ผมไม่มีน้ำหนัก จัดทรงยาก ชี้ฟู ไม่เป็นประกาย เปราะขาดง่าย จนถึงผมแห้งเสียแตกปลาย ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสุขภาพผมเข้าขั้นโคม่า ไปแล้วทุกที สาเหตุที่ทำให้เกิดผมแห้งเสียก็มีหลายประการ ทั้ง แสงแดด หรือความร้อนจากการไดร์ผม การหนีบผม หรือสารเคมี ที่เกิดการย้อมผม ทำไฮไลต์ ดัดผม ฯลฯ ดังนั้น เมื่อเส้นผมส่วนที่งอกออกมาจากรากผมนั้นถือว่าเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว จึงไม่สามารถสมานแผล หรือรักษาตัวเองได้เหมือนกับเซลล์ผิวหนัง และจำเป็นต้องได้รับการดูแลและปกป้องจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำร้ายผม หนึ่งในวิธีการดูแลสุขภาพเส้นผมด้วยตนเองง่ายๆ ทำได้ที่บ้าน นั่นก็คือ การเลือกใช้ “ครีมนวดผม” หรือ “คอนดิชั่นเนอร์” นั่นเอง ล่าสุด โดฟ ได้พัฒนา “โดฟ ครีมคอนดิชั่นเนอร์ ใหม่” ขึ้นเพื่อตอบโจทย์สาวที่มีปัญหาผมแห้งเสีย เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดยิ่งขึ้นด้วย จตุรพร สรรพวัฒน์ Product Development Manager บจก.ยูนิลีเวอร์ไทย กล่าวถึงความสำคัญของ “ครีมนวดผม” ว่า ถ้าใช้เป็นประจำทุกครั้งหลังสระผมจะช่วยคืนความชุ่มชื้นสู่เส้นผม และสมานรอยแตกของเส้นใยผมที่แห้งเสีย พร้อมสร้างเกราะบางๆ ปิดเกล็ดผม ป้องกันไม่ให้ผมถูกทำลายได้ง่าย เกราะที่สร้างขึ้นนี้จะทำหน้าที่เหมือนสารหล่อลื่นให้กับเส้นผม ผมจึงกลับชุ่มชื้น นุ่มลื่น ไม่พันกัน สำหรับวิธีเลือกคอนดิชันเนอร์ให้เหมาะกับสภาพเส้นผมของตนเองนั้น ถ้าผมแห้งก็ควรจะใช้สูตรที่มีความเข้มข้นของคอนดิชันนิ่งมากกว่าคนที่ผมมัน หรือผมแห้งเสียควรเลือกใช้สูตรที่มีส่วนผสมเข้มข้นพิเศษเพื่อการฟื้นฟูผมแห้งเสียสะสม ที่ผ่านการดัดยืด หรือทำสี ช่วยซ่อมแซมผมแห้งเสียสะสมตลอดทั้งเส้นผม เป็นต้น “ไม่ว่าคุณจะมีสภาพเส้นผมแบบไหน ก็ควรจะใช้ครีมนวดผมหลังสระทุกครั้ง แต่สิ่งสำคัญคือควรจะเลือกใช้ครีมนวดผมให้เหมาะกับสภาพเส้นผมของตนเอง แม้แต่ผมธรรมดาซึ่งมีสุขภาพเส้นผมดีอยู่แล้ว ก็ควรใช้เป็นประจำด้วย เพื่อเพิ่มเกราะป้องกันให้กับเส้นผมจากมลภาวะต่างๆ ผมจะได้แข็งแรงอยู่เสมอ” ส่วนวิธีใช้ครีมนวดผมที่ถูกวิธีนั้น ควรชโลมตั้งแต่ตรงกลางผมลงไปถึงปลายผม ใช้ปลายนิ้วลูบไล้ครีมนวดผมให้ทั่วเส้นผมแล้วทิ้งไว้ 1-2 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็นตั้งแต่โคนไปสู่ปลายเส้นผม ซึ่งจะช่วยปิดเกล็ดผมและเก็บกักความชุ่มชื้นไว้ภายใน แต่สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งก็คือ ไม่ควรชโลมครีมนวดผมลงที่หนังศีรษะเป็นอันขาด เพราะจะทำให้หนังศีรษะมัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการนวดหนังศีรษะ เพราะครีมนวดนั้นถูกออกแบบมาให้บำรุงเฉพาะเส้นผม นอกจากทำความสะอาดผมเป็นประจำแล้ว ควรหมั่นอบไอน้ำและทำทรีทเมนต์ เดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะและบำรุงเส้นผมอย่างล้ำลึก รวมทั้งยังเป็นการทำให้ผมได้พักผ่อนอีกด้วย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะอาจจะทำให้ผมร่วง ส่วนอาหารที่รับประทานก็มีผลต่อผม โดยเฉพาะ หนังศีรษะที่ช่วยห่อหุ้มรากผมและบำรุงเลี้ยงผมให้สมบูรณ์ สารอาหารหลักๆ ที่มีคุณค่าต่อผม ได้แก่ ไอโอดีน เช่น สาหร่าย หอย กุ้ง สับปะรด และกระเทียม เป็นต้น ซิลิคอน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดง แตงกวา สตรอเบอรี หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี และผักกาดหอม กำมะถัน เช่น หัวไชเท้า หัวหอมใหญ่ หอมแดง และแอปเปิ้ล รวมทั้งในกลุ่มธาตุเหล็กและแมงกานีส ก็เช่นเดียวกัน
Sunday, November 11, 2007
ครีมนวดผมสำคัญไฉน
ผมไม่มีน้ำหนัก จัดทรงยาก ชี้ฟู ไม่เป็นประกาย เปราะขาดง่าย จนถึงผมแห้งเสียแตกปลาย ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสุขภาพผมเข้าขั้นโคม่า ไปแล้วทุกที สาเหตุที่ทำให้เกิดผมแห้งเสียก็มีหลายประการ ทั้ง แสงแดด หรือความร้อนจากการไดร์ผม การหนีบผม หรือสารเคมี ที่เกิดการย้อมผม ทำไฮไลต์ ดัดผม ฯลฯ ดังนั้น เมื่อเส้นผมส่วนที่งอกออกมาจากรากผมนั้นถือว่าเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว จึงไม่สามารถสมานแผล หรือรักษาตัวเองได้เหมือนกับเซลล์ผิวหนัง และจำเป็นต้องได้รับการดูแลและปกป้องจากปัจจัยต่างๆ ที่ทำร้ายผม หนึ่งในวิธีการดูแลสุขภาพเส้นผมด้วยตนเองง่ายๆ ทำได้ที่บ้าน นั่นก็คือ การเลือกใช้ “ครีมนวดผม” หรือ “คอนดิชั่นเนอร์” นั่นเอง ล่าสุด โดฟ ได้พัฒนา “โดฟ ครีมคอนดิชั่นเนอร์ ใหม่” ขึ้นเพื่อตอบโจทย์สาวที่มีปัญหาผมแห้งเสีย เพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุดยิ่งขึ้นด้วย จตุรพร สรรพวัฒน์ Product Development Manager บจก.ยูนิลีเวอร์ไทย กล่าวถึงความสำคัญของ “ครีมนวดผม” ว่า ถ้าใช้เป็นประจำทุกครั้งหลังสระผมจะช่วยคืนความชุ่มชื้นสู่เส้นผม และสมานรอยแตกของเส้นใยผมที่แห้งเสีย พร้อมสร้างเกราะบางๆ ปิดเกล็ดผม ป้องกันไม่ให้ผมถูกทำลายได้ง่าย เกราะที่สร้างขึ้นนี้จะทำหน้าที่เหมือนสารหล่อลื่นให้กับเส้นผม ผมจึงกลับชุ่มชื้น นุ่มลื่น ไม่พันกัน สำหรับวิธีเลือกคอนดิชันเนอร์ให้เหมาะกับสภาพเส้นผมของตนเองนั้น ถ้าผมแห้งก็ควรจะใช้สูตรที่มีความเข้มข้นของคอนดิชันนิ่งมากกว่าคนที่ผมมัน หรือผมแห้งเสียควรเลือกใช้สูตรที่มีส่วนผสมเข้มข้นพิเศษเพื่อการฟื้นฟูผมแห้งเสียสะสม ที่ผ่านการดัดยืด หรือทำสี ช่วยซ่อมแซมผมแห้งเสียสะสมตลอดทั้งเส้นผม เป็นต้น “ไม่ว่าคุณจะมีสภาพเส้นผมแบบไหน ก็ควรจะใช้ครีมนวดผมหลังสระทุกครั้ง แต่สิ่งสำคัญคือควรจะเลือกใช้ครีมนวดผมให้เหมาะกับสภาพเส้นผมของตนเอง แม้แต่ผมธรรมดาซึ่งมีสุขภาพเส้นผมดีอยู่แล้ว ก็ควรใช้เป็นประจำด้วย เพื่อเพิ่มเกราะป้องกันให้กับเส้นผมจากมลภาวะต่างๆ ผมจะได้แข็งแรงอยู่เสมอ” ส่วนวิธีใช้ครีมนวดผมที่ถูกวิธีนั้น ควรชโลมตั้งแต่ตรงกลางผมลงไปถึงปลายผม ใช้ปลายนิ้วลูบไล้ครีมนวดผมให้ทั่วเส้นผมแล้วทิ้งไว้ 1-2 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเย็นตั้งแต่โคนไปสู่ปลายเส้นผม ซึ่งจะช่วยปิดเกล็ดผมและเก็บกักความชุ่มชื้นไว้ภายใน แต่สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งก็คือ ไม่ควรชโลมครีมนวดผมลงที่หนังศีรษะเป็นอันขาด เพราะจะทำให้หนังศีรษะมัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงการนวดหนังศีรษะ เพราะครีมนวดนั้นถูกออกแบบมาให้บำรุงเฉพาะเส้นผม นอกจากทำความสะอาดผมเป็นประจำแล้ว ควรหมั่นอบไอน้ำและทำทรีทเมนต์ เดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณหนังศีรษะและบำรุงเส้นผมอย่างล้ำลึก รวมทั้งยังเป็นการทำให้ผมได้พักผ่อนอีกด้วย นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงความเครียด เพราะอาจจะทำให้ผมร่วง ส่วนอาหารที่รับประทานก็มีผลต่อผม โดยเฉพาะ หนังศีรษะที่ช่วยห่อหุ้มรากผมและบำรุงเลี้ยงผมให้สมบูรณ์ สารอาหารหลักๆ ที่มีคุณค่าต่อผม ได้แก่ ไอโอดีน เช่น สาหร่าย หอย กุ้ง สับปะรด และกระเทียม เป็นต้น ซิลิคอน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดง แตงกวา สตรอเบอรี หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี และผักกาดหอม กำมะถัน เช่น หัวไชเท้า หัวหอมใหญ่ หอมแดง และแอปเปิ้ล รวมทั้งในกลุ่มธาตุเหล็กและแมงกานีส ก็เช่นเดียวกัน
Wednesday, October 17, 2007
ถูกนินทาว่าร้าย ทำอย่างไรจึงจะหายทุกข์
1. เป็นธรรมดาของโลก ให้คิดว่านี่เป็นธรรมดาของโลก ไม่เคยมีใครสักคนบนโลกนี้ที่รอดพ้นจากคำนินทา เพราะแม้แต่พระพุทธเจ้าของเรา ขนาดท่านเป็นผู้ที่ประเสริฐบริสุทธิ์สูงสุด แต่ท่านก็ยังไม่พ้นถูกคนพาลกล่าวโจมตีว่าร้ายจนได้ แล้วนับประสาอะไรกับเราที่เป็นแค่คนธรรมดาสามัญที่ยังมีทั้งดีและชั่วจะรอดพ้นปากคนนินทาไปได้ คิดอย่างนี้แล้วจะได้สบายใจว่า การถูกนินทานี่เป็นแค่เรื่องธรรมดา เกิดขึ้นมาพร้อมกับโลก (โลกธรรม) และ ยังคงมีอยู่ต่อไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย 2. ให้มีจิตใจมั่นคงดุจภูผาถ้าเรามีความบริสุทธิ์ใจ ทำการงานด้วยความตั้งใจปรารถนาดี แต่แล้วก็ยังไม่พ้นถูกคนนินทา กล่าวร้ายว่าอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ขอให้เรามีความมั่นใจในความดีของเรา อุปมาภูผาหินแท่งตันไม่หวั่นไหวในลมพายุฉันใด บัณฑิตผู้มีจิตใจหนักแน่นในความดี ย่อมไม่หวั่นไหวในคำสรรเสริญ และ คำนินทาแม้ฉันนั้น 3. ให้มีจิตเมตตาสงสารผู้นินทาให้คิดด้วยความเมตตากรุณาว่า คนที่นินทาเรานั้น ย่อมกระทำไปด้วยความอิจฉาริษยา เขาจะต้องเผาลนจิตใจของเขาให้ร้อนรุ่มเสียก่อน จึงจะสามารถพูดนินทาว่าร้ายคนอื่นออกมาได้ ให้คิดเมตตาสงสาร แทนที่จะไปโกรธเคืองเขา อนึ่ง คนที่ชอบกล่าววาจาส่อเสียด หรือ ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น โดยปรกติเขาย่อมเป็นผู้หามิตรสหายที่ใกล้ชิดไม่ค่อยได้ เพราะไม่เคยมีใครไว้วางใจคนที่ชอบนินทาว่าร้ายผู้อื่น ให้คิดเห็นใจเขาในฐานะที่เขาต้องเป็นผู้อยู่ในโลกนี้ด้วยความรู้สึกโดดเดี่ยว เพราะเขาย่อมหาเพื่อนแท้ไม่ได้ 4. คิดหาประโยชน์จากคำนินทาคนที่คิดกล่าวร้ายเรา บางทีเขาต้องไปนั่งคิดนอนคิดหาจุดอ่อนในตัวของเรา เพื่อเอามาพูดโจมตี บางทีจุดอ่อนเหล่านี้ตัวเราเองก็มีอยู่จริงแต่ทว่าเราไม่รู้ตัวมาก่อน นี้เป็นประโยชน์มาก เพราะเราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาพัฒนาปรับปรุงตนเองได้ ดังนั้นเราจึงควรที่จะขอบคุณคนนินทาเรา เพราะเขาอุตส่าห์ไปนั่งคิดนอนคิดช่วยค้นหาข้อมูลมาช่วยให้เราปรับปรุงตนเอง 5. คิดวิเคราะห์ให้เห็นปัญหาสังคมสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง คือเน้นเรื่องการใช้อำนาจครอบงำกันและกัน จึงมีการปลูกฝังสอนให้คิดแข่งดีแข่งเด่น คิดเหนือผู้อื่น สอนให้อยากเป็นใหญ่เป็นโต (มานะ) มาตั้งแต่โบราณ (คาดว่าไม่ต่ำกว่าห้าร้อยปี คือตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น) ทำให้คนไทยเรา เวลาเห็นใครทำดี ก็มักจะเกิดความริษยาโดยไม่รู้ตัว คือทนไม่ได้ที่จะเห็นคนอื่นดีกว่าตน สังคมที่มีความสัมพันธ์ในแนวดิ่งเช่นนี้ ผู้คนจึงมักจะชอบนินทาว่าร้ายกันและกันเป็นเรื่องธรรมดาถ้าคิดวิเคราะห์ได้เช่นนี้แล้วก็สบายใจ ไม่ต้องไปเดือดเนื้อร้อนใจอะไรมาก ให้ถือว่าการที่เราถูกนินทานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ทางสังคมก็แล้วกัน มันเป็นเช่นนั้นเอง ในอนาคตไม่แน่ หากมีการศึกษาเรื่องพุทธธรรมกับสังคมไทยกันอย่างจริงจัง บางทีเราอาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมจาก “แนวดิ่ง” ให้เป็น “แนวราบ” คือ คนไทยมีความเสมอภาคกัน ไม่ถืออำนาจเป็นใหญ่ แต่ถือความถูกต้องดีงามเป็นใหญ่ เมื่อถึงเวลานั้นสังคมที่เต็มไปด้วยการนินทาว่าร้ายก็จะลดน้อยลงไปเองตามธรรมชาติ แล้วภาษิตยอดฮิตที่ว่า “สังคมเสื่อมถอยเพราะคนดีท้อแท้” หรือ “ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย” จะได้เลิกใช้กันเสียที
Saturday, September 22, 2007
Sunday, September 16, 2007
กำเนิดปากกา
Saturday, August 11, 2007
คนแรกของโลก
ผู้ที่เดินเรือรอบโลกสำเร็จเป็นคนแรก (เฟอร์ดินันท์ แมคเจลแลนด์ ชาวโปรตุเกส)
ผู้ค้นพบหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นคนแรก (เฟอร์ดินันท์ แมคเจลแลนด์)
ผู้ค้นพบเกาะฮาวายเป็นคนแรก (กัปตันคุก นักเดินเรือชาวอังกฤษ)
นักท่องเที่ยวชาวเวนิชคนแรกที่เดินทางไปประเทศจีน สมัยพระเจ้ากุบไลข่าน คือ (มาร์โคโปโล)
นักเดินเรือคนแรกที่เดินทางไปถึงทวีปอเมริกา (อเมริโกเวสปุสชี)
ผู้ที่สามารถเดินทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปถึงอินเดียสำเร็จเป็นคนแรก (วาสโกดา กามา นักเดินเรือชาวฝรั่งเศส)
ผู้ที่สามารถเดินทางไปถึงเกาะออสเตรเลียเป็นคนแรก (จันสซ์ นักสำรวจชาวฮอลันดา)
ผู้ที่พบมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นคนแรก (บัลบัว นักสำรวจชาวสเปน)
ผู้ที่พบเม็กซิโกเป็นคนแรก (เฮอร์แมน โคเคอเตส ชาวสเปน)
ผู้ที่พบฟลอริดาเป็นคยแรก (ลีออน ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2064)
ผู้ที่พบคองโกเป็นคนแรก (เฮนลีย์ แสตนเล่ย์ ชาวอังกฤษ)
ผู้ที่พบอียิปต์เป็นคนแรก (เจมส์ บรู๊ค ชาวอังกฤษ)
ผู้ที่ค้นพบขั้วโลกเหนือของแม่เหล็กอยู่ทางตอนเหนือของแคนนาดา (เจมส์ คล้าก รอสส์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2374)
ผู้ที่ค้นพบขั้วโลกใต้ของแม่เหล็กอยู่ทางตอนใต้ของ South Victoria (ดักลาส มอสัน ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2452)
ผู้ที่สำรวจขั้วโลกใต้สำเร็จเป็นคนแรก (โรลด์ อิมุนเสน ชาวนอรเวย์)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นคนแรก (ไมเคิล ฟาราเดย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2374)
ผู้ประดิษฐ์รถแทร็กเตอร์เป็นคนแรก (เบนจามิน ฮอลด์ ชาวอเมริกา ในปี พ.ศ.2443)
ผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่เป็นคนแรก (อเล็กซานโดร โวลตา ชาวอิตาลี ในปี พ.ศ.2342)
ผู้ประดิษฐ์สไลด์รูลเป็นคนแรก (ออเทรด ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2163)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำเป็นคนแรก (เจมส์ วัตต์ ชาวสก็อต ในปี พ.ศ.2312)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ไฟฟ้าเป็นคนแรก (ออตโต ฟอน กูริค ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2180)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องกิโยตินเป็นคนแรก (อังตวนหลุย ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2335)
ผู้ประดิษฐ์ตะเกียงเจ้าพายุเป็นคนแรก (เชอร์ ฮัมฟรี เดวีย์ ชาวอังกฤษ)
ผู้ที่ใช้ปรอททำเทอร์โมมิเตอร์เป็นคนแรก (กาเบรียล ดาเนียล ฟาเรนไฮต์ ชาวเยอรมัน)
ผู้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์เป็นคนแรก (กาลิเลโอ ชาวอิตาลี)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องยนต์ใช้น้ำมันแก๊สโซลีนเป็นคนแรก (เดมเลอร์)
ผู้ประดิษฐ์ไฟฟ้า เครื่องบันทึกเสียง จานเสียง เป็นคนแรก (โทมัส อัลวา เอดิสัน ชาวอเมริกา)
ผู้ประดิษฐ์กลจักรรถไฟเป็นคนแรก (ยอร์จ สตีเฟนสัน ชาวอังกฤษ)
ผู้ประดิษฐ์ลูกบอลลูนเป็นคนแรก (โยเซฟ และเอเตียน มองต์โกลฟิเอร์ ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2326)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องบินไอพ่นเป็นคนแรก (แฟรงค์ วิตเติล ชาวอังกฤษในปี พ.ศ.2480)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องบินเป็นคนแรก (สองพี่น้องตระกูลไรท์ คือ วิลเบอร์ ไรท์ และออร์วิล ไรท์ ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2446)
ผู้ประดิษฐ์เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินสี่เครื่องยนต์เป็นคนแรก (อิกอร์ อิวาน โนวิซซี คอร์สกี้ ชาวรัสเซีย ในปี พ.ศ.2482)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องกลไฟเป็รคนแรก (โรเบิร์ต ฟุลสตัน ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2350)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขเป็นคนแรก ( แซมมวล มอร์ส ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2387)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องโทรศัพท์เป็นคนแรก (อเล็กซานเดอร์ เกรแฮมเบลล์ ชาวสก๊อต ในปี พ.ศ.2418)
ผู้ประดิษฐ์วิทยุเป็นคนแรก (มาร์โคนี ชาวอิตาลี ในปี พ.ศ.2422)
ผู้พบไฟฟ้าในอากาศ และประดิษฐ์สายล่อฟ้า เป็นคนแรก (เบนจามิน แฟรงคลิน ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2295)
ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาเดินเรือเป็นคนแรก (ทอร์รา เชลลี ชาวอิตาลี ในปี พ.ศ.2151-2190)
ผู้ประดิษฐ์เข็มทิศเป็นคนแรก (จอห์น แฮริสัน ชาวอังกฤษ)
ผู้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์สำเร็จเป็นคนแรก (วิลเลียม แคกซ์ตัน ชาวอังกฤษ)
ผู้ประดิษฐ์บารอมิเตอร์เป็นคนแรก (วิลเลียม ทอมสันเคลวิน ชาวอังกฤษ)
ผู้ประดิษฐ์เลนส์พิเศษสำหรับภาพยนตร์จอกว้างแบบซิเนมาสโคปคือ (อังรี เครเตียน ชาวฝรั่งเศส)
ผู้ประดิษฐ์กล้องและฟิล์มถ่ายรูปสำเร็จเป็นคนแรก (โทมัส เวดจ์วู๊ด ชาวอังกฤษ)
ชาติใดประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นชาติแรกของโลก (อียิปต์)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องวัดเวอร์เนียร์คือ (ปีแอร์ เวอร์เนียร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส)
ผู้ประดิษฐ์ตะเกียงบุนเสนคือ (โรเบิร์ต วิลเฮล์ม บุนเสน ชาวเยอรมัน)
ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาแดดเป็นคนแรก (อแน็ค ซิเมเดอร์ นักปรัชญาชาวกรีก)
ผู้ประดิษฐ์ฝนเทียมสำเร็จเป็นคนแรก (เออร์วิง แลงมัว ชาวอเมริกัน)
ผู้ประดิษฐ์กล้องโกดักเป็นคนแรก (ยอร์จ อีสต์แมน ชาวอเมริกา)
ผู้ให้กำเนิดการวัดด้วยหลาคือ (พระเจ้าเฮนรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษ)
ผู้ให้กำเนิดการวัดด้วยฟุตคือ (พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส)
ผู้ประดิษฐ์ปากกาสำหรับเขียนหนังสือคือ (แฮริสัน ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2323)
ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาไขลานคือ (เฮอร์ลิบ ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2020)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดคือ (คูเตนเบิร์ก ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2000)
ผู้ประดิษฐ์เรือเหาะเป็นคนแรก (กิฟฟาร์ด ชาวฝรั่งเศส)
ผู้ประดิษฐ์เครื่องดับเพลิงเป็นคนแรก (โจเซฟ บรามาส์ ชาวอังกฤษ)
ผู้ประดิษฐ์เหล็กกล้าจากเหล็กหล่อเป็นคนแรก (เฮนรี่ เบสเซมเบอร์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2399)
ผู้ประดิษฐ์เตารีดไฟฟ้าเป็นคนแรก (โรเบิร์ต แฮร์ ชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2324)
ผู้ประดิษฐ์กระติกน้ำร้อน และกระติกน้ำแข็งเป็นคนแรก (เดวาร์ ชาวสก็อต)
ผู้ที่รู้จักคานงัด คานดีด เขากล่าวว่า "ถ้าข้าพเจ้าสามารถออกไปยืนนอกโลกได้ เขาสามารถใช้คานงัดโลก เขาสามารถใช้คานงัดโลกให้ กระเด็นได้" คือ (อาร์คี เมดิส)
ผู้ประดิษฐ์ชวเลขแบบเกร๊กก์เป็นคนแรก (จอห์น โรเบิร์ต เกร๊กก์ ชาวอังกฤษ)
ผู้ที่พบกฎของความต้านทานไฟฟ้า วึ่งตั้งชื่อว่ากฎของโอห์มคือ (ยอร์จ ซิมมอล โอห์ม นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน)
ผู้ที่พบว่าราที่ชื่อว่าเพ็นนิซิเลียม สามารถนำมาทำเป็นยาเพนนิซิลิน สำหรับแก้หนองได้ (อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง)
ผู้ที่พบวิธีป้องกันและรักษาโรคอหิวาตกโรคไข้เหลืองกามโรค โรคกลัวน้ำและการฉ๊ดวัคซีนเป็นคนแรก (หลุยส์ ปาสเตอร์ ชาวฝรั่งเศส)
ผู้ที่พิสูจน์ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการฆ่าเชื้อโรคก่อนทำการผ่าตัด (โยเซฟ ลิสเตอร์ ชาวอังกฤษ)
ผู้ที่พบวงจรโลหิตเป็นคนแรกในโลก (วิลเลียม ฮาร์วี นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ)
ผู้ที่พบกฎการดึงดูดของโลก (เซอร์ ไอ แซคนิวตัน)
หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า ตั้งตามชื่อของ (อังเดรมารีแอมแปร์ ชาวฝรั่งเศส)
นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่เชื้อชาติเยอรมัน ผู้ตั้งทฤษฎีสัมพันธภาพคือ (อัลเบิร์ต ไอน์สไตลน์)
ผู้คิดวิชาเรขาคณิตขึ้นเป็นชาติแรก (ยุคลิด นักคำนวณ ชาวกรีก)
ผู้ได้ชื่อว่า เป็นผู้ริเริ่มการพยาบาลแผนใหม่คือ (ฟลอเรนซ์ ไนติงเกิล สตรีชาวอังกฤษ)
ผู้คิดและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ยางเป็นคนแรกคือ (ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ ชาวอเมริกัน)
ผู้ประดิษฐ์จรวดเป็นคนแรก (ดร. โรเบิร์ต ฮัทชิงส์ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน)
ผู้ที่ค้นพบกระแสแม่เหล็กไฟฟ้าคนแรกของโลก (ไฮน์ริช เฮอร์ท นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน)
ผู้ที่ค้นพบแสงเอ๊กซเรย์เป็นคนแรก (วิลเฮล์ม เรินก์เก็น ชาวเยอรมัน)
ผู้ที่ค้นพบวิธีปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเป็นคนแรก (เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ชาวอังกฤษ)
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น บิดาของทฤษฎีปรมาณูคือ (เดวิด บอห์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเดนมาร์ก)
ผู้ประดิษฐ์ภาพยนตร์เป็นคนแรก (วิลเลี่ยม ฟรีสกรีน ชาวอเมริกัน)
ผู้ให้กำเนิดวิชาทำแผนที่เป็นคนแรกคือ (อแน็ค ซิมิเตอร์ นักปรัชญาชาวกรีก)
ผู้ให้กำเนิดวิชาเรขาคณิตเป็นคนแรกของโลก (ปีทากอรัส ชาวกรีก)
ผู้ประดิษฐ์ยางดันล็อป (ดันล็อป ชาวอังกฤษ)
ผู้ค้นพบออกซิเจนเป็นคนแรก (โจเซฟ เพรสเล่ย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2317)
ผู้ค้นพบไนโตรเจนเป็นคนแรก (ดาเนียล รัทเธอร์ฟอร์ด ชาวสก๊อต ในปี พ.ศ.2315)
ผู้ค้นพบฮีเลียมเป็นคนแรก (เชอร์วิลเลี่ยม แรมเชย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2438)
ผู้ค้นพบโซเดียมเป็นคนแรก (ดูฮัมเมล เดอมอลซิน ชาวฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2309)
ผู้ค้นพบธาตุเรเดียมเป็นคนแรก (ปีแอร์ และมาดามคูรี ชาวโปแลนด์ ในปี พ.ศ.2441)
ผู้ค้นพบโปตัสเซียมเป็นคนแรก (เซอร์ฮัมฟรีเดวีย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2350)
ผู้ค้นพบธาตุแคลเซียมเป็นคนแรก (เซอร์ฮัมฟรีเดวีย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2351)
ผู้ค้นพบธาตุแบเรียมเป็นคนแรก (เซอร์ฮัมฟรีเดวีย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2351)
ผู้ค้นพบแมงกานีสเป็นคนแรก (โยฮันน์ กัม ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2317)
ผู้ค้นพบนิเกิลเป็นคนแรก (เซอร์ วิลเลี่ยม ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ.2441)
ผู้ค้นพบธาตุยูเรเนียมเป็นคนแรก (มาร์ติน แครมพร็อธ ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ.2332)
ผู้ค้นพบธาตุอาร์กอนเป็นคนแรก (ลอร์ดราเลย์ และเซอร์วิลเลี่ยม แลมเชย์ ชาวอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2437)
ผู้ค้นพบคลอรีนเป็นคนแรก (คาร์ลสคีล ชาวสวีเดน ในปี พ.ศ.2317)
ผู้ค้นพบไฮโดรเจนเป็นคนแรก (เฮนรี คาเวนดีช ชาวอังกฤษ ในปีพ.ศ.2309)
ผู้ค้นพบแมกนีเซียมเป็นคนแรก (โจเซฟ แบล็ค ชาวสก๊อต ในปี พ.ศ. 2298)
ผู้ที่ไต่ถึงยอดเขาเอเวอร์เรสต์สำเร็จเป็นคนแรก (พ.อ.จอห์นฮันต์ นักสำรวจชาวอังกฤษ)
ผู้ที่ได้รับสมญานามว่า "ราชาหนังสือพิมพ์" เป็นคนแรก (ลอร์ด นอธคลิฟ ชาวอังกฤษ)
ผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิคคือ (บารอน ปีแอร์ เดอคู แปร์แดง จัดครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก)
ผู้ที่ให้กำเนิดไปรษณีย์เป็นคนแรก (พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซีย)
ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นราชาการ์ตูน (วอลเทอร์ ดิสนีย์ ชาวอเมริกัน)
สตรีคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นประธานสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (นางวิชัยลักษณมี บัณฑิตแห่งอินเดีย)
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดดาราศาสตร์สมัยใหม่คือ (กาลิเลโอ ชาวอิตาลี)
วีรสตรีชาวฝรั่งเศสผู้นำทัพรบชนะทหารอังกฤษ ที่ล้อมเมืองออร์ลีน จนได้รับสมญานามว่าเป็นแม่มดแห่งออร์ลีนคือ (โจน ออฟ อาร์ค)
ผู้ริเริ่มการลูกเสือเป็นคนแรกคือ (ลอร์ด เบเดนเพาเวลล์ ชาวอังกฤษ)
ผู้อำนวยการขุดคลองสุเอชจนสำเร็จคือ (เฟอร์ดินันน์ เดอเลสเซฟ วิศวกร ชาวฝรั่เศส)
วิศวกรขุดคลองปานามาจนสำเร็จคือ (โกเธลล์ วิศวกรชาวอเมริกัน)
ผู้ที่ค้นพบส่วนประกอบของอากาศและการเผาไหม้เป็นคนแรกคือ (ลาวัวซิเอย์ เบรลล์ ชาวฝรั่งเศส)
ผู้ปรับปรุงและคิดวิธีอ่านเขียนหนังสือของคนตาบอดคือ (หลุยส์ เบรลล์ ชาวฝรั่งเศส)
ผู้ที่ได้ชื่อว่าราชาไข่มุกของโลกคือ (มิกิโตโกะ ชาวญี่ปุ่น)
ผู้ที่จัดตั้งรางวัลโนเบลคือ (อัลเฟรดเบอนาร์ด โนเบล นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน)
โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก คือ (เลดี้ อะดา
มันมากับปลาดิบ
ปลาดิบมี 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ ปลาดิบน้ำจืด และปลาดิบน้ำเค็ม (ปลาดิบทะเล) ซึ่งปลาดิบทั้ง 2 ชนิดมีเชื้อโรคที่แอบแฝงมาแตกต่างกัน ปลาดิบน้ำจืด อาจพบพยาธิ บางชนิดแอบแฝงมา เช่น พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ตับ พยาธิใบไม้ลำไส้ ฯลฯ
คนส่วนมากมักคิดว่า ปลาน้ำเค็มนั้นไม่มีพยาธิ แต่ในความจริงในปลาน้ำเค็มนั้นอาจพบตัวอ่อนของพยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) ได้ แต่โชคดีที่การพบพยาธิในปลาน้ำเค็มนั้น พบน้อยกว่าในปลาน้ำจืดมากและพยาธิในปลาดิบน้ำเค็มก็มีความรุนแรงน้อยกว่าด้วยนอกจากนี้ ปลาดิบที่นำมาประกอบอาหารญี่ปุ่นมักจะทำจากปลาน้ำเค็ม
‘‘อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งชะล่าใจว่ากินปลาดิบน้ำเค็มจะปลอดภัย 100% พยาธิอะนิซาคิส ถึงแม้ไม่พบบ่อย ไม่ถึง10 รายต่อปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ก็ก่อความรุนแรงได้มาก พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่น และเขตร้อน ในประเทศไทยตรวจพบ ตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในปลามากกว่า 20 ชนิดเช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน เป็นต้น ระยะตัวอ่อน ที่ติดต่อสู่คนจะอยู่ในอวัยวะภายในช่องท้องของปลาทะเล มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ บริเวณปากจะมีหนามขนาดเล็ก บริเวณปลายหางจะมีส่วนแหลมยื่นออกมา พยาธิชนิดนี้จะใช้หนามขนาดเล็กและใช้ปลายหางแหลมในการไชผ่านเนื้อเยื่อต่างๆ
เมื่อพยาธิชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดแผลขนาดเล็ก และอาจทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ ส่งผลให้ผู้ที่มีพยาธิชนิดนี้ในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด อาการมักไม่เฉพาะเจาะจงคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร บางรายอาจมีอาการท้องเสีย หรือ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดถ้ามีแผลในกระเพาะขนาดใหญ่ อาการมักจะเริ่มเกิดหลังรับประทานอาหารที่มีพยาธิชนิดนี้ เป็นชั่วโมง หรือเป็นวันก็ได้
การวินิจฉัย และการรักษา ทำโดยการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ถ้าพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ก็ใช้กล้องคีบตัวพยาธิออก พยาธิชนิดนี้ไม่สามารถตรวจพบได้ในอุจจาระ เนื่องจากมันจะเกาะติดแน่นกับกระเพาะอาหารและลำไส้
การรับประทานปลาดิบอย่างถูกวิธี ควรต้องแน่ใจว่า ปลาดิบที่นำมาทำอาหารนั้น เป็นปลาทะเล เพราะบางครั้งผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นำปลาน้ำจืดหลายชนิดมาทำอาหาร การแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -35 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 15 ชั่วโมง หรือต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 7 วัน หรือผ่านความร้อนมากกว่า 60 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5 นาที ก่อนการประกอบอาหารจะทำให้พยาธิชนิดนี้ตายได้
Monday, July 30, 2007
10 พฤติกรรมที่ทำให้เป็นโรคสมองฝ่อเร็ว
1. ไม่ทานอาหารเช้า หลายคนคิดว่าไม่ทานอาหารเช้า แล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่นี่จะเป็นสาเหตุให้สารอาหารไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้สมองเสื่อม
2. กินอาหารมากเกินไป การกินมากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคความจำสั้น
3. การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคสมองฝ่อและโรคอัลไซเมอร์
4. ทานของหวานมากเกินไป จะไปขัดขวางการดูดกลืนโปรตีนและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เป็นสาเหตุของการขาดสารอาหารและขัดขวางการพัฒนาของสมอง
5. มลภาวะ สมองเป็นส่วนที่ใช้พลังงานมากที่สุดในร่างกาย การสูดเอาอากาศที่เป็นมลภาวะเข้าไปจะทำให้ออกซิเจนในสมองมีน้อยส่งผลให้ประสิทธิภาพของสมองลดลง
6. การอดนอน การนอนหลับจะทำให้สมองได้พักผ่อน การอดนอนเป็นเวลานานจะทำให้เซลล์สมองตายได้
7. นอนคลุมโปง จะเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้นและลดออกซิเจนให้น้อยลงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมอง
8. ใช้สมองในขณะที่ไม่สบาย การทำงานหรือเรียนขณะที่กำลังป่วย จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลงเหมือนกับการทำร้ายสมองไปในตัว
9. ขาดการใช้ความคิด การคิดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการฝึกสมอง การขาดการใช้ความคิดจะทำให้สมองฝ่อ
10. เป็นคนไม่ค่อยพูด ทักษะทางการพูดจะเป็นตัวแสดงถึงประสิทธิภาพของสมอง
น้ำตาลแฝงในน้ำผลไม้อาจเกิดอันตรายได้
ส่วนการรณรงค์ให้คนไทยดื่มน้ำผลไม้ โฆษก สธ.กล่าวว่า เป็นเพียงการปรับพฤติกรรมจากการเคยดื่มน้ำเปล่าไปดื่มน้ำผลไม้เท่านั้น ขณะที่ผลดีต่อสุขภาพจะน้อยกว่ากินผลไม้สด จึงขอให้ใช้ความรอบคอบในการรณรงค์ว่าจะเกิดผลคุ้มค่าหรือไม่ การแปรรูปผลไม้ที่เหลือจากการกินสดเพื่อเป็นน้ำผลไม้นั้น ควรส่งเสริมเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่มีวัฒนธรรม และค่านิยมดื่มน้ำผลไม้แทนน้ำเปล่า
นายสง่า กล่าวเพิ่มเติมว่า น้ำผลไม้ที่วางขายอยู่ท้องตลาดมีกรรมวิธีการผลิต 2 รูปแบบ คือการคั้นด้วยมือแล้วบรรจุขวดและการผลิตผ่านโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมักจะเติมสารอาหารและสารเพิ่มรสชาติ ซึ่งมีโอกาสสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะวิตามินต่างๆ ไปมาก ที่ประชาชนควรระมัดระวังให้มากคือ น้ำผลไม้บางชนิดมีรสชาติที่เข้มข้น โดยเฉพาะรสหวานจัดที่มาจากการผสมน้ำตาล ถ้าดื่มติดต่อกันนานๆ จะก่อให้เกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ตามมาได้ รวมทั้งให้เสียโอกาสที่จะได้สารอาหารและใยอาหารไปโดยไม่จำเป็น นักวิชาการด้านโภชนาการส่วนมากเห็นพ้องต้องกันว่า น้ำดื่มที่ดีที่สุดต่อสุขภาพ คือ น้ำเปล่าที่สะอาด วันหนึ่งควรดื่มประมาณ 8-10 แก้ว
Tuesday, July 17, 2007
โทษของน้ำอัดลม
Friday, June 29, 2007
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม บรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพระชนมายุได้ ๓ เดือน ได้ตามเสด็จพระบรมชนกนาถและพระราชมารดา ไปประทับอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จนพระชนมายุได้ ๓ พรรษา จึงเสด็จกลับ ประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระราชชนนีได้นำเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ เมื่อ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ ๑๐พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวรรตน์จาตุรงต์ เป็นประธาน ต่อมาพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา เป็น ประธาน พระองค์มีน้ำพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาในพสกนิกร โปรดการ ศึกษา การกีฬา การช่างและการดนตรี ได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิต- เซอร์แลนด์ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบ ได้เสด็จนิวัติประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงได้ถวายราชกิจเพื่อให้ทรงบริหารโดยพระราชอำนาจ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ได้เกิดเหตุการณ์อันไม่คาดฝัน พระองค์ต้องอาวุธปืน เสด็จสวรรคตณ ที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง ยังความเศร้าสลด และความอาลัยรักจากพสกนิกรเป็นที่ยิ่ง
พระราชกรณียกิจที่สำคัญในระหว่างการเสด็จนิวัตประเทศ ครั้งที่ ๒โดยสรุปพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้ดังต่อไปนี้วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานพระอัฐิและพระบรมอัฐิสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราช ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ พระราชทานกระแสพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ดังมีพระราชดำรัสบางส่วนดังนี้“ในเวลาที่ข้าพเจ้าเล่าเรียนอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้าพเจ้ามีความคิดถึงท่านอยู่เสมอ จึงได้พยายามเล่าเรียนให้ดีที่สุดที่จะทำได้ เพื่อมาอยู่ร่วมมือกับท่านทุกคนในการส่งเสริมความเจริญของบ้านเมืองเรา ท่านทั้งหลายคงเห็นอยู่ว่า แม้ว่าสงครามจะสิ้นสุดลงไปแล้ว ความทุกข์ยากก็ยังมีอยู่ทั่วไปซึ่งรวมถึงบ้านเมืองไทยที่รักของเราด้วย แต่ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าคนไทยทุกคนถือว่าตนเป็นเจ้าของชาติบ้านเมือง และต่างปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรมแล้ว ความทุกข์ยากของบ้านเมืองก็จะผ่านพ้นไปได้ ข้าพเจ้าจึงขอร้องให้ท่านทุกคนได้ช่วยกันทำหน้าที่ของตนโดยแข็งขัน และขอให้มีความสามัคคีกลมเกลียวกันจริงๆ เพื่อชาติจะได้ดำรงอยู่ในความวัฒนาการสืบไป...”
วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ พระราชทานเลี้ยงน้ำชาแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ณ สวนศิวาลัยในพระบรมมหาราชวังวันที่ 28-29 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมข้าวไทยกับทีมท่าพระจันทร์วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ – วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๙ เสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลในวันขึ้นปีใหม่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมแผนที่ทหารบกฉายพระบรมฉายาลักษณ์วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินวัดเบญจมบพิตรวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนามสหประชาชาติ พร้อมด้วย ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตน ณ ท้องสนามหลวง และถนนพระราชดำเนินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร การแข่งขันเทนนิส ณ สโมสรศิษย์เก่าเทพศิรินทร์วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 เสด็จแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังสวนไกลกังวลวันที่ 8 มีนามคม พ.ศ. 2489 เสด็จนิวัตกลับพระนคร ทรงเสด็จนมัสการพระปฐมเจดีย์ และเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ทำการรัฐบาลและได้เสด็จสู่บัลลังก์ศาล จ.นครปฐมวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2489 เสด็จทอดพระเนตรเรือดำน้ำและเรือปืนศรีอยุธยาต่อมาไม่ทราบวันที่แน่นอน ทรงเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทานอุทิศถวายสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาดา ณ วัดราชาธิวาสเสด็จพระราชพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัววันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังโบราณ จ. พระนครศรีอยุธยาวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พระราชวังบางปะอิน จ. พระนครศรีอยุธยาวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีวันที่ระลึกมหาจักรี ทรงสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2489 เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ ลอร์ด หลุยส์ เมาท์แบตเตนวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถานเสาวภาวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 24 89 ลอร์ด ดินเสิร์น เจ้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองทัพอากาศวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จประพาสเยี่ยมประชาชน ณ จ.นนทบุรี และ จ.ปทุมธานีวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศนายร้อยโททหารมหาดเล็กแด่สมเด็จพระราชอนุชาวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำนินเยี่ยมประชาชน จ.สมุทรสาครวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน จ.ฉะเชิงเทรา และ เสร็จประทับบัลลังก์ ณ ศาล จ.ฉะเชิงเทราวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมร.พัน1 ร.อ.วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเทพศิรินทร์ อันเป็นสถานศึกษาเมื่อครั้งทรงพระเยาว์วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมกรมอู่ทหารเรือ และทรงขับเรือยามฝั่งวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสร็จประพาสสำเพ็งวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมประชาชน ณ สถานีเกษตรกลางบางเขน และได้ทรงหว่านเมล็ดธัญญาหารลงในแปลงงานสาธิตด้วย (เป็นพระราชกรณียกิจสุดท้าย ก่อนเสร็จสวรรคต)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
"เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2468 ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็น ประโยชน์ต่อ ประเทศชาตินานับประการ อาทิ โปรดเกล้าฯ อุปถัมภ์บำรุงกิจการหอสมุดจัดตั้ง พิพิธภัณฑสถาน สำหรับพระนคร และสร้างสะพานปฐมบรม ราชานุสรณ์พระนคร (สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ) เพื่อเชื่อมฝั่งพระนคร และธนบุร ี และทรงส่งเสริมการศึกษาของ ชาติหลายประการ คือ ให้ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีเร่งรัดการประกาศ พระราชบัญญัติ ประถมศึกษา และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จพระราชดำเนินไป พระราชทานปริญญา บัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พุทธศักราช 2473 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทรงครองราชย์: พระราชทานรัฐธรรมนูญ: "เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 คณะบุคคลซึ่งเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยพระราชดำริที่ทรงต้องการ เปลี่ยนแปลง การปกครองไปสู่ระบอบประชาธิอปไตยอยู่แล้วกอปรกับไม่ต้องการ ให้คนไทย ประหัตประหาร กันเองจึงทรงยอมรับเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญพระองค์แรก และพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญถาวร ฉบับแรกของไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ทรงสละราชสมบัติและเสด็จสวรรคต: "เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ หลังจากทรงครองราชย์เป็นเวลา 9 ปี 3 เดือน 4 วัน ขณะประทับอยู่ที่บ้าน โนลแครนลี ประเทศอังกฤษ ทั้งนี้เนื่องด้วยความคิดเห็นที่ขัดแย้งทางการเมืองบางประการ หลังจากนั้นได้ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จนกระทั่งสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พุทธศักราช 2484 ขณะมีพระชนมายุ 48 พรรษา ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นการส่วนพระองค์อย่างเรียบง่าย ปราศจากพิธีการใด ๆ ที่สุสานโกลเดอร์ส กรีน (Golders Green)พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว: "พิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งอยู่ภายในบริเวณ สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร โดยดำริของท่านอดีตประธานรัฐสภา (พลอากาาศเอกหะริน หงสกุล) เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 พร้อมกับพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็น พิพิธภัณฑ์ส่วนพระองค์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 พระราชทานสิ่งของส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นำมาจัดแสดง และเปิดให้ประชาขนทั่วไเข้าชมเป็นครั้งแรก ในพระราชพิธีเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2523
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในต้นรัชสมัย ได้ทรงดำเนินกิจการสำคัญที่ทรงเกี่ยวข้องกับต่างประเทศที่ค้างมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สำเร็จลุล่วงไป เช่น การให้สัตยาบันสนธิสัญญาต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงทำสนธิสัญญาใหม่ๆ กับประเทศเยอรมนี และทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสเกี่ยวกับดินแดนในลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่า “สนธิสัญญาอินโดจีน พ.ศ.๒๔๖๙” ทรงวางรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์สมบัตินั้น เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังตกต่ำเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศไทยได้รับความกระทบกระเทือนจากสิ่งนั้นด้วย แต่ไม่ว่าจะประสบปัญหาวิกฤตอย่างไร พระองค์ก็ทรงใช้วิจารณญาณแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ด้วยพระปรีชาสามารถอันดีตลอดมาทรงมีพระราชประสงค์ที่แน่วแน่ที่จะทรงมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนในรัชกาลของพระองค์ มีการจัดตั้งสภากรรมการขององคมนตรี อันประกอบด้วยกรรมการ ๔๐ คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓ ปี ทำหน้าที่ในการประชุมพิจารณากฎหมายและปัญหาอื่นๆ ตามแต่จะทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ทั้งทรงมีพระราชประสงค์ให้สภากรรมการองคมนตรีเป็นสภาทดลองและฝึกหัดเพื่อปลูกฝั่งวิธีการของระบบรัฐสภาต่อไปส่วนราษฎรระดับท้องถิ่นนั้นพระองค์ทรงเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนร่วมในกิจการสุขาภิบาล ซึ่งพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงกิจการให้เป็นรูปแบบการบริหารงานส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาล โดยทรงแต่งตั้งกรรมการจัดการประชาภิบาลคอยสำรวจดูงานสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วราชอาณาจักร แต่พระราชบัญญัติเทศบาลที่ร่างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ มีขั้นตอนการผ่านพิจารณาจากเสนาบดีสภา สภากรรมการองคมนตรี จึงยังมิได้ทรงประกาศพระราชบัญญัติเทศบาลดังกล่าวด้านประเพณีและวัฒนธรรมพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างค่านิยมให้มีภรรยาเพียงคนเดียวซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสังคมไทยแต่โบราณ ที่ชายไทยมักนิยมมีภรรยาหลายคนโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473 ริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับรองบุตร อันเป็นการฝังค่านิยมใหม่ทีละน้อยตามความสมัครใจ นอกจากนี้ยังทรงปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง โดยทรงมีแต่พระบรมราชินีเพียงพระองค์เดียวโดยไม่มีสนมนางใดๆทั้งสิ้นการทำนุบำรุงบ้านเมืองพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างสะพายปฐมบรมราชานุสรณ์ขึ้น ด้วยทรงระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ซึ่งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมา สะพานนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี พร้อมกับทรงชักชวนประชาชนชาวไทยร่วมกันสร้างพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่บริเวณเชิงสะพานแห่งนี้ด้วย โดยพระองค์เสด็จไปพิธีเปิดด้วยพระองค์เอง ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 และทรงโปรดให้มีมหรสพสมโภชเป็นการเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครที่มีอายุครบ 150 ปีด้วย และพระราชทานสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์”เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชฐานเพื่อเสด็จประทับ ด้วยทรงโปรดการประพาสชายทะเลเป็นอย่างมาก ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อสร้างเสร็จ ทรงพระราชทานว่า “สวนไกลกังวล” พระราชฐานแห่งนี้ประกอบไปด้วยพระตำหนักต่างๆมากมาย เช่น พระตำหนักต่างๆ มากมาย เช่น พระตำหนักเปี่ยมสุข พระตำหนักน้อย พระตำหนักปลุกเกษม พระตำหนักเอมปรีดี และศาลาเริง เป็นต้นด้านดนตรีพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทยเดิมไว้ 3 เพลง1. เพลงราตรีประดับดาว (เถา)2. เพลงเขมรละออองค์ (เถา)3. เพลงคลื่นกระทบฝั่ง๓ชั้นด้านการปกครองพระองค์ทรงโปรดเกล้าไห้ท่านผู้รู้ทำการร่างรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่ได้นำมาใช้ ครั้งตอนพระองค์เสร็จแปรพระราชฐานไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล “คณะราษฎ์” ได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง โดยเข้าควบคุมพระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์ และข้าราชการตำแหน่งสำคัญๆไว้เป็นตัวประกัน แล้วมีหนังสือไปกราบทูลเชิญเสร็จนิวัติกลับพระนคร เป็นมหากษัตริย์ภายใต้ธรรมนูญการปกครองที่คณะราษฎ์ได้ทำขึ้น พระองค์ทรงละพระบรมราชานุภาพยอมรับการเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และหลังจากที่เกิดกบฏวรเดช พระองค์ก็ทรงสละราชสมบัติด้านประเพณีและวัฒนธรรมพระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มไนการให้ชายไทยมีภรรยาเพียงคนเดียว พ.ศ. ๒๔๗๓ ทรงริเริ่มให้มีการจดทะเบียนสมรส หย่า และ รับรองบุตร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิม "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และเป็นพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ในเวลานั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระยศเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหลานเธอมาตั้งแต่ประสูติจนสิ้นรัชกาลที่ 1 เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้น ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชโอรส คนทั้งหลายเรียกกันว่า ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ ทูลกระหม่อมใหญ่ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่หรือเจ้าฟ้าใหญ่ เรียกกันอย่างนี้สืบมาจนเสวยราชย์ สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2355 ตรงกับปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1174 พระชนมายุได้ 9 พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ซึ่งทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" พ.ศ. 2359 พระชนมายุได้ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เต็ม ตามพระอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอ ชั้นเจ้าฟ้า คือ ตั้งเขาไกรลาสและที่สรงสนาน พ.ศ. 2360 ตรงกับปีฉลู ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์พ.ศ. 2367 ตรงกับปีวอก ฉศก จุลศักราช 1186 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระฉายาว่า "วชิรญาณมหาเถระ" พอทรงผนวชได้ 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตและไม่ได้ดำรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชทานแก่เจ้านายพระองค์ใดให้เป็นรัชทายาท พระราชวงศ์กับเสนาบดี จึงต้องประชุมปรึกษากันตามธรรมเนียมโบราณว่า ควรเชิญเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเสวยราชย์ ครอบครองบ้านเมือง ในเวลานั้นว่าตามนิตินัยสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมควรได้รับราชสมบัติเพราะเป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่ประสูติจากพระอัครมเหสี โดยทั่วไปถือกันว่าทรงเป็นรัชทายาท จากกฎมณเฑียรบาลที่ได้เคยตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ปี 2001 จำแนกลำดับชั้นของเจ้านายเป็น 5 ชั้น โดยกำหนดให้พระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินที่ประสูติจาก "อัครมเหสี" มีฐานันดรศักดิ์เป็น "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" และจัดว่าเป็นอันดับสูงสุดในพระบรมวงศานุวงศ์ มีฐานะเป็นตำแหน่งรัชทายาท แม้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฏทรงเป็นรัชทายาทที่ถูกต้องตามหลักของกฏมณเฑียรบาลที่ตราไว้ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา แต่การสืบราชสันตติวงศ์นี้ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้แน่นอน เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการชั้นสูง จะเลือกพระราชาองค์ใหม่ โดยทั่วไปจะเลือกสมเด็จพระราชโอรสองค์แรกที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำดังนี้เสมอไป การสืบราชสมบัติของไทยนี้ ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอนถึงคุณสมบัติของผู้เป็นรัชทายาท ในลายพระหัตถ์ฉบับหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า"รัชทายาทนั้นเมืองไทยดูเป็นเข้าใจน้อยเต็มที แม้เป็นในกฎมณเฑียรบาลก็มิได้กล่าวแย้มพรายไว้ที่ไหนเลย คงมีแต่หลักนิยมอยู่แน่นอนแต่เพียงว่า ผู้สืบราชสมบัติจะต้องเป็นเจ้าเท่านั้นจึงเกิดการชิงราชสมบัติขึ้นเนือง ๆ ใครมีอำนาจวาสนาอยู่ในเวลานั้นก็ได้ราชสมบัติ ตกเป็นว่าใครดีก็ได้กัน การที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระมหาอุปราชนั้น เพื่อทรงอุดหนุนให้มีกำลังได้สืบราชสมบัติก็มี ตั้งโดยเหตุอื่นบังคับก็มีบ้าง เพราะฉะนั้นจะถือว่ามหาอุปราชเป็นรัชทายาทนั้นไม่ถนัด"ตามข้อความข้างบนนี้ เจ้านายทุกพระองค์ก็มีสิทธิที่จะได้เป็นกษัตริย์ทั้งสิ้น ถ้าหากทรงมีคุณสมบัติและความสามารถ และที่สำคัญคือมีกำลังเหนือกว่าเจ้านายองค์อื่นๆ ในเวลานั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ พระโอรสองค์หัวปีของรัชกาลที่ 2 ที่ถือประสูติจากเจ้าจอมมารดาเรียม เจริญพระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง 17 ปี ทรงเปี่ยมด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ ความรู้ ประสบการณ์และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงบังคับบัญชาราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ 2 และทรงสนิทสนมกับพระบรมวงศานุวงศ์และกลุ่มขุนนาง อำนาจและบารมีส่วนพระองค์ที่มีอยู่ในราชสำนัก ทำให้ผู้คนยำเกรงนับถือเป็นอันมาก ที่ประชุมราชวงศ์และเสนาบดี เห็นว่าควรถวายราชสมบัติแด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ว่าทรงปรารถนาราชสมบัติหรือจะทรงผนวชต่อไปสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯทรงทราบดีว่าพระองค์มีสิทธิในราชสมบัติ แต่ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง ตรัสปรึกษาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ซึ่งเป็นพระเจ้าน้าพระองค์น้อย ทูลแนะนำว่าควรจะคิดเอาราชสมบัติตามที่มีสิทธิ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย ไปทูลปรึกษากรมหมื่นนุชิตชิโนรส พระปิตุลาและกรมหมื่นเดชอดิศร พระเชษฐาที่ทรงนับถือมาก ทั้งสองตรัสว่าไม่ใช่เวลาควรจะปรารถนา อย่าหวงราชสมบัติดีกว่า และพระองค์มิได้อยู่ในสภาวะที่สามารถเสด็จขึ้นครองราชย์เพราะไม่มีกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางที่จะสนับสนุนพระองค์อย่างเพียงพอ จึงตรัสตอบว่ามีพระประสงค์จะทรงผนวชต่อไป ทำให้สิ้นความลำบากในการที่จะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว การตัดสินพระทัยที่จะทรงผนวชต่อไป เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการตัดสินใจครั้งนี้คือ การตัดสินใจทางการเมืองในการเลือกที่จะผนวชเพื่อหลบ " ราชภัย" เมื่อจะต้องทรงเพศเป็นสมณะต่อไปไม่มีกำหนด ทรงพระราชดำริว่าฐานะของพระองค์ไม่ควรจะเกี่ยวข้อง กับการเมือง จึงทรงตั้งพระหฤทัยจำนงเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ ในระยะแรกทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัด ราชาธิวาส) ต่อมาเสด็จไปประทับที่วัดมหาธาตุ ทรงศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) เพื่อเรียนทางด้านคันถธุระทรงรอบรู้ในภาษามคธ สามารถอ่านพระไตรปิฎกโดยลำพังพระองค์เอง จนทราบเนื้อความ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงเห็นว่าพระสงฆ์ไทยประพฤติผิดไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เมื่อได้ทรงทราบข่าวว่ามีพระเถรมอญรูปหนึ่ง ชื่อ ซาย มาอยู่ที่วัดบวรมงคลได้เป็นพระสุเมธมุนี ชำนาญพระวินัยปิฎก พระองค์จึงเสด็จไปศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย พ.ศ. 2372 พระองค์เสด็จไปประทับที่วัดราชาธิวาส ทรงตรวจสอบพระวินัยที่มีอยู่กับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท ต่อมาทรงตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย แก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยให้สมบูรณ์ ทั้งพระธรรมและพระวินัย ทรงพระนิพนธ์แบบทำวัตรเช้าเย็นเป็นภาษาบาลีและวางระเบียบทำวัตร ทรงแสดงพระธรรมเทศนามุ่งผลให้คนทั้งหลายรู้หลักของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามได้จริง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปพระพุทธศาสนา หลังจากที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณ ในการแสดงพระธรรมเป็นที่เลื่องลือแพร่หลาย มีพระภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์ บรรดาคฤหัสถ์เลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้น การสอนตามแบบธรรมยุติที่เน้นความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ทำให้กระแสสังคมที่ชาชินต่อความประพฤต ิที่หย่อนยานขอพระสงฆ์ในขณะนั้น ได้หันมาสนใจและเลื่อมใสในแนวทางปฏิบัต ิของพระสงฆ์นิกายธรรมยุติขึ้นมาก ทำให้พระองค์เป็นที่รู้จักและจดจำสำหรับเหล่าขุนนางและประชาชนได้อย่างไม่ลืมเลือน ซึ่งเรื่องนี้แม้กระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงมีพระราชหัตถเลขา กล่าวถึงกุศโลบายทางการเมืองในครั้งนั้นของพระบรมราชชนกของพระองค์ว่า "…ทูลกระหม่อมทรงตั้งพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายเป็นการต่อสู้อย่างยิ่งมิใช่เล่น ..." อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ทรงได้รับการเพ็ดทูลจากพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิดเสมอว่า การกระทำของวชิรญาณภิกขุอาจเข้าข่ายการซ่องสุมผู้คนและเป็นภัย พระองค์ทรงพระราชดำริเห็นชอบ ตามคำปรึกษาของพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา(ทัต บุนนาค) โดยโปรดให้ทูลเชิญวชิรญาณภิกขุ เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ เพื่อระงับความสงสัยต่างๆ ให้หมดไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ณ วัดราชาธิวาส ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2379 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษา และทรงผนวชได้ 12 พรรษา พระองค์ทรงจัดระเบียบการคณะสงฆ์ การปกครองวัด การอบรมฆราวาสที่เข้าวัด ระเบียบสำคัญทั้งหลายดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติกันสืบมาถึงปัจจุบัน ทรงปรับปรุงการศึกษา พระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง ปรากฏว่าพระสงฆ์ที่วัดบวรนิเวศวิหารสอบได้เปรียญประโยคสูง ๆ เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ มีตำแหน่งในคณะมหาเถระ ผู้สอบปริยัติธรรมในสนามหลวง ต่อมาได้ทรงมอบการสอบพระปริยัติธรรม เป็นสิทธิ์ขาดแก่พระองค์ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในทางวัตรปฏิบัติ และความรู้ของพระสงฆ์คณะธรรมยุต ไม่โปรดอยู่อย่างเดียว คือการห่มผ้าแหวกอย่างพระมอญ จนใกล้จะสวรรคตจึงได้มีรับสั่งในเรื่องนี้ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงยอมแก้ไขตามพระราชประสงค์ จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนทางด้านศาสนาของสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เป็นอย่างดี และมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ใฝ่พระหฤทัยศึกษาพระศาสนานั้นเป็นความดี อันสมควรจะทรงอุดหนุน จะได้เป็นกำลังช่วยทำนุบำรุงทางฝ่ายพุทธจักร และเป็นเกียรติแก่พระราชวงศ์ และสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็ทรงกล่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...ได้กระทำแล้วซึ่งความสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายแม้ทั้งปวงโดยชอบเทียว เปนผู้เปนไปกับด้วยความเคารพ กระทำราชกิจทั้งหลายให้เปนไปทั่วแล้วโดยชอบเทียว เปนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณทั้งหลาย มีพระศรัทธาและพระญาณ เปนต้น เปนผู้เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนาให้กระทำแล้วซึ่งวิหารทั้งหลายเปนอันมาก ประณีตดีแล้ว เปนที่รื่นรมย์ใจเปนผู้มีพระคุณอันบุคคลพึงสรรเสริญ ด้วยพระคุณตามเหตุที่ได้เปนแล้ว" ระหว่างที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวช เป็นเวลาที่มหาอำนาจตะวันตกเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงตระหนักถึงความจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการนำทางไปสู่การศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆ ต่อไป ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกโดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทรงติดต่อกับชาวต่างประเทศเพื่อจะได้ทรงทราบเรื่องราวของต่างประเทศมากขึ้น ทรงศึกษาหนังสือข่าวที่ฝรั่งพิมพ์ในเมืองจีน และสิงคโปร์ ปีนังทรงให้เหตุผลในการศึกษาภาษาฝรั่ง ดังอ้างถึงในแนวพระราชดำริเก้ารัชกาล ว่า "... แต่แผ่นดินต่อมา พวกฯ ข้าฯ ยังไม่ได้เปนใหญ่ในราชการแผ่นดิน แต่เห็นว่าท่านผู้ครองแผ่นดินครั้งนั้น คิดการเป็น โบราณ ๆ ป่า ๆ นัก พูดเจรจากันไม่เข้าใจ กลัวว่า ทำไป ๆ กลัวจะล้มคว่ำ ล้มหงายลง แลเห็นว่าอายุตัวยังหนุ่มอยู่ จะอยู่ไปได้นาน จึงคิดอ่านร่ำเรียนหนังสือและภาสาอังกฤษรู้มา แต่ก่อนยังไม่ได้ว่าราชการแผ่นดิน เพราะไว้ใจว่าภาสาที่รู้จะเป็นที่พึ่งคุ้มแต่ตัวเองได้อย่างหนึ่ง ไม่รู้ว่าอย่างไรต่ออย่างไร จะอยู่ที่นี่ฤาจะนำไปข้างไหน ภาสากว้างดีกว่าภาสาแคบ..."การศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางทางวิทยาการและความเป็นไปของโลกภายนอก ทำให้พระองค์ทรงมีความคิดเห็นก้าวหน้า และทรงเล็งเห็นความจำเป็นสองประการ คือ 1. วิทยาการความเจริญตามแบบประเทศตะวันตกเป็นสิ่งที่ควรสนใจ มีประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศในอนาคต ชาวไทยจะต้องศึกษาวิทยาการใหม่ ๆ เหล่านี้ 2. สถานการณ์ของประเทศใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับคนต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเปลี่ยนวิเทโศบายของประเทศ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประเทศและเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย ผลดีจากการที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชนานถึง 27 ปี เมื่อทรงอยู่ในฐานะของพระสงฆ์ทรงได้รับประโยชน์ต่างจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งทรงใช้ชีวิตจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพระราชวัง พระองค์เสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ทรงเห็นสภาพบ้านเมือง รู้จักความเป็นอยู่ของชาวเมือง รับรู้ความทุกข์ ความสุขของราษฎร การเสด็จออกบิณฑบาต การแสดงพระธรรมเทศนาเยี่ยงพระสงฆ์ทั่วไป เปิดโอกาสให้พบปะกับราษฎรทุกชนชั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์อย่างดีสำหรับการปกครองประเทศในเวลาต่อมา ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาล พระบรมราชโองการสุดท้ายของพระองค์เกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติความว่า ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาล พระบรมราชโองการสุดท้ายของพระองค์เกี่ยวกับผู้สืบราชสมบัติความว่า" ทรงพระราชดำรัส ยอมอนุญาตให้เจ้าพระยาพระคลังซึ่งว่าที่สมุหกลาโหม พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา พระยาราชสุภาวดีว่าที่สมุหนายกกับขุนนางผู้น้อยทั้งปวง จงมีความสโมสรสามัคคีปรึกษาพร้อมกัน เมื่อเห็นว่าพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดที่มีวัยวุฒิ ปรีชารอบรู้ราชานุวัตร เป็นศาสนูปถัมภกยกพระบวรพุทธศาสนาและปกป้องไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ รักษาแผ่นดินให้เป็นสุขสวัสดิ์โดยยิ่ง เป็นที่ยินดีแก่มหาชนทั้งปวงได้ ก็สุดแท้แต่จะเห็นดีประนีประนอมพร้อมใจกันยกพระบรมวงศ์องค์นั้นขึ้นเสวยมไหสวรรยาธิปัตย์ถวัลยราช สืบสันตติวงศ์ ดำรงประเพณีต่อไปเถิด " เสนาบดีไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ กราบทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงศึกษาโหราศาสตร์ ทรงเชื่อตำราพยากรณ์ ตรัสว่า ถ้าจะถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ขอให้ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย เพราะสมเด็จพระอนุชาดวงชะตาดีวิเศษถึงฐานะที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ความที่กล่าวมานี้เป็นมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระมหาอุปราชให้ทรงศักดิ์พิเศษเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว " การเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น นอกจากที่พระองค์ทรงมีสิทธิธรรมของการเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ดำรงพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า และทรงเจริญวัยวุฒิ ถึง 47 พรรษา ยังมีเหตุผลอื่นประกอบอีกที่ทำให้ทรงได้รับการยินยอม และการสนับสนุนจากเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ ตลอดระยะเวลาที่ทรงผนวช ทรงสร้างสมบารมีในฐานะผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแตกฉาน และเคร่งครัด ในวัตรปฏิบัติ ทรงมีคุณธรรมของความเป็น "ธรรมราชา" ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเป็นผู้ปกครองที่ดี ทรงมีพระเกียรติคุณแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชน ทั้งปวง ทรงสนพระทัยศึกษาสถานการณ์ทางการเมืองของโลกภายนอกตลอดเวลา ทรงรอบรู้ในภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตกไม่น้อยกว่าเจ้านาย และขุนนางที่จัดว่าเป็น "กลุ่มก้าวหน้า" ทรงคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก ทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาคนไทยที่มีความคิดเห็นก้าวหน้าทันสมัย ในด้านพระราชอัธยาศัย ของสมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงนิยมวิธีการประนีประนอมในการแก้ปัญหา มีน้ำพระทัยเมตตา ทรงรักความยุติธรรม มิได้ทรงมีจิตคิดพยาบาทมาดร้าย แม้แต่กับผู้ที่ตั้งตัวเป็นศัตรู ทรงหลีกเลี่ยงที่จะมีข้อขัดแย้งรุนแรงกับฝ่ายใด และทรงพร้อมที่จะเป็นมิตรกับชนทุกชั้นทุกชาติสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงสามารถผสมผสานลักษณะที่ขัดแย้งกันของผู้ปกครองที่ยึดมั่นในคุณธรรมดั้งเดิมตามแบบประเพณีตะวันออก และผู้ที่นิยมความคิดก้าวหน้าแบบตะวันตกได้อย่างกลมกลืน จนเป็นที่ยอมรับว่าพระองค์ทรงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศในระยะนั้น คงจะเป็นด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จึงอัญเชิญให้ พระองค์ลาผนวชขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ครั้นถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งประกอบด้วย เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก (ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล 2534 : 128) จึงเชิญเสด็จสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ จากวัดบวรนิเวศวิหาร แห่เสด็จโดยกระบวนเรือมาขึ้นที่ท่าตำหนักแพ (ซึ่งขนานนามใหม่ในรัชกาลที่ 4 ว่า ท่าราชวรดิษฐ์) รับเสด็จทรงพระราชยานแห่เข้าพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระมหามณเฑียร ถวายน้ำสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเชษฐาธิราช จากนั้นเสด็จประทับที่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายและเสนาบดีเข้าเฝ้ากราบทูลเชิญเสด็จผ่านพิภพ จึงทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2394 เวลา 1 นาฬิกา นับเวลาทรงผนวชอยู่ 27 พรรษา เมื่อพระองค์ทรงลาผนวชแล้วได้ประทับว่าราชการอยู่ ณ พลับพลา ระหว่างโรงแสงดั่นจนถึงฤกษ์ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งประกอบขึ้นในวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ณ พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย แล้วเสด็จออกเลียบพระนครทางสถลมารคและชลมารค เมื่อวันที่ 20 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 มีพระนามจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัฏว่า " พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อุกฤษฐวิบูล บูรพาดูลกฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษฏิ์ ธัญญลักษณะวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุ มาลยมหาบุรุษรัตน์ ศึกษาพิพัฒสรรพโกศล สุวิสุทธวิมลศุภศีลสมาจาร เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณวิบูลสันดาน ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศลวิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณคุณสารสยามาธิโลกดิลก มหาบริวารนายก อนันตมหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร มหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณะมหาบรมราชา ภิเษกาภิสิตสรรพทศทิศวิชัตชัย สกล มไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหาราชาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวสัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปไมยบุญญการ สกลไพศาลมหารัษฎา ธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิก มหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหิน ทรายุธยาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดเกล้าให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระอนุชา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2394 การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน ที่สอง"เป็นที่พึงพอใจและชื่นชมยินดีอย่างมากของพสกนิกรในแผ่นดิน และชาวต่างประเทศซึ่งได้ส่งข่าวไปยังสิงค์โปร์ว่าการเปลี่ยนรัชกาล ในวันที่ 2 เมษายน เป็นไปด้วยความสงบ เจ้านาย ขุนนาง ประชาชนไทยพอใจในพระมหากษัตริย์ พระองค์ใหม่ หนังสือพิมพ์ "สแตรทส์ ไทม์" (Straits Times) ที่สิงค์โปร์ลงข่าว "... เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความหวังอันยิ่งใหญ่แก่ ประชาชนชาวสยามและเป็นที่น่าสนใจ แต่ประชาชาติภายนอก..." เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัครมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระอัครมเหสี 1. สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดี เป็นพระราชธิดาในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ มีพระนามเดิมหม่อมเจ้าหญิงโสมนัส ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือนอ้าย แรม 6 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1196 ตรงกับ วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2377 ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2394 นับเป็นพระอัครมเหสีพระองค์แรก ทรงดำรงตำแหน่งได้เพียง 9 เดือน ก็สิ้นพระชนม์ 2. สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ทรงเป็นพระอัครมเหสีพระองค์ที่สอง มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าหญิงรำเพย ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ขึ้น 12 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1196 ตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานสมมตยาภิเษกเป็นพระราชเทวี ทรงพระนามว่า "พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์" และ "สมเด็จพระนางเจ้ารำเพย ภมราภิรมย์" โดยลำดับ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2395 ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสสริยศักดิ์เป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงได้รับการสถาปนาพระนามเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ในปัจจุบันขานพระนามว่า "สมเด็จพระเทพ ศิรินทรา บรมราชินี"สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ นับเป็นพระราชินีที่มีพระชนมายุน้อยพระองค์หนึ่ง เริ่มรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุเพียง 18 พรรษา ทรงมีพระราชโอรส พระราชธิดา ดังนี้ 1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชสมภพ ณ วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ประสูติ ณ วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2398 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลฯ กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ 3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีฯ ประสูติ ณ วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ 4. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ประสูติ ณ วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการสถาปนาเป็นจอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช หลังจากประสูติสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชฯ เป็นต้นมา สมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภิรมย์ทรงประชวร พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ได้กล่าวถึงสมเด็จพระนางเจ้ารำเพยภิรมย์สิ้นพระชนม์ไว้ตอนหนึ่งว่า"ฝ่ายสมเด็จพระนางประชวรพระยอดเม็ดเล็ก ทรงพระกาสะเป็นโลหิตติดระคนเสมหะออกมา ทรงพระประชวรอยู่หลายเดือน ครั้นมาถึง ณ วันจันทร์เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ (วันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2404) เวลาเช้า 5 โมงเศษสิ้นพระชนม์ สิริพระชนม์ได้ 28 พรรษา ได้เชิญพระศพเข้าสถิตในพระโกศทองคำ แล้วเชิญพระศพแห่ออกประตูพรหมไปประดิษฐานไว้ในหอธรรมสังเวช"ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาพระนามพระอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ในปัจจุบันขานพระนามว่า สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 1. เจ้าจอมมารดาน้อย เป็นพระธิดาของพระอินทรอภัย รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนจะทรงผนวชเป็นพระภิกษุ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส 2. พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส 2. เจ้าจอมมารดาแพ เป็นพระธิดาพระสำราญหฤทัย และท้าวทรงกันดาน มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา 2. พระองค์เจ้าหญิงพักตร์พิมลพรรณ 3. พระองค์เจ้าชายเกษมสันต์โสภาคย์ 4. พระองค์เจ้าชายมนุษยนาคมานพ 5. พระองค์เจ้าหญิงบัญจบเบญจมา 3. เจ้าจอมมารดาพึ่ง (หรือผึ้ง) เป็นพระธิดาพระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายทักษิณาวัฏ 2. พระองค์เจ้าชายคัคณางคยุคล 3. พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภช 4. เจ้าจอมมารดาจันทร์ เป็นพระธิดาพระยาพิพิธสุนทรการ (สุข) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา นราธิราชบุตรี 2. พระองค์เจ้าหญิงมัณยาภาธร 3. พระองค์เจ้าชายสุขสวัสดิ์ 4. พระองค์เจ้าชายเกษมศรีศุภโยค 5. เจ้าจอมมารดาเที่ยง มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา 2. พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ 3. พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ 4. พระองค์เจ้าชายกมลาสเลอสรรค์ 5. พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา 6. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 พระชันษาได้ 8 วัน 7. พระองค์เจ้าชายไชยานุชิต 8. พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง 9. พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช 10. พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ 6. เจ้าจอมมารดาตลับ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ 4 พระชันษาได้ 8 วัน 2. พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ 3. พระองค์เจ้าชายกาพย์กนกรัตน์ 7. เจ้าจอมมารดาเอี่ยม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าศรีพัฒนา 8. เจ้าจอมมารดาเกศ (เกษ) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประภัศร 9. เจ้าจอมมารดาสำลี เป็นพระธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ(ทัด) และหม่อมคล้าย (ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชาย (แดง) 2. พระองค์เจ้าหญิง (เขียว) 3. พระองค์เจ้าหญิงบุษบงเบิกบาน 4. พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี 5. พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภา 10. เจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร 11. เจ้าจอมมารดาบัว เป็นธิดาเจ้าพระยานครน้อยคืนเมือง มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ 2. พระองค์เจ้าชายศรีสิทธิธงไชย 3. พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา 4. พระองค์เจ้าชายวัฒนานุวงศ์ 5. พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ 12. พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เป็นพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าบรมไปยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์และหม่อมกิ๋ม รับราชการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดชุบเลี้ยงหม่อมเจ้าพรรณรายเป็นเจ้าจอม (ได้รับการสถาปนาพระเกียรติยศ เป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) มีพระเจ้าลูกเธอ คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้ว 2. พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ 13. เจ้าจอมมารดามาลัย (มาไลย) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 2. พระองค์เจ้าหญิงเสมอสมัยหรรษา 14. เจ้าจอมมารดาสังวาล เป็นธิดานายศัลลิไชย (ทองคำ) และท่านน้อย ถวายตัวทำราชการได้รับพระราชทานเป็นเจ้าจอมมารดาชั้นสูง ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมาจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายทองกองก้อนใหญ่ 2. พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ 3. พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี 4. พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร 15. เจ้าจอมมารดาเปี่ยม (สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา) เป็นธิดาท้าวสุจริต ธำรง (นาค) และหลวงอาสาสำแดง (แตง) ได้เป็นพระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศีรพัชรินทร์มาตา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายอุณากรรณอนันตนรไชย 2. พระองค์เจ้าชายเทวัญอุไทยวงศ์ 3. พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ 4. พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา 5. พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรี 6. พระองค์เจ้าชายสวัสดิโสภณ 16. เจ้าจอมมารดาเอม เป็นธิดาหลวงปรานีประชาชน (แมลงทับ) ยกรบัตรกรุงเก่าและท่านเอี่ยมได้ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงอนงค์นพคุณ 17. เจ้าจอมมารดาหรุ่น เป็นธิดาพระยาอภัยพิพิธ (กระต่าย) และคุณหญิงแจ่ม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงอรุณวดี 18. เจ้าจอมมารดาแก้ว มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงวาณีรัตนกัญญา 19. เจ้าจอมมารดาโหมด เป็นธิดาพระยาราชสงคราม (อิน อินทรวิมล) ได้ถวายตัวเป็นพระสนมโท มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงมณฑานพรัตน์ 2. พระองค์เจ้าชายจันทรทัตจุฑาธาร 20. เจ้าจอมมารดาหุ่น (ท้าวทรงกันดาล) เป็นหลานเจ้าจอมเถ้าแก่ ได้เป็นท้าวทรงกันดานในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายสวัสดิประวัติ 21. เจ้าจอมมารดาดวงคำ เป็นพระธิดาเจ้าคลี่ (พระโอรสพระเจ้าอนุสุทธราช) และเจ้านางท่อนแก้ว (พระธิดาพระมหาอุปราชติสสะ) ถวายตัวเป็นพระสนม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา 2. พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารี 22. เจ้าจอมมารดาเขียน เป็นธิดาท่านอันและท่านอิ่ม สิริวันต์ เป็นพระญาติของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร 23. เจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นธิดาพระยาอัพภันตริภามาตย์ (ดิศ) และท่านคล้าย ถวายตัวเป็นเจ้าจอมมารดาพระสนมเอก มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร 24. เจ้าจอมมารดาเพ็ง เป็นธิดาเจ้ากรมเกาเหลาจีน มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงนงคราญอุดมดี 25. เจ้าจอมมารดาเหม (ท้าวสมศักดิ) เป็นธิดาพระอัคนีสร (พิณ) และขรัวยายแย้ม ได้เป็นท้าวสุภัติการภัคดี และเป็นท้าวอินสรสุริยา ได้เป็นท้าวสมศักดิในรัชกาลที่ 5 มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายศรีเสาวภางค์ 26. เจ้าจอมมารดาวาด (ท้าววรจันทร์) เป็นธิดานายสมบุญ มหาดเล็กหลวงและนางถ้วย ถวายตัวรับราชการต่อมาภายหลังได้เป็นท้าววรจันทร์ มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าชายโสณบัณฑิต 27. เจ้าจอมมารดาห่วง เป็นธิดาขุนเทพฯ และท่านเกษา มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงบุษบันบัวผัน 2. พระองค์เจ้าชายไชยันตมงคล 3. พระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ 28. เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ เป็นธิดาหม่อมเจ้านิ่ม ปาลกวงศ์ และหม่อมฟัก มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประสานศรีใส 2. พระองค์เจ้าหญิงประไพศรีสอาด 29. เจ้าจอมมารดาสุ่น (ท้าววนิดาวิจารินี) เป็นธิดาพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น) ถวายตัวรับราชการต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้เป็นท้าววนิดาวิจารินี มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงประพาฬรัศมี 30. เจ้าจอมมารดาหว้า เป็นธิดาปลัดโรงทานอิ่ม มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาคย์พรรณ 31. เจ้าจอมมารดาเชย มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในวันที่ประสูติ 32. เจ้าจอมมารดาพุ่ม เป็นธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา) มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิงพุทธประดิษฐา 33. เจ้าจอมมารดาอิ่ม(ท้าวศรีสัจจา)มีพระองค์เจ้า คือ 1. พระองค์เจ้าหญิง ประสูติวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ 34. เจ้าจอมทับฑิม 35. เจ้าจอมเล็ก 36. เจ้าจอมอิ่ม 37. เจ้าจอมทับทิม 38. เจ้าจอมรุน 39. เจ้าจอมหนูสุด 40. เจ้าจอมวัน 41. เจ้าจอมหนูชี 42. เจ้าจอมพร้อม 43. เจ้าจอมบุนนาค
พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก ที่ 1 พระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส ประสูติในรัชกาลที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 แรม 10 ค่ำปีมะเมีย ตรงกับ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2365 ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2396 ได้ทรงกำกับกรมล้อมพระราชวัง และเมื่อกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธรสิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2410 พระชันษา 46 ปี เป็นต้นสกุลนพวงษ์ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาน้อย ที่ 2 พระองค์เจ้าชายสุประดิษฐ วรฤทธิราชมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชวโรรส ประสูติในรัชกาลที่ 2 เมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2367 ในรัชกาลที่ 4 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2399 ได้ทรงกำกับกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น13 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2405 พระชันษา 38 ปี เป็นต้นสกุลสุประดิษฐ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาน้อย ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว ที่ 3 พระองค์เจ้าหญิงยิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 15 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2394 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 พระชันษา 36 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 4 พระองค์เจ้าชายทักษิณาวัฏ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรม 9 ค่ำ ปีชวดตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2396 พระชันษาได้ปี 1 ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 5 สมเด็จเจ้าฟ้าชายโสมนัส ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 7 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ สมเด็จพระนางโสมนัสวัฒนาวดีเป็นพระมารดา ที่ 6 พระองค์เจ้าหญิงทักษิณชา นราธิราชบุตรี ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 ขึ้น 5 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 พระชันษา 55 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 7 พระองค์เจ้าหญิงโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2446 ในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงรักษากุญแจพระบรมมหาราชวังชั้นใน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ปีมะแม พ.ศ. 2474 พระชันษา 79 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 8 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2395 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 5 ค่ำพระชันษาได้ 8 วัน ที่ 1 ใน เจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 9 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร (พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2404 เลื่อนเป็นกรมขุนพินิจประชานาถ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2410 ได้ทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2411 ได้เสด็จประพาสประเทศอินเดียเมื่อปีวอก พ.ศ. 2415 ประพาสยุโรปเมื่อปีระกา พ.ศ. 2440 ครั้งหนึ่ง เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง เสด็จดำรงราชสมบัติอยู่ 42 ปี รัชกาลยั่งยืนยิ่งกว่าบรรดาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม อันปรากฏในพระราชพงศาวดารแต่ก่อนมาทุกพระองค์ เสด็จ สวรรคตเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชนพรรษา 58 พรรษา ที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 10 พระองค์เจ้าหญิงศรีพัฒนา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 12 แรม 15 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2396 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีระกา พ.ศ. 2416 พระชันษา 21 ปี ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม ที่ 11 พระองค์เจ้าชายเสวตรวรลาภ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย แรม 6 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 พระชันษา 3 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 12 พระองค์เจ้าหญิงประภัศร ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ปีขาล พ.ศ. 2469 พระชันษา 73 ปี ในเจ้าจอมมารดาเกศ ที่ 13 พระองค์เจ้าหญิงพักตร์พิมลพรรณ ประสูติเมื่อวันพุธเดือน 12 ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 5 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ปีมะเมีย พ.ศ. 2449 พระชันษา 52 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 14 พระองค์เจ้าหญิงมัณยาภาธร ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 3 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันจันทร์ เดือน 11 แรม 3 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2428 พระชันษา 32 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 15 พระองค์เจ้าชาย (แดง) ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2397 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันเสาร์เดือน 7 ขึ้น 4 ค่ำ ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 พระชันษา 3 เดือน ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาสำลี ซึ่งทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ใน รัชกาลที่ 5 ที่16 สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจันทรมณฑล โสภณภควดี ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 12 ค่ำ ปีกุน พ.ศ. 2406 พระชันษา 9 ปี รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2427 ที่ 2 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 17 พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 6 แรม 7 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2418 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อ ร.ศ. 118 ตรงกับปีกุน พ.ศ. 2442 ได้เป็นราชทูตประจำ ณ กรุงลอนดอนและอเมริกา เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล และกระทรวงโยธาธิการ ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ มหิศวรราชรวิวงศ์ สิทธิประสงค์กฤษดาธิการ สุทธสันดานสีตลหฤทัย มไหศวริยราชนิติธาดา สุปรีชาสรรพกิจโกศล วิมลสุจริตจริยานุวัตร พุทธาทิรัตนสรณารักษ์ อุดมศักดิ์บพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสมุหมนตรี เสนาบดีกระทรวง มุรธาธร สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 71 ปี เป็นต้นสกุลกฤดากร ในเจ้าจอมมารดากลิ่น ที่ 18 พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณเลิศ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 8 บูรพาสาฒ ขึ้น 13 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2399 พระชันษา 2 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 19 พระองค์เจ้าหญิงศรีนาคสวาดิ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 อุตราสาฒ ขึ้นค่ำ 1 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ปีฉลู พ.ศ. 2456 พระชันษา 59 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 20 พระองค์เจ้าชายคัคณางคยุคล ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิชิตปรีชากร เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 ได้เป็นอธิบดีศาลรับสั่งชำระความฎีกา แล้วเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลอีสานและเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปีระกา พ.ศ. 2452 พระชันษา 55 ปี เป็นต้นสกุลคัคณางค์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 21 พระองค์เจ้าหญิงกรรณิกาแก้ว ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 2 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2398 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2425 พระชันษา 28 ปี ทรงสถาปนาเป็นกรมขุนขัตติยกัลยา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วในปีมะเมีย พ.ศ. 2425 และทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าเมื่อปีกุน พ.ศ. 2430 ที่ 1 ในหม่อมเจ้าพรรณราย ซึ่งทรงสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ 5 ที่ 22 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ แรม 15 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2398 ประสูติเพียงวันเดียวสิ้นพระชนม์ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดามาไลย ที่ 23 พระองค์เจ้าชายสุขสวัสดิ์ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ค่ำ ขึ้น 9 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นอดิศรอุดมเดช เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เป็นนายพลตรีราชองครักษ์ตำแหน่งปลัดทัพบก ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นนายพลโทราชองครักษ์ ผู้บัญชาการกองพล แล้วเลื่อนเป็นจเรพาหนะทหารบก สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 6 เมื่อวันที่ 16 เมษายน ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 71 ปี เป็นต้นสกุลสุขสวัสดิ์ ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 24 พระองค์เจ้าชายทวีถวัลยลาภ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 เป็นเสนาบดีกระทรวงนครบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปีระกา พ.ศ. 2440 พระชันษา 42 ปี เป็นต้นสกุลทวีวงศ์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 25 พระองค์เจ้าชายทองกองก้อนใหญ่ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 5 ขึ้นค่ำ 1 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เป็นนายพลตรี บังคับการกรมทหารรักษาพระราชวัง ได้เป็นแม่ทัพปราบฮ่อทางแดนมณฑลอุดร และเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอุดร เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง กระทรวงกลาโหม เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2442 เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2467 พระชันษา 69 ปี เป็นต้นสกุลทองใหญ่ ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 26 พระองค์เจ้าชายเกษมสันต์โสภาคย์ ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นกรรมการศาลฎีกา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 4 มกราคม ปีชวด พ.ศ. 2467 พระชันษา 69 ปี เป็นต้นสกุลเกษมสันต์ ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 27 พระองค์เจ้าชายกมลาสเลอสรรค์ ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 12 ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 ได้ทรงกำกับช่างทองหลวง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ปีมะแม พ.ศ. 2474 เป็นต้นสกุลกมลาสน์ ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 28 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจาตุรนต์รัศมี ศรีสมมติเทวราชรวิวงศ์ วโรภัยพงศ์พิสุทธมกุฎราชวรางกูร มไหสูรยารหราชกุมาร ประสูติเมื่อวันอังคารเดือนยี่ แรม 3 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2399 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรพรรดิพงศ์ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2418 เลื่อนเป็นเจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ ดำรงขัตติยศักดิอัครวรยศ รัตนสมมติบุริสาชาไนย สีตลหฤทัยธรรมสุจริต อเนกราชกิจสิทธิวิจารณ์มโหฬารคุณสมบัติ พุทธาทิรัตน สรณาคมอุดมเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 ได้ทรงบัญชาการกรมพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2443 พระชันษา 44 ปี เป็นต้นสกุลจักรพันธุ์ ที่ 3 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 29 พระองค์เจ้าชายอุณากรรณอนันตนรไชย ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 13 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2399 เป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีจอตรงกับวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2416 พระชันษา 18 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาเปี่ยม ซึ่งทรงสถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดา ในรัชกาลที่ 5 และเป็นสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัช รินทรมาตา ในรัชกาลที่ 6 ที่ 30 พระองค์เจ้าชายเกษมศรีศุภโยคประสูติ เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ เมื่อปีวอก พ.ศ. 2439 ทรงกำกับกรมช่างมุก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 3 มกราคม ปีเถาะ พ.ศ. 2458 พระชันษา 59 ปี เป็นต้นสกุลเกษมศรี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาจันทร์ ที่ 31 พระองค์เจ้าหญิง (เขียว) ประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 10 ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ เดือน 10 ขึ้น 3 ค่ำ ประสูติเพียงวันเดียวสิ้นพระชนม์ ที่ 2 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 32 พระองค์เจ้าหญิงเสมอสมัยหรรษา ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 4 ขึ้น 9 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2416 พระชันษา 17 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดา มาไลย ที่ 33 พระองค์เจ้าชายศรีสิทธิธงไชย ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 11 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสิริธัชสังกาศ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 เลื่อนเป็นกรมขุนสิริธัชสังกาศ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ได้เป็นเสนาบดี กระทรวงพระคลัง เป็นอธิบดีศาลฎีกา เป็นราชเลขานุการฝ่ายกฎหมาย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชันษา 54 ปี เป็นต้นสกุลศรีธวัช ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 34 พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2431 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 เป็นนายพันเอกราชองครักษ์ ทรงบังคับการ กรมช่างมหาดเล็ก ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 เมษายน ปีมะแม พ.ศ. 2462 พระชันษา 63 ปี เป็นต้นสกุลทองแถม ที่ 2 ใน เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 35 พระองค์เจ้าหญิงอนงค์นพคุณ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้ายขึ้น 2 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2426 พระชันษา 26 ปี ในเจ้าจอมมารดาเอม ที่ 36 พระองค์เจ้าหญิงกนกวรรณเลขา ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2461 พระชันษา 62 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 37 พระองค์เจ้าชายชุมพลสมโภชประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนยี่ ขึ้น 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2400 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน เป็นเสนาบดีกระทรวงวังถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 เป็นสมุหมนตรีเสนาบดีที่ปรึกษา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 3 เมษายน ปีจอ พ.ศ. 2465 พระชันษา 66 ปี เป็น ต้นสกุลชุมพล ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาพึ่ง ที่ 38 พระองค์เจ้าหญิงอรุณวดี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ปีระกา พ.ศ. 2476 พระชันษา 76 ปี ในเจ้าจอมมารดาหรุ่น ที่ 39 พระองค์เจ้าหญิงวาณีรัตนกัญญา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2400 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 25 มกราคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 78 ปี ในเจ้าจอมมารดาแก้ว ที่ 40 พระองค์เจ้ามณฑานพรัตน์ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 6 แรม 8 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีระกา พ.ศ. 2404 พระชันษา 4 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ที่ 41 พระองค์เจ้าชายกาพย์กนกรัตน์ประสูติ เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2401 ในรัชกาลที่ 5 เป็นนายพันตรีราชองครักษ์ ทรงบังคับการกรมทหารมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันเสาร์เดือน 6 แรม 12 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2422 พระชันษา 22 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาตลับ ที่ 42 พระองค์เจ้าชายเทวัญอุไทยวงศ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 7 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2401 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เป็นราชเลขานุการ แล้วเป็นเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ได้เป็นราชทูตพิเศษเสด็จไป ยุโรป ในรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี ศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกศาตรวิบูลย์ เกียรติจำรูญไพรัชการ สุภสมาจารสารสมบัติ มัทวเมตตาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยคุณานุสร สุนทรธรรมบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสมุหมนตรี แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ขัตติยพิศาลสุรบดี บรมราชินีศรีพัชรินทรภราดร สโมสรอเนกนิติปรีชา มหาสุมันตยานุวัตรวิบูลย์ ไพรัชราชกิจจาดุลย์สุนทรปฏิภาณ นิรุกติญาณวิทยาคณนาทิศาสตร์ โหรกลานุวาทนานาปกรณ์ เกียรติกำจรจิรกาล บริบูรณ์คุณสารสมบัติ สุจริตสมาจารวัตรมัทวเมตตา ชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา กัลยาณธรรมิกนาถบพิตร เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2459 เป็นมหาอำมาตย์นายก คงในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นสภานายกแห่งสภาการคลังเมื่อปีจอ พ.ศ. 2465 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปีกุน พ.ศ. 2466 พระชันษา 66 ปี เป็นต้นสกุลเทวกุล ที่ 2 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 43 พระองค์เจ้าหญิงอรไทยเทพกัญญา ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีมะแมตรงกับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2449 พระชันษา 47 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 44 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนอ้าย ขึ้น 6 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธเดือนอ้ายขึ้น 13 ค่ำ พระชันษาได้ 8 วัน ที่ 6 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 45 สมเด็จเจ้าฟ้าชายภาณุรังษีสว่างวงศ์ ดำรงราชอิศริยาธิบดีศรีวิสุทธ มหามกุฎพงศวโรภยาภิชาติ ราชโสทรานุชาธิบดินทร์ ทิพศิรินทรพิพัฒน์ สุขุมาลรัตนราชกุมาร ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ แรม 4 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2402 ในรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 เลื่อนเป็น สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อรรคอุดมชาติ บรมนราธิราชโสทรานุชาธิบดี สุจริตจารีราชการัณย์ มหันตมหาอุสาหะพิริยพหลดลประสิทธิ์ อเนกพิธคุณากร สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารัธยาศรัย ศรีรัตนตรัย สรณธาดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2428 เป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ เสนาบดีกระทรวงยุทธนาธิการ กระทรวงกลาโหม ได้เป็นราชทูตพิเศษ เสด็จประเทศญี่ปุ่นครั้งหนึ่ง ยุโรปครั้งหนึ่ง ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พิเศษขัตติยศักดิ์อัครอุดมชาติ ปรมินทรมหาราชโสทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรมหาวิชราวุธราชบิตุลา มหันตมหาอุสาหะ พิริยพหลดลประสิทธิ์ สุจริตจารีราชการัณย์ สุรพลขันธคณาภรณ์ สุนทรธรรมพิทักษ์ อรรคมโหฬารัธยาศัย ศรีรัตนตรัยสรณธาดา อดุลยเดชานุภาพพิลาส ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นจอมพลทหารบก จอมพลเรือ ราชองครักษ์ และเป็นจเรทหารบก ทหารเรือทั่วไป ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี และทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชบิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 ทิวงคตในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ปีมะโรง พ.ศ. 2471 เป็นต้นสกุลภาณุพันธุ์ ที่ 4 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ที่ 46 พระองค์เจ้าหญิงบุษบงเบิกบาน ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ ปีชวด พ.ศ. 2419 พระชันษา 18 ปี ที่ 3 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 47 พระองค์เจ้าชายมนุษยนาคมานพประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีเดือน 5 แรม 7 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2403 ในรัชกาลที่ 5 ทรงผนวชแล้ว ทรงแปลพระปริยัติธรรมเป็นเปรียญ 5 ประโยค ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส สุนทรพรตวิสุทธิพรหมจรรย์ วิมลศีลขันธ์ธรรมวรยุต ศรีวิสุทธิคณนุนายก สาสนดิลกธรรมานุวาท บริสัษยนาถบพิตร ทรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 ต่อมาเลื่อนสมณศักดิ์เสมอสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกา แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวงฯพระนามตอนต้นอย่างเดิม เปลี่ยนสร้อยท้ายพระนามว่าบริสัษยนาถสมณุดมบรมบพิตร เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2449 ถึงรัชกาลที่ 6 ทรง รับมหาสมณุตมาภิเษกเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ศรีสุคตขัตติยพรหมจารี สรรเพชญรังสีกัลยาณวากย์ มนุษยนาคอเนญชาริยวงศ์ บรมพงศาธิบดี จักรีบรมนาถ ประนับดา มหามกุฎกษัตรราชวรางกูร จุฬาลงกรณปรมินทร์ สูรครุฐานิยภาดา วชิราวุธมหาราชหิโตปัธยาจารย์ ศุภสีลมหาสารวิมลมงคลธรรมเจดีย์ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฏกาทิโกศล เบญจปดลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมา ภิเษกาภิษิต วิชิตมารสราพกธรรมเสนาบดี อมรโกษินทรโมลีมหาสงฆปรินายก พุทธศาสนดิลก โลกุต์มมหาบัณฑิต สิทธรรถนานานิรุกติประติภาน มโหฬารเมตตาภิธยาศัย พุทธาทิรัตนตรัยคุณารักษ์ เอกอัครมหาอนาคาริยรัตน์ สยามาธิปัตย์พุทธบริษัทเนตร สมณคณินทราธิเบศสกลพุทธจักรกฤตโยปการ มหาปาโมกขประธานสถาวีรวโรดม บรมนาถบพิตร ทรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระมหาสมณ เป็นประธานสงฆบริษัททั่วพระราชอาณาเขต เมื่อปีจอ พ.ศ. 2453 ต่อมา ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า เมื่อปีระกา พ.ศ. 2464 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปีระกา พ.ศ. 2464 พระชันษา 62 ปี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 48 พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 10 ขึ้น 5 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2403 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อปีชวด พ.ศ. 2407 พระชันษา 5 ปี ที่ 3 ใน เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 49 พระองค์เจ้าชายสวัสดิประวัติ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 แรม 7 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นเสนาบดีตำแหน่งราชเลขานุการและเป็นอธิบดีกรมพระคลังข้างที่ ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระสมมตอมรพันธุ์บรมธรรมิกราชวงศ์วิสุทธิ์ วชิราวุธราชปฤจฉา นุวัตน์ รัตนบันฑิตยชาติ สุขุมราชมันตนาธิบดี เมตตาสีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนคุณาลงกรณ์ ธรรมาทรบพิตร เป็นสมุหมนตรี เป็นเสนาบดีที่ปรึกษา เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ 6 เมื่อวันที่ 21 เมษายน ปีเถาะ พ.ศ. 2458 พระชันษา 5 ปี เป็นต้นสกุลสวัสดิกุล ในเจ้าจอมมารดา หุ่น (เป็นท้าวทรงกันดาล ในรัชกาลที่ 5) ที่ 50 พระองค์เจ้าหญิงสุนันทากุมารีรัตน์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 12 แรม 12 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้า สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ เดือน 7 แรม 8 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2423 พระชันษา 21 ปี ที่ 3 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 51 พระองค์เจ้าชายจันทรทัตจุฑาธาร ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือนอ้าย แรม 13 ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2403 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา เมื่อปีวอก พ.ศ. 2439 เป็นอธิบดีกรมพยาบาล ถึงรัชกาลที่ 6 เป็นอำมาตย์ตรีในกระทรวงยุติธรรม สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ปีวอก พ.ศ. 2475 พระชันษา 72 ปี เป็นต้นสกุลจันทรทัต ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาโหมด ที่ 52 พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้นค่ำ 1 ปีระกา ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นพระนางเจ้าพระราชเทวี ต่อมารัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ปีเถาะ พ.ศ. 2470 พระชันษา 66 ปี ที่ 4 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 53 พระองค์เจ้าหญิงนารีรัตนา ประสูติเมื่อวันเสาร์เดือน 9 ขึ้น 11 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ปีฉลู พ.ศ. 2468 พระชันษา 65 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาดวงคำ ที่ 54 พระองค์เจ้าชายไชยานุชิต ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 9 แรม 6 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพงศาดิศรมหิป เมื่อปีจอ พ.ศ. 2441 ได้เป็นอธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 28 มกราคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 74 ปี เป็นต้นสกุลชยางกูร ที่ 7 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 55 พระองค์เจ้าหญิงบัญจบเบญจมาประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 12 ขึ้น 3 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 13 กันยายน ปีมะโรง พ.ศ. 2435 พระชันษา 31 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาแพ ที่ 56 พระองค์เจ้าชายวรวรรณากร ประสูติเมื่อวันพุธเดือน 12 แรม 3 ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2432 ได้เป็นรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์ มกุฎวงศนฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิอดุลย์พหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนตรัยคุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร เมื่อปีระกา พ.ศ. 2464 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ปีมะแม พ.ศ. 2474 พระชันษา 70 ปี เป็นต้นสกุลวรวรรณ ในเจ้าจอมมารดาเขียน ที่ 57 พระองค์เจ้าชายดิศวรกุมาร ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 7 แรม 9 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2429 เป็นอธิบดีกรมการศึกษาธิการ ปีขาล พ.ศ. 2433 เป็นราชทูตพิเศษเสด็จไปยุโรปครั้งหนึ่ง เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2435 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีกุน พ.ศ. 2442 ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมพระดำรงราชานุภาพ อิศริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการ มโหฬารราชกฤตยานุศร อาทรประพาสการสวัสดิ์ วรรัตนปัญญาศึกษาวิเศษ นรินทราธิเบศร์บรมวงศ์อดิศัย ศรีรัตนตรัยคุณธาดา อุดมเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2454 เป็นสภานายกหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2458 เป็นกรรมการตรวจชำระกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และเป็นกรรมการสภาการคลัง เมื่อปีจอ พ.ศ. 2465 เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และเป็นนายพลเอกเมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 เป็นนายกราชบัณฑิตยสภา เมื่อปีขาล พ.ศ. 2469 แล้วเลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อิสสริยลาภบดินทร สยามวิชิตินทรวโรปการมโหฬารรัฐประศาสน์ ปิยมหาราชวรานุศิษฏ์ ไพศาลราชกฤตยการี โบราณคดีปวัติศาสตรโกศล คัมภีรนิพนธ์นิรุกติปฏิภาน ราชบัณฑิตวิธานนิติธรรมสมรรถ ศึกษาภิวัฒน์ปิยวาที ขันติสัตยตรีสุจริตธาดา วิมลรัตนปัญญาอาชวาศรัย พุทธาทิไตรสรณาทร พิเศษคุณาภรณ์ธรรมิกนาถบพิตร เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. 2486 พระชันษา 81 ปี เป็นต้นสกุลดิศกุล ในเจ้าจอม มารดาชุ่ม ที่ 58 พระองค์เจ้าหญิงนงคราญอุดมดี ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 8 แรมค่ำ 1 ปีจอ ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 ในเจ้าจอมมารดาเพ็ง สิ้นพระชนม์วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 ที่ 59 พระองค์เจ้าชายศรีเสาวภางค์ ประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 8 แรม 7 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 เป็นราชเลขานุการ อธิบดีกรมอักษรพิมพการ และอธิบดีกรมพยาบาล สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2432 พระชันษา 28 ปี เป็นต้นสกุลโสภางค์ ในเจ้าจอมมารดาเหม (เป็นท้าวสุภัติการภักดี แล้วเป็นท้าวอินทร สุริยา แล้วเลื่อนเป็นท้าวสมศักดิ ในรัชกาลที่ 5) ที่ 60 พระองค์เจ้าหญิงสว่างวัฒนา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 10 แรม 2 ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2405 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชเทวี คือสมเด็จพระมาตุจฉาในรัชกาลที่ 6 เสด็จดำรงตำแหน่งสภานายิกาแห่งสภากาชาดสยาม เมื่อปีวอก พ.ศ. 2463 ถึง รัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 รัชกาลที่ 8 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ปีจอ พ.ศ. 2477 เสด็จสวรรคต ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ปีมะแม พ.ศ. 2498 พระชนมายุ 93 พรรษา ที่ 4 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 61 พระองค์เจ้าชายโสณบัณฑิต ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2443 เป็นนายพันเอกราชองครักษ์ ได้เป็นที่ปรึกษาประจำสถานทูตในประเทศอังกฤษและอเมริกา ต่อมาเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลภาคพายัพ เป็นเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงวัง สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ปีฉลู พ.ศ. 2456 พระชันษา 50 ปี เป็นต้นสกุลโสณกุล ในเจ้าจอมมารดาวาด (เป็นท้าววรจันทร์ ในรัชกาลที่ 5) ที่ 62 พระองค์เจ้าชายจิตรเจริญ ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ ปีระกา พ.ศ. 2428 ทรงสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุน เมื่อปีกุน พ.ศ. 2430 เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2434 เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลัง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2436 เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2437 เป็นเสนาบดี กระทรวงวัง เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ทรงเพิ่มพระเกียรติยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และเลื่อนเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงฯ เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร ปรเมนทรราชบิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิต วิธีวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นนายพลเอก เมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 เป็นกรรมการสภาการคลัง ถึงรัชกาลที่ 7 เป็นอภิรัฐมนตรี เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2468 เป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสภา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ 11 มกราคม ปีระกา พ.ศ. 2476 ตลอดรัชกาลที่ 7 จนทรงสละราชสมบัติถึงรัชกาลที่ 8 เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิสยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุร จิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีวิจารณ์ มโหฬารสิตลัธยาสัย พุทธาทิไตร รัตนสรณานุวัตร์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ปีกุน พ.ศ. 2490 พระชันษา 84 ปี เป็นต้นสกุลจิตรพงศ์ ที่ 2 ในพระองค์เจ้าพรรณราย ที่ 63 พระองค์เจ้าชายวัฒนานุวงศ์ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมรุพงศ์สิริพัฒน์ เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 เป็นนายพลตรี ราชองครักษ์ เป็นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส แล้วเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มณฑลปราจีนบุรี ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมขุนฯ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 5 เมษายน ปีกุน พ.ศ. 2466 พระชันษา 61 ปี เป็นต้นสกุลวัฒนวงศ์ ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 64 พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 7 แรม 7 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 21 กันยายน ปีวอก พ.ศ. 2475 พระชันษา 70 ปี ที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ที่ 65 พระองค์เจ้าหญิงบุษบันบัวผัน ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปีเถาะ พ.ศ. 2482 พระชันษา 76 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาห่วง ที่ 66 พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาผ่องศรีประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย แรม 7 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระกรรณเวลาเสด็จประพาสยุโรป เมื่อปีระกา พ.ศ. 2440 ถึงรัชกาลที่ 6 เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ปีมะแม พ.ศ. 2462 พระชนมายุ 57 พรรษา ที่ 5 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 67 พระองค์เจ้าหญิงแขไขดวง ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2406 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 พระชันษา 66 ปี ที่ 8 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 68 พระองค์เจ้าหญิงนภาพรประภาประสูติเมื่อวันศุกร์เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 เป็นอธิบดีทรงบัญชาการรักษาภายในพระราชวัง ถึงรัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นกรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ปีเถาะ พ.ศ. 2470 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ปีจอ พ.ศ. 2501 พระชันษา 94 ปี ที่ 5 ในเจ้าคุณจอมมารดาสำลี ที่ 69 พระองค์เจ้าชายดำรงฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ แรม 3 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2407 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีขาล พ.ศ. 2409 พระชันษา 3 ปี ที่ 5 ในเจ้าจอมมารดาบัว ที่ 70 พระองค์เจ้าหญิงประสานศรีใสประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2407 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ปีมะแม พ.ศ. 2450 พระชันษา 44 ปี ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แสง ปาลกะวงศ์ ที่ 71 พระองค์เจ้าหญิงประพาฬรัศมี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 2 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ปีเถาะ พ.ศ. 2446 พระชันษา 37 ปี ในเจ้าจอมมารดาสุ่น (ซึ่งเป็นท้าววนิดา วิจารินี ในรัชกาลที่ 5) ที่ 72 พระองค์เจ้าชายจรูญฤทธิเดช ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 6 แรม 14 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ 9 วัน ที่ 9 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 73 พระองค์เจ้าหญิงเสาวภาคย์พรรณ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 ขึ้นค่ำ 1 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ปีมะเมีย พ.ศ. 2437 พระชันษา 31 ปี ในเจ้าจอมมารดาหว้า ที่ 74 พระองค์เจ้าหญิงประดิษฐาสารีประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 8 แรม 11 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2408 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ปีขาล พ.ศ. 2505 พระชันษา 97 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาดวงคำ ที่ 75 พระองค์เจ้าชายสวัสดิโสภณ ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2408 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เสด็จกลับมารับราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เมื่อปีจอ พ.ศ. 2441 เป็นนายพลตรี เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และได้เป็นราชทูตพิเศษเสด็จยุโรป ถึงรัชกาลที่ 6 เลื่อนเป็นกรมหลวงฯ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2456 เป็นอธิบดีศาลฎีกา เลื่อนเป็นกรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ สยามิศรราชมาตุลาธิบดี ศรีพัชรินทรโสทรานุราชย์ มานวธรรมศาสดรวิธาน นิรุกติปรติภานพิทยโกศล โศภนมิตรสุจริตอาร์ชวาศัย ศรีรัตนตรัยสรณาภิรัต ชเนตภูมิปะภัทปียมาน มนุญสุนทรธรรมบพิตร เมื่อปีกุน พ.ศ. 2466 ถึงรัชกาลที่ 7 ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระฯ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 8 ที่เมืองปีนัง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปีกุน พ.ศ. 2478 พระชันษา 70 ปี เป็นต้นสกุล สวัสดิวัฒน์ ที่ 6 ในสมเด็จพระปิยมาวดี ที่ 76 พระองค์เจ้าชายไชยันตมงคล ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 14 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2408 รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 เป็นนายพันเอก ราชองครักษ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 15 เมษายน ปีมะแม พ.ศ. 2450 พระชันษา 44 ปี เป็นต้นสกุลไชยันต์ ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาห่วง ที่ 77 พระองค์เจ้าหญิงพวงสร้อยสอางค์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 แรม 6 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2409 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ปีขาล พ.ศ. 2493 พระชันษา 84 ปี ที่ 10 ในเจ้าจอมมารดาเที่ยง ที่ 78 พระองค์เจ้าหญิงประไพศรีสอาด ประสูติเมื่อวันศุกร์ เดือน 6 แรม 6 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ใน รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ปีจอ พ.ศ. 2453 พระชันษา 44 ปี ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาแสง ที่ 79 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 12 แรม 13 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ ในเจ้าจอมมารดาเชย ที่ 80 พระองค์เจ้าหญิงพุทธประดิษฐา ประสูติเมื่อวันพุธ เดือนยี่ ขึ้น 7 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2410 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 4 แรม 2 ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. 2413 พระชันษา 4 ปี ในเจ้าจอมมารดาพุ่ม ที่ 81 พระองค์เจ้าหญิง ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน 10 ขึ้นค่ำ 1 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในวันประสูติเจ้าจอมมารดาอิ่ม (เป็นท้าวโสภานิเวศน์ แล้วเลื่อนเป็น ท้าวศรีสัจจาในรัชกาลที่ 5) ที่ 82 พระองค์เจ้าหญิงเจริญกมลสุขสวัสดิ์ ประสูติในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2411 สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธเดือน 10 แรม 12 ค่ำ ปีจอ พ.ศ. 2417 พระชันษา 7 ปี ที่ 3 ในเจ้าจอมมารดาห่วง รวมสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและพระเจ้าลูกเธอ ในรัชกาลที่ 4 ประสูติก่อนบรมราชาภิเษก มีพระโอรส 2 พระองค์ ประสูติเมื่อบรมราชาภิเษกแล้ว มีพระราชโอรสอีก 37 พระองค์ พระราชธิดาอีก 43 พระองค์ รวมทั้งสิ้นเป็น 82 พระองค์