาวยิวที่รอการสังหารได้สำเร็จ
เพื่อเป็นอุทาหรณ์ถึงความทารุณโหดร้าย ที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันได้ลงคอ.

No comments: